สภาวะทันตสุขภาพและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลพระบุ อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • Ravadee Srihanu aeravadee

คำสำคัญ:

สภาวะสุขภาพช่องปาก, ส่งเสริมสุขภาพช่องปาก, เด็กก่อนวัยเรียน, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

บทคัดย่อ

                การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทและสภาวะ   ทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน 2) พัฒนาระบบงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3) ติดตามและประเมินผลการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กก่อนวัยเรียนอายุ 2-5 ปี  ที่เข้าเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลพระบุ อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น จำนวน 76 คน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบตรวจสภาวะสุขภาพช่องปาก การตรวจแผ่นคราบจุลินทรีย์ และแบบประเมินมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน Paired sample t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05  ผลการศึกษาพบว่า 1) เด็กก่อนวัยเรียนมีฟันน้ำนมผุ 61 คน คิดเป็นร้อยละ 80.26 ปราศจากฟันผุ 15 คน คิดเป็นร้อยละ 19.74 มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุดในฟันน้ำนม (dmft) 3.72 ซี่/คน ซึ่งมีค่าสูงกว่าผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 8 พ.ศ.2560 2) วางแผนและพัฒนาระบบงานโดยกระบวนการ A-I-C มีกิจกรรมที่ดำเนินการได้แก่ การแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน จัดอาหารที่มีประโยชน์ การเรียนรู้ด้านทันตสุขภาพ การตรวจฟัน บริการรักษา และการสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย 3) ผลจากการพัฒนางานพบว่า ค่าเฉลี่ยปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์หลังดำเนินกิจกรรม 1 และ 3 เดือน มีค่าเฉลี่ย 1.04 และ 0.54 คะแนนตามลำดับ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยลดลงจากก่อนดำเนินกิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ย 1.75 คะแนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) 3) ศูนย์พัฒนา เด็กเล็กผ่านการประเมินมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคุณภาพ โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองและการสนับสนุนนโยบายจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

References

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2560.

Capuano F, Bigras M, Japel C. Encyclopedia on early children development [internet]. Montreal: university de Montreal; 2014 [cited 2021 Oct 10]. Available from:https:// www.child-encyclopedia.com/school-success/according-experts/ kindergarten-four-year-olds-measure- promote-school-and-social.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. คู่มือแนวทางการดำเนินงานทันตสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. กรุงเทพมหานคร: สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย; 2563.

Alazmah A. Early childhood caries : A review. J Contemp Dent Pract 2017; 18: 732-7.

สุทธิรัศมี พรรณพราว, สุภาภรณ์ ฉัตรชัย วิวัฒนา, อารียา รัตนทองคำ, มุขดา ศิริเทพทวี. โรคฟันผุในเด็กปฐมวัย : สาเหตุและการป้องกัน. วารสารสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2560; 12: 27-40.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหาคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย; 2560.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. คู่มือมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ. กรุงเทพมหาคร: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย; 2557.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร: สามเจริญพาณิชย์; 2561.

Jürgensen N, Petersen PE. Promoting oral health of children through schools-results from a WHO global survey 2012. Community Dent Health. 2013; 30(4): 204-18.

กชปิญา ผดุงพันธ์, ชัยวุฒิ บัวเนี่ยว, สุพัตรา วัฒนเสน. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลโพนแพง อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย. วารสารทันตาภิบาล 2562; 30(1): 39-54.

พิกุลพร ภูอาบอ่อน, วงศา เล้าหศิริวงศ์. การพัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพ ช่องปากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน อบต.หนองผือ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2555; 19(1): 11-26.

ชูเลิศ สีแสด, นิรุวรรณ เทรินโบล์, สุพัตรา วัฒนเสน. รูปแบบการส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลจาน อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารทันตาภิบาล 2560; 28(2): 58-71.

วรพรรณ ถมยา, ยอดชาย สุวรรณวงษ์. ผลของรูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยการปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมต่อสุขภาวะช่องปากของเด็กปฐมวัยในศูนย์เด็กเล็ก อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2561; 33: 89-104.

วรรณิตา สอนกองแดง, อนงค์ สุนทรานนท์, กาญจนา พรหมเรืองฤทธิ์, ศรันย์ ปองนิมิตพร,ลาวัลย์ สมบูรณ์. การพัฒนาศูนย์เด็กเล็กคุณภาพโดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. พยาบาลสาร 2560; 44: 81-93.

ชัญญนิษฐ์ ห้อธิวงศ์. ปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์กับสภาวะโรคฟันผุของเด็กอายุ 3-5 ปีในศูนย์เด็กอ่อนหวาน อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง [วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย เชียงใหม่; 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-27