อุบัติการณ์และลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยล้างไตทางหน้าท้อง ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ระยะสุดท้าย ในโรงพยาบาลศรีสะเกษ ระหว่าง ปี พ.ศ. 2561-2563

ผู้แต่ง

  • สิริรัตน์ อัศวเมธาพันธ์ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

ไตวายเรื้อรัง, การล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง, ภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติ การณ์และลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ล้างไตทางหน้าท้องและมีภาวะติดเชื้อที่เยื่อบุช่องท้อง ที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลศรีสะเกษ ตั้งแต่ ตุลาคม 2561-กันยายน 2563 ตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 379 ราย 505 visit เครื่องมือที่ใช้ คือ เวชระเบียนผู้ป่วยในที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคไตวายเรื้อรังใส่สายล้างไตทางช่องท้องแบบ ต่อเนื่อง(Continuous ambulatory peritoneal dialysis : CAPD) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย

ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุเฉลี่ย 59 ปี และอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป     ร้อยละ 52.9 อุบัติการณ์ภาวะติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้อง ระหว่างปี 2561-2563 อัตราร้อยละ 49.6 ส่งน้ำในช่องท้องเพาะเชื้อพบ เชื้อ Gram-Negative มากที่สุด ร้อยละ 83.1 เป็นเชื้อ  Escherichia coli, Klebsiella ร้อยละ 21.6  Gram-positive ร้อยละ 26.8  เป็นเชื้อ  Staphylococcus coagulase negative ร้อยละ 16.8 ผลการรักษา พบว่า รักษาอยู่ ร้อยละ 81 พบสูงสุดในช่วงระยะเวลารักษา 1-5 ปี ร้อยละ 58.0 อัตราเสียชีวิต ร้อยละ 19 พบสูงสุดในช่วง 1-5 ปี ร้อยละ 13.5 สรุปสถานะ ผู้ป่วย CAPD ยังคงล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง ร้อยละ 44.9 ยุติการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง ร้อยละ 49.3 เหตุผล จากเปลี่ยนไปฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม มากที่สุด ร้อยละ 62.0 เสียชีวิต ร้อยละ 38.0 และออกจากโครงการปฏิเสธการรักษา ร้อยละ 5.8 อัตราคงสภาพ : drop out  50:50 ผลการประเมินผู้ป่วยเองและผู้ดูแล กลุ่มติดเชื้อ พบไม่ผ่านการอบรม ร้อยละ 57.8 ปฏิบัติตามขั้นตอนที่อบรมเป็นบางครั้ง ร้อยละ 61.2 สิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม ร้อยละ 59.9 ส่วนกลุ่มไม่ติดเชื้อ พบผ่านการอบรม ร้อยละ 57.9 ปฏิบัติตามขั้นตอนที่อบรมทุกครั้ง ร้อยละ 61.0 สิ่งแวดล้อมเหมาะสม ร้อยละ 64.9 การลดอัตราการเกิด Peritonitis ในผู้ป่วย CAPD ควรต้องเฝ้าระวังและคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยง พื้นฐานทั้งช่วงอายุ เพศ   เศรษฐานะ โรคร่วม ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะติดเชื้อซ้ำโดยเฉพาะในช่วง1-5 ปีแรก การจัดกระบวนการเรียนการสอนให้ผู้ป่วยและญาติได้ตระหนักถึงความสะอาดในทุกขั้นตอน เทคนิคการดูแลผู้ป่วยที่บ้านตามมาตรฐานอย่างเคร่งครัด การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดูแลผู้ป่วยและสะอาดปลอดโปร่ง อากาศถ่ายเท จะช่วยลดภาวะ Peritonitis ที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย 

References

Praditpornsilpa K, Prasithisirikul W, Pongskul C, Gogaseni P, Lekhyananda S, Trakarnvanich T, et al. Thailand renal replacement therapy. The Nephrology Society of Thailand. 2011.

Pongskul C, Sirivongs D, Keobounma T, Chanlertrith D, Promajuk P, Limwatananon C, Survival and technical failure in a large cohort of Thai CAPD patients. J Med Assoc Thai. 2006;89 suppl 2: S98-S105.

ทวี ศิริวงศ์. การล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องในประเทศไทย. วารสารสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. 2549;3:298-311.

เถลิงศักดิ์ กาญจนบุศย์. Text of Practical Peritoneal Dialysis. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒน์อินเตอร์พริ้นท์; 2556.

สมชาย เอี่ยมอ่อง. Text of Practical Peritoneal Dialysis. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์เจอร์นอลพับลิเคชั่น; 2551.

McDonald SP, Collins JF, Rumpsfeld M, Johnson DW. Obesity is a risk factor for peritonitis in the Australian and New Zealand peritoneal dialysis patient populations. Perit Dial Int. 2004;24(4):340-6.

Sirivongs D, Pongskul C, Keobounma T, Chunlertrith D, Sritaso K, Johns J. Risk factors of first peritonitis episode in Thai CAPD patients. J Med Assoc Thai. 2006;89 Suppl2:S138-45.

Kanjanabuch T, Chancharoenthana W, Katavetin P, Sritippayawan S, Praditpornsilpa K, Ariyapitipan S, et al. J Med Assoc Thai. 2011;94 Suppl 4:S7-12.

Szefo G. Reaching Standards of Care in Peritoneal Dialysis. ISPD Asian Pacific Newsletters. International Society for Peritoneal Dialysis (ISPD). 2010; 8:2-3.

สมถวิล เกียรติวัชรชัย. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้องครั้งแรกในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2555;19(3):29-35

อรรถพร พัชรสุวกุล. การติดเชื้อที่เยื่อบุผนังช่องท้องในผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องในโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2557;33(1):9-14.

Han SH, Lee SC, Ahn SV, Lee JE, Kim DK, Lee TH, et al. Reduced residual renal function is a risk of peritonitis in continuous ambulatory peritoneal dialysis patients. Nephrol Dial Transplant. 2007;22(9):2653-8

พิมพ์พิชญาภา ชัยสุวรรณรัตน์. คุณภาพของการรักษาในคลินิกล้างไตช่องท้องแบบต่อเนื่องในโรงพยาบาลปทุมธานี ช่วงเวลา 6 ปีแรก. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2557;28(3):701-8.

Kang SH, Cho KH, Park JW, Yoon KW, Do JY. Risk factors for mortality in stable peritoneal dialysis patients. Ren Fail. 2012;34(2):149-54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28