ปัญหาสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • กรองกาญจน์ บริบูรณ์ กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

ปัญหาสุขภาพ, ปัญหาสุขภาพจากทำงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวาง ศึกษาปัญหาสุขภาพจากการทำงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลขอนแก่น ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการทำงาน และพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานกับปัญหาสุขภาพจากการทำงาน ประชากร ได้แก่ บุคลากรของโรงพยาบาลขอนแก่นจำนวน 3,512 คน กลุ่มตัวอย่างคำนวณจากสูตรประมาณค่าสัดส่วนประชากร จำนวน 137 คน สุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วน เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน multiple logistic regression

          ข้อมูลทั่วไปพบว่า เพศหญิงร้อยละ 81.8 เพศชาย ร้อยละ 18.2 อายุเฉลี่ย 40 ปี ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 11.3 ปี สมรส ร้อยละ 51.8 โสด ร้อยละ 37.2 หม้าย, หย่า, แยก ร้อยละ 11 ระดับการศึกษา ปริญญาตรี ร้อยละ 64.2 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 22,447.5 บาท ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 14,723.8 ประสบการณ์ทำงาน เฉลี่ย 15 ปี ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 11.3 ได้รับข่าวสารการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยจากการทำงาน ร้อยละ 87.6 สิ่งคุกคามด้านเคมี ร้อยละ 89.8 สิ่งคุกคามทางจิตวิทยาสังคม ร้อยละ 89.1 สิ่งคุกคามด้านชีวภาพร้อยละ 86.9 สิ่งคุกคามด้านการยศาสตร์ ร้อยละ 80.3 สิ่งคุกคามด้านกายภาพ ร้อยละ 8.0 ปฏิบัติตามกฎระเบียบและวิธีการทำงาน ร้อยละ 86.1 สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายตลอดเวลาเมื่อสัมผัสสิ่งคุกคาม ร้อยละ 68.6 ปัญหาสุขภาพของบุคลากร มีอาการปวดต้นคอ บ่า ไหล่ ร้อยละ 53.3 มีอาการปวดบั้นเอว ปวดหลัง ร้อยละ 46.7 มีอาการเครียด กังวลจากปริมาณงานที่มากเกินไป หรืองานที่เร่งรีบ ร้อยละ 42.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจากการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ อายุ ตำแหน่งงาน การสวมชุดป้องกันอันตรายเมื่อสัมผัสสิ่งคุกคาม การสัมผัสสิ่งคุกคามในการทำงาน

References

ศูนย์พัฒนาวิชาการอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จังหวัดสมุทรปราการ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินงานอาชีวอนามัย สำหรับบุคลากรสุขภาพ. ม.ป.ท.: 2563.

Roger, B. Health Hazards in nursing and health care: An overview. American Journal of infection Control; 1997.

กรมควบคุมโรค สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. คู่มือการตรวจประเมินการดำเนินงานการประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอมมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2560.

อภันตรี ประยูรวงศ์. ปัญหาสุขภาพจากการทำงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลอภัยภูเบศ จังหวัดปราจีนบุรี: วารสารพยาบาลสาธารณสุข; 2556.

วิลาสินี โอภาสถิรกุล, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, ธานี แก้วธรรมานุกูล. ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ งานการพยาบาลผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. Nursing Journal. 2558;42(2):49-60.

American Conference of Governmental Industrial Hygienists. 2019 TLVs and BEIs ACGIH. Occupational Safety & Health Administration; 2019 [ cited 2021 Jul 9]. Available from: https://www.osha.gov/SLTC/etools/hospital/index.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

สิริลักษณ์ บุญประกอบ. การพัฒนารูปแบบการประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลหนองคาย ปี 2560. Nakhonpanom Hospital Journal. 2560;4(1):47-59.

เรียงสอน สุวรรณ, ภารดี นานาศิลป์, ธานี แก้วธรรมานุกูล. ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของคนงานโรงงานเซรามิกขนาดใหญ่. พยาบาลสาร. 2559;43(4):1-20.

นริศรา เลิศพรสวรรค์, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, ธานี แก้วธรรมานุกูล. ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของพนักงานเก็บขยะ. พยาบาลสาร. 2560;44(2):1-12.

วชิระ สุริยะวงค์, พิมพ์พรรณ ศิลปสุวรรณ, มธุรส ทิพยมงคลกุล. ศึกษาวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรและพฤติกรรมการทำงาน ด้วยความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล ระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง[อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 13 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://home.kku.ac.th/chd/index.php?option=com_content&view=article&id=245.

กรมควบคุมโรค สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. คู่มือการประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล (ฉบับปรับปรุงแก้ไข พ.ศ. 2554). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2554.

มานพ กาเลียง. แนวทางการบริหารงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข กรณีศึกษาโรงพยาบาลสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์; 2558.

ศิริพร ด่านคชาธาร, มุจลินท์ อินทรเหมือน, นิธิมา หนูหลง, จันจิรา มหาบุญ, มัตติกา ยงประเดิม. การประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของแผนกซักฟอกในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง จังหวัดนครศรีธรรมราช [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 13 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tstj/article/view/232904.

สุนทร บุญบำเรอ. ศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 17 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm/article/view/28689/24695.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28