ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของสารสกัดตำรับประสะขมิ้นอ้อยและสมุนไพรในตำรับ

ผู้แต่ง

  • กุลิสรา อุ่นเจริญ สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วัลลภา ลีลานันทกุล Department of Applied Thai Traditional Medicine, Faculty of Medicine, Mahasarakham University, Mahasarakham, Thailand

คำสำคัญ:

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, ฤทธิ์ต้านการอักเสบ, ตำรับประสะขมิ้นอ้อย

บทคัดย่อ

ตำรับประสะขมิ้นอ้อยจากคัมภีร์พระสรรพคุณยา เป็นตํารับยาแผนไทยของชาติ สรรพคุณแก้ลมปัสสคาด แก้เจ็บทุกข้อทุกกระดูก พบรายงานฤทธิ์ทางชีวภาพของสมุนไพรแต่ละชนิดในตำรับ แต่ยังไม่พบข้อมูลที่ศึกษาฤทธิ์ของตำรับยา ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และ ABTS radical scavenging assay และฤทธิ์ต้านการอักเสบด้วยวิธีการยับยั้งการหลั่งไนตริกออกไซด์ จากสารสกัดชั้นเอทานอลและชั้นน้ำ จากการศึกษาพบว่าการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH สารสกัดชั้นเอทานอลของตำรับประสะขมิ้นอ้อย สมุนไพรทุกชนิดในตำรับ และสารสกัดชั้นน้ำของขิง ดีปลี หอมแดง อบเชยเทศ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และวิธี ABTS สารสกัดชั้นเอทานอลของตำรับประสะขมิ้นอ้อย สมุนไพรทุกชนิดในตำรับ ไม่รวมอบเชยเทศ และ  สารสกัดชั้นน้ำของขิง ดีปลี อบเชยเทศ หอมแดง มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ทั้งนี้ พบสารสกัดชั้นเอทานอลของอบเชยเทศ (DPPH assay) สารสกัดชั้นเอทานอลของขิงและสารสกัดชั้นน้ำของอบเชยเทศ (ABTS assay) พบค่า EC50 ไม่แตกต่างจากสารมาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) สารสกัดชั้นเอทานอลของสมุนไพรตำรับประสะขมิ้นอ้อย สมุนไพรทุกชนิดในตำรับ ไม่รวมข่า และสารสกัดชั้นน้ำของขิง ดีปลี มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยสารสกัดชั้นเอทานอลของตำรับประสะขมิ้นอ้อย มีค่า IC50 เท่ากับ 35.20 ± 1.35 µg/ml สรุปได้ว่าสารสกัดชั้นเอทานอลของตำรับประสะขมิ้นอ้อยและสมุนไพรในตำรับ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ และควรมีการศึกษาฤทธิ์แก้ปวด ต้านการอักเสบในสัตว์ทดลอง เพื่อเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ในการสนับสนุนการใช้ยาตำรับนี้ต่อไป

References

กองสถิติสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2564. [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565]; เข้าถึงได้จาก: http://164.115.27.97/digital/items/show/20246

The Royal College of Emergency Medicine. Management of Pain in Adults. [Internet]. 2021. [cited 30 September 2022]; Available from: https://rcem.ac.uk/wp-content/uploads/2021/10/RCEM_BPC_Management_of_Pain_in_Adults_300621.pdf

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี 2557. [อินเทอร์เน็ต]. 2557. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565]; เข้าถึงได้จาก: http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation/01_envocc_situation_57.pdf

Watkins LR, Maier SF, Goehler LE. Immune activation: the role of pro-inflammatory cytokines in inflammation, illness responses and pathological pain states. Pain. 1995; 63(3):289-302.

Guzik TJ, Korbut R, Adamek-Guzik T. Nitric oxide and superoxide in inflammation and immune regulation. J Physiol Pharmacol. 2003;54(4): 469-87.

รัชนี จันทร์เกษ, มนนิภา สังข์ศักดา, ปรียา มิตรานนท์. สถานการณ์การใช้บริการการแพทย์แผนไทย ปี 2552, 2554, 2556. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2559;10(2):103-116.

กระทรวงสาธารณสุข. การประกาศกำหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทยของชาติ (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2560. [อินเทอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://www.dtam.moph.go.th/images/document/law/National_Texts_2560-13.PDF?fbclid=IwAR0d2kx31jbthle8vE7ssP8PAR0RG1tKIDiOOjsnbGshbDNI-v0a-WHFTHg

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ. กรุงเทพฯ : สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวง ศึกษาธิการ; 2542; 385.

ชุติมา แก้วพิบูลย์, ณวงศ์ บุนนาค. ฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดขมิ้นอ้อย. วารสารวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี. 2565; 30(2): 1-13.

Li Y, Hong Y, Han Y, Wang Y, Xia L. Chemical characterization and antioxidant activities comparison in fresh, dried, stir-frying and carbonized ginger. J Chromatogr B Analyt Technol Biomed Life Sci. 2016; 1011: 223-32.

Tripathi S, Bruch D, Kittur DS. Ginger extract inhibits LPS induced macrophage activation and function. BMC Complement Altern Med. 2008; 8(1): 1-7.

Nahak G, Sahu RK. Phytochemical evaluation and antioxidant activity of Piper cubeba and Piper nigrum. J. Appl. Pharm. Sci. 2011; 1(8): 153-7.

Tasleem F, Azhar I, Ali SN, Perveen S, Mahmood ZA. Analgesic and anti-inflammatory activities of Piper nigrum L. Asian Pac J Trop Med. 2014; 7(1): S 461-8.

Jadid N, Hidayati D, Hartanti SR, Arraniry BA, Rachman RY, Wikanta W. Antioxidant activities of different solvent extracts of Piper retrofractum Vahl. using DPPH assay. AIP Conference Proceedings 2017; 1854, 020019.

Boonyapranai K, Kraithep S, Maha wantung J, Thaiyanan P, Singdong R, Thunyaharn S, Matrakool B, Saichanma S, Sakorn P. Content and Stability of Total Phenolic Compounds and Antioxidant Capacity of Matured Shallot Bulbs’ Extract (Allium ascalonicum L.). RTAMedJ. 2017; 70(1): 3-9.

Shang A, Cao SY, Xu XY, Gan RY, Tang GY, Corke H, Mavumengwana V, Li HB. Bioactive compounds and biological functions of garlic (Allium sativum L.). Foods. 2019; 8(7): 246.

จุฑามาส สุขเอม, ชนัญผล ประไพ, ศรัญยู อุ่นทวี, สุดาทิพย์ จันทร. ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์การยับยั้งแอลฟากลูโคซิเดสของสารสกัดจากเปลือกอบเชย. Thai Journal of Science and Technology. 2563; 9(5): 659-67.

Mehrotra S, Mishra KP, Maurya R, Srimal RC, Yadav VS, Pandey R, et al. Anticellular and immunosuppressive properties of ethanolic extract of Acorus calamus rhizome. Int Immunopharmacol. 2003; 3(1): 53-61.

Mahae N, Chaiseri S. Antioxidant activities and antioxidative components in extracts of Alpinia galanga (L.) Sw. Kasetsart J. (Nat. Sci.). 2009; 43(2): 358-69.

Navarro Dde F, de Souza MM, Neto RA, Golin V, Niero R, Yunes RA, et al. Phytochemical analysis and analgesic properties of Curcuma zedoaria grown in Brazil. Phytomedicine. 2002; 9(5): 427-32.

Yamasaki K, Hashimoto A, Kokusenya Y, Miyamoto T, Sato T. Electrochemical method for estimating the antioxidative effects of methanol extracts of crude drugs. Chem Pharm Bull (Tokyo). 1994; 42(8):1663-5.

Re R, Pellegrini N, Proreggente A, Pannala A, Yang M, Rice-Evans C. Antioxidant activity applying an improved ABTS radical cation decolorization assay. Free Rad Biol Med. 1999; 26 (9-10): 1231-7.

Kim SJ, Park H, Kim HP. Inhibition of nitric oxide production from lipopolysaccharide-treated RAW 264.7 cells by synthetic flavones: structure-activity relationship and action mechanism. Arch Pharm Res. 2004; 27(9): 937-43.

มะลิวรรณ อมตธงไชย. วิธีวิเคราะห์ที่อาศัยการไหลในการประเมินความ สามารถต้านอนุมลอิสระ โดยรวมอย่างรวดเร็ว. วารสารวิชาการ มอบ. 2553; 12(2): 49-59.

Tomlinson PB. Studies in the systematic anatomy of the Zingiberaceae. Bot. J. Linn. Soc. 1956; 55(361): 547-92.

Kato MJ, Furlan M. Chemistry and evolution of the Piperaceae. Pure Appl. Chem. 2007; 79(4): 529-38.

Alafiatayo AA, Syahida A, Mahmood M. Total anti-oxidant capacity, flavonoid, phenolic acid and polyphenol content in ten selected species of Zingiberaceae rhizomes. Afr J Tradit Complement Altern Med. 2014; 11(3): 7-13.

Lee SK, Hong CH, Huh SK, Kim SS, Oh OJ, Min HY, et al. Suppressive effect of natural sesquiterpenoids on inducible cyclooxygenase (COX-2) and nitric oxide synthase (iNOS) activity in mouse macrophage cells. J Environ Pathol Toxicol Oncol. 2002; 21(2): 141-8.

Zhang L, Virgous C, Si H. Synergistic anti-inflammatory effects and mechanisms of combined phytochemicals. J Nutr Biochem. 2019; 69: 19-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-09