ภาวะสุขภาพจิตจากการปฏิบัติงานด้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรโนา 2019 ของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วีระวรรณ เหล่าวิทวัส -

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิตจาก       การปฏิบัติงานด้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของบุคลากรทางการแพทย์       และสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในสถานบริการสาธารณสุขสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น คำนวณกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา 403 คน และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ แล้วสุ่มตัวอย่าง     อย่างง่ายตามขนาดสัดส่วนของขนาดประชากรแต่ละพื้นที่ ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปและภาวะสุขภาพจิต คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน         ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และสถิติอนุมาน วิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิต ได้แก่ สหสัมพันธ์   ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น ส่วนใหญ่ไม่คิดลาออก (ร้อยละ 56.60) มีภาวะสุขภาพจิตจากการปฏิบัติงาน จำแนกรายองค์ประกอบ ดังนี้     1) ระดับพลังใจ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 56.58) 2) ระดับภาวะเหนื่อยล้าหมดไฟ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 60.05) 3) ระดับความเครียด ส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อย (ร้อยละ 73.45) 4) ระดับภาวะซึมเศร้า ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติ (ร้อยละ 84.86) 5) ความเสี่ยงต่อการ       ฆ่าตัวตาย ส่วนใหญ่ไม่มีแนวโน้มฆ่าตัวตายในปัจจุบัน (ร้อยละ 98.01) โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางเดียวกับภาวะสุขภาพจิตมีจำนวน 14 ตัวแปร สูงสุด 3 อันดับแรก คือ การขาดแรงจูงใจ รองลงมา คือ การไม่มีเวลาพักผ่อน และปริมาณงานตามลำดับ ทั้งในมิติสภาพแวดล้อมการทำงาน แรงจูงใจ และโครงสร้างความสัมพันธ์ ดังนั้นควรมีการพัฒนาแนวทางการป้องกันและดูแลช่วยเหลือภาวะสุขภาพจิตในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข

References

ศูนย์สุขภาพจิตที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. รายงานผลการคัดกรองความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตในสถานการณ์ COVID-19 เขตสุขภาพที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก : https://checkin.dmh.go.th/administrator/login.php

Blumenthal D, Fowler EJ, Abrams M, Collins SR. Covid-19 implications for the health care system. New England Journal of Medicine. 2020; 383(15): 1483–8.

กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). [อินเทอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก : https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/report/risk-week26n1.pdf

วิศิษฎ์ เนติโรจนกุล. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของปัญหาทางสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาล นครปฐมในยุคการระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19). วารสาร แพทย์เขต 4-5. 2563; 39(4): 616-627

Galanis, P., Vraka, I., Fragkou, D., Bilali, A., & Kaitelidou, D. Nurses' burnout and associated risk factors during the COVID‐19 pandemic: A systematic review and meta‐analysis. Journal of Advanced Nursing. (2021); 77(8): 3286- 3302.

Nguyen LH, Drew DA, Graham MS, Joshi AD, Guo C-G, Ma W, et al. Risk of COVID-19 among front-line health- care workers and the general community: a prospective cohort study. The Lancet Public Health. 2020; 5(9): 475-83.

กรมสุขภาพจิต. เครียด ซึมเศร้า หมดไฟ ปัญหาทางใจยุคโควิดระบาด. [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก : https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2409

กรมสุขภาพจิต. แนะเทคนิคสร้าง ความผ่อนคลาย ป้องกันภาวะหมดไฟทำงาน. [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก : https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30949

ศูนย์สุขภาพจิตที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. รายงานผลการคัดกรองความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตในสถานการณ์ COVID-19 เขตสุขภาพที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://checkin.dmh.go.th/dashboards

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข). กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติในการวิจัย เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2557.

กรมสุขภาพจิต. แนวทางการฟื้นฟูจิตใจในสถานการณ์การระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (Combat 4th Wave of COVID-19: C4). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอวัน ปริ้นติ้ง; 2563.

มนัสพงษ์ มาลา, ราตรี ตั้งรัตนกมลกุล. การจัดการภาวะเมื่อยล้าหมดไฟจากปฏิบัติงานด้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จังหวัดชัยภูมิ. [รายงานการวิจัย]. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา: นครราชสีมา; 2565.

ดาวรุ่ง คำวงศ์ จีระเกียรติ ประสานธนกุล, มุทิตา พนาสถิต, ธนิยะ วงศ์วาร. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานกับภาวะสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2565; 16(1): 68-54

ณัฎฐวรรณ คำแสน, สุพรรณี เปี้ยวนาลาว, ศิริธิดา ศรีพิทักษ์ และสุพัตรา หน่ายสังขาร. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตของประชาชนอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 2564; 37(3): 50-36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-09