รูปแบบความสัมพันธ์ของการจัดเก็บรายได้โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • ชุมพล นุชผ่อง -

บทคัดย่อ

การพัฒนาศูนย์จัดเก็บรายได้คุณภาพสำหรับโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นตัวชี้วัดเพื่อการป้องกันวิกฤตทางการเงินของโรงพยาบาล การวิจัยนี้เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์ของการจัดเก็บรายได้โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่าง คือ หัวหน้าศูนย์จัดเก็บรายได้ของโรงพยาบาลจำนวน 330 แห่งจากทั้งหมด 899 แห่ง ประกอบด้วยโรงพยาบาลขนาดชุมชน จำนวน 280  แห่ง และ โรงพยาบาลทั่วไปจำนวน 50  แห่ง โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าความเชื่อมั่น 0.945 ใช้การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) โดยโปรแกรมสำเร็จรูป AMOS ผลการวิจัยพบว่า มีความสัมพันธ์กันระหว่างองค์ประกอบของระบบปฏิบัติการของการจัดเก็บรายได้ (4C) และระยะเวลาการจัดเก็บรายได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม มีความสัมพันธ์สูง (β = 0.737), ระบบดำเนินการจัดเก็บรายได้ (4C) และองค์ประกอบโครงสร้างของการจัดเก็บรายได้ (4S) มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง (β = 0.676), มีความสัมพันธ์กันระดับสูงระหว่างองค์ประกอบโครงสร้างของการเก็บรายได้ (4S) และองค์ประกอบการจัดการของการจัดเก็บรายได้ (β = 1.326), และมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลางระหว่างองค์ประกอบการจัดการกับองค์ประกอบระยะเวลาการจัดเก็บ (β = 0.486) ข้อแนะนำในการนำผลการวิจัยไปใช้ ผู้บริหารโรงพยาบาลควรมีกลยุทธ์ในการจัดเก็บรายได้ (Strategy) เพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานแบบทีมสหสาขาวิชาชีพ ที่เชื่อมโยงข้อมูลสำคัญทั่วทั้งคณะกรรมการการเงินของโรงพยาบาลและคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล การสรรหาและจัดสรรบุคลากรเก็บรายได้ (Staff) ให้มีจำนวนเพียงพอและการกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจนเพื่อสื่อถึงคุณค่าที่สำคัญของการจัดเก็บรายได้ราย (Shared Value) เพื่อจะสามารถดำเนินการได้ตามศูนย์จัดเก็บรายได้ที่มีคุณภาพ

References

กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ. สรุปผลการตรวจราชการ ประเด็นที่ 6 ระบบธรรมาภิบาล หัวข้อ การบริหารจัดการด้านการเงินการคลังสุขภาพ: ศูนย์จัดเก็บรายได้คุณภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 25 กรกฎาคม 2565]; เข้าถึงได้จาก https://dhes.moph.go.th

สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง. แนวทางการตรวจสอบการเบิกจ่ายตรงเงินสวัสดิการเกี่ยวการรักษาพยาบาลข้าราชการของส่วนราชการ. กรุงเทพ: กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง, 2555.

สุธาดา ศิริกิจจารักษ์. การบริหารการเงินและ ประสิทธิภาพของโรงพยาบาล ในจังหวัด สุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2557; 22(2): 378 – 387.

เดือนเด่น นิคมบริรักษ์, กิตติพงษ์ เรือนทิพย์. โครงการศึกษาแนวทางการปฏิรูปองค์กรเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ. กรุงเทพ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย; 2554.

เดือนเด่น นิคมบริรักษ์, วีรวัลย์ ไพบูลย์จิตต์อารี, ธารทิพย์ ศรีสุวรรณเกศ, พรชัย ฬิลหาเวส. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการการพัฒนาแนวทาง อภิบาลระบบหลักประกันสุขภาพ. กรุงเทพ มหานคร: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย; 2556.

ปาหนัน กนกวงศ์นุวัฒน์. รูปแบบการบริหารโรงพยาบาลที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงินโรงพยาบาลพระปกเกล้าจังหวัดจันทบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาล พระปกเกล้า 2556; 30 (2) : 106 - 22.

นวพร เรืองสกุล. สาเหตุที่โรงพยาบาลของรัฐ (เฉพาะใน สังกัดสำนักงานปลัด) ขาดทุน. [อินเทอร์เน็ต].2560 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://thaidialogue.wordpress.com/2017/07/03/final-crisis-at-public-hospitals/

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์ The Methodology in Nursing Research. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553

นันทวารีย์ บูรณะสมพจน์. ประสิทธิผลการจัดเก็บรายได้สิทธิเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล ในงานการเงินและบัญชี โรงพยาบาลเพชรบูรณ์. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม ปีที่ 14 ฉบับที่ 2: พฤษภาคม-สิงหาคม 2566

[อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 25 กรกฎาคม 2565]เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/ article/view/197416

โสภณ เมฆธน. การจัดบริการตาม Service Plan ประสิทธิภาพ การบริหารจัดการ. [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 25 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก http://pbio.moph.go.th/oldweb/GCC/section9/plan20year8sep2016.pdf

คณัชฌา สิทธิบุศย์. การพัฒนางานจัดเก็บรายได้โรงพยาบาล ในสถาบันบำราศนราดูรด้วยการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติจากทุกหน่วยบริการ ปีงบ ประมาณ 2558. วารสารควบคุมโรค ปีที่ 43 ฉบับที่ 1 ม.ค. - มี.ค. 2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://doi.nrct.go.th//ListDoi/listDetailResolve_DOI=10.14456/dcj.2017.37

พิรุฬห์พร แสนแพง. การปฏิบัติงานเวชระเบียน ผู้ป่วยใน กับการเบิกชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลกลาง. [วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพ มหานคร: สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2555.

สถาบันบำราศนราดูร, กลุ่มสนับสนุนระบบบริการ สุขภาพ. รายงานผลการดำเนินงานศูนย์ตรวจสอบ ข้อมูลเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล ปีงบ ประมาณ 2557. นนทบุรี: กลุ่มสนับสนุนระบบบริการสุขภาพ; 2558.

ชุมพล นุชผ่อง, สมอาจ วงษ์ขมทอง, จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง, เนตรชนก ศรีทุมมา. กลยุทธ์การเงินของผู้บริหารการเงินการคลัง ของโรงพยาบาลชุมชนสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 2560; 9(1): 23-33.

ชฎาภรณ์ ชื่นตา, สำลี เวชกามา, เพ็ญแข สอาดยิ่ง. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการเงินการคลังของโรงพยาบาล จังหวัดยโสธร. [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 25 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก http://www.pkyasothon.org/research/data/money_research.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-09