การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • สุวรรณี แสนสุข
  • บรรจบ แสนสุข
  • รัฐพล อินทรวิชัย
  • ประเสริฐ ประสมรักษ์ -

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, คณะกรรมการ พชอ., สมรรถนะ, รูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคโควิด 19

บทคัดย่อ

              การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จังหวัดยโสธร ศึกษาในคณะกรรมการ พชอ.เมืองยโสธร และประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.79 และ 0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิตเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานด้วย Chi Squared Test และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า

                รูปแบบการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ได้แก่ 1) สรรหา พัฒนาคณะทำงาน เน้นคณะทำงาน ที่มีอยู่เดิม 2) กำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ ตามประกาศของ ศบค. 3) จัดบริการที่จำเป็นและมอบหมายหน้าที่ ระดมความร่วมมือในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม รักษาและฟื้นฟูโดยมอบหมายภารกิจแก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 4) จัดระบบข้อมูลสารสนเทศ ใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศของ ศบค.ร่วมกับการรายงานโดยผู้นำชุมชน 5) จัดการด้านทรัพยากร เป็นการบูรณาการงบประมาณจาก ทุกภาคส่วนที่ร่วมปฏิบัติการ และ 6) เรียนรู้และพัฒนางาน มีการสื่อสารและเรียนรู้ร่วมกันทั้งระดับอำเภอ และตำบลอย่างต่อเนื่อง ภายหลังการทดลอง ทำให้สมรรถนะของคณะกรรมการ พชอ. และการรับรู้ของประชาชนในการดำเนินงานฯ ของคณะกรรมการ พชอ. เพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.006 และ p-value<0.001 ตามลำดับ) ผลการประเมินตามองค์ประกอบ UCCARE เท่ากับ 4.5 บรรลุตัวชี้วัด อัตราความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนเข็ม 2   การควบคุมการระบาดแบบคลัสเตอร์ให้สงบภายใน 28 วัน และลดอัตราป่วยตาย บรรลุตามเป้าหมาย ดังนั้น จึงควรนำรูปแบบการขับเคลื่อนการดำเนินงานฯ ไปปรับใช้ในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินอื่นๆ

References

ปัญณ์ จันทร์พาณิชย์. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) กับทิศทางการทำงานแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค, 2561.

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. มท.ประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พชอ. และ พชข. ร่วมกับ สธ. กำหนดเป้าหมายดำเนินงาน ปี 2564-2565 พร้อมยก ระดับการขับเคลื่อน พชอ. โดย พชจ. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565] เข้าถึงได้จาก https:// www.thaigov.go.th/news/contents/ details/ 39441

มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนาและสำนักพัฒนายุทธศาสตร์ดีวิถีไทย. บทเรียน พชอ. การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ. นนทบุรี: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2563.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข. รายงานสถานการณ์การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเทอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565] เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go. th/viralpneumo nia/index.php.

หทัยรัตน์ สุนทรสุข, นงนวล พลูเกษร. ระบบการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคโควิด-19 และผลกระทบของการระบาดต่อประชาชน จังหวัดกำแพงเพ็ชร. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2564; 11(1): 13-27.

Pongsupab Y. District Health System Management Learning: DHML. National Health Security Office, APPA Printing Group CO.,LTD.; 2014.

Best, JW. Research in Education. 3rd. ed., Englewood Cliffs, New Jersey, Prentive-Hall, Inc.; 1997.

ฮาซันอักริม ดงนะเด็ง, นัฐฐิภา นิ่มเกตุ, ณัฐวดี เที่ยงธรรม, วรรณวิภา รองเดช, วรรณธิดา รองเดช. กลไกการจัดการสถานการณ์โควิด-19 ขององค์การบริหารส่วนตำบลควนปริง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง. Local Administration Journal 2021; 14(3): 291-308.

กัณฑ์ณวริษฐ์ สืบศักดิ์. การศึกษาระบบการบริหารการจัดการภาวะวิกฤตและรูปแบบการจัดการโรคอุบัติใหม่ (Covid-19) ในเขตจังหวัดปทุมธานี. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา 2564; 11(3): 487-95.

กายสิทธิ์ แก้วยาศรี, บุญมา สุนทราวิรัตน์. แนวทางการดาเนินงานและผลกระทบจากโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (โควิด-19) จังหวัดเลย. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2564; 7(1): 16-34.

ธีระพงษ์ ทศวัฒน์, ปิยะกมล มหิวรรณ. การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางสังคมของประชาชนและการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารมหาจุฬานาคร ทรรศน์ 2563; 7(9): 40-55.

เกศแก้ว สอนดี, พเยาว์ พงษ์ศักดิ์ชาติ, ผุสดี ก่อเจดีย์, จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ, ภูวสิทธิ์ สิงห์ประไพ. การประเมินผลสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอของศูนย์ประสานงานและจัดการเรียนรู้ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2561; 28(1): 116-26.

ศิวาภรณ์ เงินราง. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2562; 2(2): 108-16.

นงเยาว์ ชิลวรรณ์, ซอฟียะห์ นิมะ. รูปแบบการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพจากสุรา ยาสูบและสารเสพติด ภายใต้กลไกความร่วมมือของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ในเขตสุขภาพที่ 11. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2564; 32(2): 54-70.

ภัทรพงศ์ ชูเศษ, นฎาประไพ สาระ, อรอุมา ทางดี. การศึกษาการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.). วารสาร วิชาการสาธารณสุขชุมชน 2563; 6(4): 39-50.

จำรัส ประสิว, วิสุทธิ์ สุกรินทร์. การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ในจังหวัดสระบุรี. วารสารการแพทย์และสาธารณสุขเขต 4 2562; 9(1): 11-22.

วลีรัตน์ อภัยบัณฑิตกุล. การพัฒนาระบบ และกลไกการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ในเครือข่ายสุขภาพจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 2565; 3(2): 55-71.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-09