การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพเพื่อป้องกันการขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ ตำบลรอบเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • วัทธิกร นาถประนิล -

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การขาดสารไอโอดีน , หญิงตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพ ในการป้องกันการขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ ตำบลรอบเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้วางแผนพัฒนา เป็นคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลและภาคีเครือข่าย จำนวน 30 คน และกลุ่มผู้ใช้แผน เป็นหญิงตั้งครรภ์จำนวน 32 คน สุ่มเลือกอย่างง่าย    โดยการจับสลาก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับไอโอดีนที่มีค่าอำนาจจำแนก 0.31 - 0.75 ค่าความยากง่าย 0.53 - 0.78 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (KR-20) 0.76 ค่าความเชื่อมั่น  ทั้งฉบับ (Cronbach's alpha) 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Paired Simple t-test  ผลการวิจัย พบว่ากระบวนการพัฒนาประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาวิเคราะห์บริบทพื้นที่     2) การวางแผนเชิงปฏิบัติการ 3) ปฏิบัติตามแผน 4) นิเทศติดตาม 5) สรุปผลและถอดบทเรียน      เกิดรูปแบบการป้องกันการขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ 8 มาตรการคือ 1) มีกองทุนเกลือเสริมไอโอดีน 2) มีหอกระจ่ายข่าวไอโอดีน ทุกเช้าวันจันทร์ 3) ส่งเสริมองค์ความรู้เกี่ยวกับไอโอดีน          4) ส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ตระหนักในการรับประทานยาเสริมไอโอดีน 5) ค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ 6) ลงเยี่ยมเคาะประตูบ้านหญิงตั้งครรภ์ทุกครอบครัว 7) มีคลินิกให้คำปรึกษาฝากครรภ์ใน รพ.สต. และ 8) สร้างสื่อสังคมออนไลน์ด้านสุขภาพ ผลการดำเนินงานทำให้กลุ่มตัวอย่าง มีระดับความรู้   การปฏิบัติตน ความพึงพอใจและการมีส่วนร่วม เพิ่มขึ้นสูงกว่าก่อนดำเนินกิจกรรมพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ข้อเสนอแนะการวิจัย ควรมีการติดตามและดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการในวงรอบถัดไปเพื่อหาแนวทาง เทคนิค วิธีการ ดำเนินงานแก้ไขปัญหาการขาดสารไอโอดีนอย่างยั่งยืน

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการศึกษาผลของการให้ยาเม็ดเสริมไอโอดีนต่อภาวะโภชนาการไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์. กรุงเทพฯ: บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2562.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 2563. กรุงเทพฯ: บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2562.

นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล. รายงานการศึกษาผลของการให้ยาเม็ดเสริมไอโอดีนต่อภาวะโภชนาการไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์. กรุงเทพฯ: บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ); 2562.

อมรพรรณ ทับทิมดี. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อป้องกันการขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2559.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการดำเนินงานโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน (พฤษภาคม 2561 – มิถุนายน 2563). กรุงเทพฯ: บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2563.

รัตนาภรณ์ เฉลิมศรี, อดิศร วงศ์คงเดช, ธีรศักดิ์ พาจันทร์. การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงวัยเจริญพันธุ์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลนาโพธิ์ อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2561; 8(1): 68-75.

กัลยา บัวบาน, วรรณี เดียวอิศเรศ, ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการขาดสารอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2562; 27(3): 1-9.

พจนีย์ ขวัญเงิน, เกสรา ศรีพิชญาการ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และพฤติกรรมการบริโภคเพื่อป้องกันภาวะขาดไอโอดีนในสตรีตั้งครรภ์. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา. 2563; 21(1): 29-40.

สมนึก อภิวันทนกุล, สุดารัตน์ ศิริชัยพรศักดิ์, นิยะดา บุญอภัย. ภาวะขาดสารไอโอดีนของทารกแรกเกิดและพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในโรงพยาบาลสกลนคร. วารสารศรีนครินทร์เวชสาร. 2563; 35(4): 390-396.

กนกพร ยอดยศ, เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์, ณรงค์ชัย สังซา. การพัฒนาระบบรายงานความเสี่ยงและการแจ้งเตือนในการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2562; 5(2): 27-41.

วรลักษณ์ เวฬุ, เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์, จมาภรณ์ ใจภักดี. รูปแบบการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ตำบลบ้านยวด อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการ สาธารณสุขชุมชน. 2562; 5(2) :107-119.

กีระติ เวียงนาค. การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร. 2563; 1(1): 49-55.

Daniel Gyamfi, Yaw Amo Wiafe, Kwabena Owusu Danquah, Ernest Adankwah, Gertrude Akua Amissah, Angela Odame. Urinary iodine concentration and thyroid volume of pregnant women attending antenatal care in two selected hospitals in Ashanti Region, Ghana: a comparative cross-sectional study. BMC Pregnancy and Childbirth. 2018; 18:166.

Guangming Mao, Wenming Zhu, Zhe Mo, Yuanyang Wang, Xiaofeng Wang, Xiaoming Lou, et al. Iodine deficiency in pregnant women after the adoption of the new provincial standard for salt iodization in

Zhejiang Province, China. BMC Pregnancy and Childbirth. 2018; 18:313.

Kemmis S., R. McTaggart. The Action Research Planner. (Victoria, Ed.) (3rd ed.). Australia: Deaken University Press; 1988.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-09