ผลการผ่าตัดรักษาทางเดินท่อน้ำตาอุดตันและลักษณะปัจจัย ที่ทำให้เกิดการอุดตันซ้ำภายหลังการผ่าตัดท่อน้ำตาอุดตัน ด้วยวิธีการผ่าตัดภายนอก ในโรงพยาบาลศรีสะเกษ ระหว่างปี พ.ศ.2561-2563
คำสำคัญ:
ท่อน้ำตาอุดตัน, ท่อน้ำตาอุดตันซ้ำ, การผ่าตัดท่อน้ำตาอุดตัน, ผลการผ่าตัดท่อน้ำตาอุดตันด้วยวิธีภายนอกบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ศึกษาผลการผ่าตัดรักษาทางเดินท่อน้ำตาอุดตันด้วย วิธีภายนอก (External Dacryocystorhinostomy) และการเกิดการอุดตันซ้ำภายหลังการผ่าตัด ในโรงพยาบาลศรีสะเกษระหว่างปี 2561 - 2563 ในผู้ป่วย Primary และ Revision DCR จำนวน 98 ราย ประเมินผลจากอาการน้ำตาไหลและสามารถล้างท่อน้ำตาผ่านได้ดี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลที่ได้จากเวชระเบียนผู้ป่วยใน และ ผู้ป่วยนอก วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการศึกษา พบว่าจำนวนผู้ป่วย 98 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 82.65) อายุระหว่าง 61-70 ปี อาชีพทำนา โรคร่วมที่พบคือความดันโลหิตสูง และ เบาหวาน อาการที่นำมาพบแพทย์ ได้แก่ น้ำตาไหล (ร้อยละ 76.5) หัวตาบวมแดง ปวด (ร้อยละ13.3) บางรายมีหนอง (ร้อยละ 8.2) ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการจนมาพบแพทย์ ในPrimary DCR และ Revision DCR เฉลี่ย 1-2 ปี เท่าๆ กัน ความผิดปกติที่พบ ได้แก่ Enlarge lacrimal sac with pus, NLDO with Mucoid reflux, Soft stop เมื่อส่งชิ้นเนื้อตรวจทางเซลล์วิทยาพบผิดปกติเป็น Granulation tissue และ Basal cell carcinoma ส่วนผลการผ่าตัด เป็นผู้ป่วย primary DCR 91 ราย Revision DCR 7 ราย Success rate ร้อยละ 100 เมื่อติดตามหลังผ่าตัดแผลติดดีไม่มีอักเสบ หลังนำ silicone tube ออก 6 เดือน น้ำตาไหลลงคอปกติ ผลสำเร็จยังขึ้นกับระยะเวลาที่มาพบแพทย์ และภาวะผิดปกติทางกายภาพ(ร้อยละ5.1) ข้อดีการผ่าตัดวิธี External DCR คือเครื่องมือราคาไม่แพง สามารถฉีดยาชาเฉพาะที่ได้ ลดการอุดตันซ้ำได้มาก แต่จะพบว่ามีแผลที่ผิวหนังอาจไม่เหมาะในผู้มีอายุน้อย
References
Dolman PJ. External dacryocystorhinostomy versus nonlaser endonasal dacryocystorhinostomy. Ophthalmology. 2003; 110; 78-84.
Toti A. Nuovo metodo conservatore di cura radicale delle suporazioni chroniche del sacco lacrimale Clin Mod Firenze. 1904;10: 385-9
Tarbet KJ, Custer PL. External Dacryocystorhinostomy: Surgical Success, Patient Satisfaction, and Economic Cost. Ophthalmology. 1995; 102; 1065-70.
Warren JF, Seiff SR, Kavanagh MC. Long-term results of external dacryocystorhinostomy. Ophthalmic Surg Lasers Imaging. 2005; 36(6): 446-50.
Hartikainen J, Grenman R, Puukka P, Seppa H. Prospective randomized comparison of External dacryocystorhinostomy and endonasal laser dacryocystorhinostomy. Ophthalmology. 1998;105;1106-13.
Hannal T, Powrie S, Rose GE. Open lacrimal surgery: a comparison of admission outcome and complications after planned day case or inpatient management. Br J Ophthalmol. 1998; 82; 392-6.
Caldwell GW. Two new operation for obstruction of the nasal duct, with preservation of the canaliculi and an incidental description of a new lachrymal probe. NY Med J.1893;57;581-2.
Sadig SA, Ohelich S, Jones NS, Coenes RN. Endonasal laser dacryocystorhinostomy medium term results. Br J Ophthalmol. 1997;81;1089-92.
Fayet B, Racy E, Assouline M. Complications of standardized endonasal dacryocystorhinostomy with unciformectomy. Ophthalmology. 2004; 111; 837-845.
กนกรัตน์ ชุ่มภิรมย์. Factors affecting Recurrence of Nasolacrimal Duct Obstruction after Endonasal Dacryocystorhinostomy. Thai J Ophthalmology. 2562; 33(1): 19-26.
รสนา ทิพยพงษ์พัชร์, อุรชา อำไพพิศ. Surgical outcomes of Non-endoscopic Transnasal Dacryocystorhinostomy in Buriram Hospital. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์; ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2550: 161-168.
Iliff CE. A simplified dacryocystor hinostomy. Arch Ophthalmol. 1971; 85: 586-91.
Becker BB. Dacryocystorhinostomy without flaps. Ophthalmic Surg. 1988; 19: 419-27.
Kunavisarut S, Phonglertnapagorn S. Dacryocystorhinostomy at Ramathibodi hospital. J Med Assoc Thai. 1990 Jan; 73: 47-52.
Bugra Karasu, Gulunary Kiray. Comparison of success between external and endonasal dacryocystorhinostomy in primary acquired nasolacrimal duct obstruction in Turkish cohort. North Clin Istanb 2020 Jul 23; 7(6): 579-584.
Daniel R Lefebvre, Sonya Dhar. External dacryocystorhinostomy outcomes in patients with a history of dacryocystitis. Digit J Ophthalmol. 2015 Sep 20; 21(3): 1-22.
Emine Akcay, Nilay Yukse. Revision External Dacryocystorhinostomy Results After a Failed Dacryocystorhinostomy Surgery. Ophthalmol Ther. 2016 Jun; 5(1): 75-80.
Ibrahim Bulent Buttanri, Didem Serin. Silicone Intubation Indications in External Dacryocystorhinostomy. Med Hypothesis Discov Innov Ophthalmol.2014 Winter; 3(4): 101-102.
Anila Monka, Sulejman Zhungli. Silicone Intubation in External Dacryocystorhinostomy. International Journal of Science and Research (IJSR) ISSN (Online): 2319-7064
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว