การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ และแรงสนับสนุนทางสังคม กับการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลสำโรง อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • suttee phonruksa -

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ (Analytical study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ แรงสนับสนุนทางสังคม และการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างความรู้และแรงสนับสนุนทางสังคมกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ในตำบลสำโรง อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างจำนวน 85 คน        เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงวิเคราะห์และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ แรงสนับสนุนทางสังคม และมีการดูแลตนเองโดยรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 62.35, 81.18 และ 60 ตามลำดับ และปัจจัยด้านความรู้ในการดูแลตนเอง และปัจจัยด้านแรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลาง กับการดูแลตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผน ปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการแก่ผู้ป่วยเบาหวาน และส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานมีการดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมต่อไป

References

กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ.รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดัน สูงและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ.2562. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทาง เวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. ปทุมธานี: บริษัทร่มเย็นมีเดียจำกัด; 2560.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้. [อินเตอร์เน็ต] 2564. [เข้าถึงเมื่อ 22 เมษายน 2564] เข้าถึงได้จากhttps://kkn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=cf7d9da207c0f9a7ee6c4fe3f09f67dd.

Orem D.E. Nursing concepts of Practice. Third Edition. New York: Mc Grawhill Book Company; 1991.

จรรยา ธัญน้อม. ปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2549.

จิราพร กลิ่นประชุม.ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความเข้าใจเรื่องเบาหวานการสนับสนุนทางสังคมกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพ มหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2552.

ทรรศนีย์ ศิริวัฒนพรกุล, นงนุช โอบะ และสุชาดา อินทรกำแหง ณ ราชสีมา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม; 2550.

จิตรานันท์ กุลทนันท์. การรับรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมการป้องกันภาวะ แทรกซ้อนของผู้ที่เป็นเบาหวานที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิต วิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.

วรพจน์ พรหมสัตยพรต. การเก็บรวบรวมข้อมูลและเครื่องมือในการวิจัย. เอกสารประกอบการสอนหลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2546.

Wiersma W., G. Jurs,S. Research Method in Education an Introduction. (9th ed). Massachusetts: Pearson; 2009.

เพ็ญศรี ทองเพชร, ชุลีพร หีตอักษร, โศรตรีย์ แพน้อย, ปิยะดา ยุ่ยฉิม, พูนศรี จีนด้วง. การดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนบนวิถีวัฒนธรรมภูมิปัญญา. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 2562; 35(3): 112-119.

กุสุมา กังหลี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของ ผู้เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557; 15(3): 256-268.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสําหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ครั้ง 3 ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา; 2551.

Cobb, S. Social support as a moderate of Life strees. Phychosomatic Medicine. 1976; 38: 300-301.

อ้อมใจ แต้เจริญวิริยะกุล และกิตติยา ศิลาวงศ์ สุวรรณกูฏ. การรับรู้และพฤติกรรม การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ.2559; 9(2): 331-338.

ศิริวรรณ อินทรวิเชียรคชา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี; 2555.

อรทัย วุฒิเสลา. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้าตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน จังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี; 2553.

Cohen S., & Wills T.A. Stress,social support,and the buffer hypothesis. Phychological Bulletin.1985; 98, 310-357.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-27