การพัฒนารูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชน

ผู้แต่ง

  • ดิษฐพล ใจซื่อ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, รูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้ม, การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชน

บทคัดย่อ

วิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์พลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ กลวิธีการพัฒนารูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุและประเมินผลการพัฒนา คัดเลือกผู้ร่วมดำเนินการวิจัยแบบเจาะจง แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะ 1 และ 2 เตรียมพื้นที่และศึกษาสถานการณ์ ผู้สูงอายุ 300 คน ผู้ดูแล 20 คน และภาคีเครือข่าย 24 คน ระยะ 3 และ 4 ดำเนินการวิจัยและประเมินผล ผู้สูงอายุ 30 คน ผู้ดูแล 30 คน และภาคีเครือข่าย 15 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม        การเสวนากลุ่ม สังเกตอย่างมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำนวน ร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุดและ ค่าต่ำสุด และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม ขาดความรู้ความเข้าใจและแนวทางในการป้องกันการหกล้ม และการจัดสิ่งแวดล้อมที่พักอาศัยที่ไม่เหมาะสม 2) กลวิธีในการพัฒนาเน้นการมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน ได้แก่ การศึกษาสถานการณ์ คืนข้อมูล จัดลำดับความสำคัญของปัญหา วางแผนและปรับปรุงแผน ลงมือปฏิบัติและประเมินผล  ประกอบด้วย 7 กิจกรรม ดังนี้ คัดกรองความเสี่ยงการพลัดตกหกล้ม พัฒนาคู่มือการเรียนรู้ พัฒนากิจกรรมเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา อบรมเชิงปฏิบัติการ เยี่ยมบ้าน และพัฒนานวัตกรรมเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา และปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย 3) ผลลัพธ์ พบว่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและการทรงตัวระหว่างก่อนและหลังมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลง  ไปในทางที่ดี โดยทรงตัวอยู่ในช่วงเวลาน้อยกว่า 13.50 วินาที 10 คน (ร้อยละ 33.33) ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าก่อนทำกิจกรรม และช่วงเวลามากกว่า 20 วินาที ลดลงเหลือ 7 คน (ร้อยละ 23.33) นอกจากนั้น      ผู้ร่วมวิจัยเกิดการเรียนรู้ร่วมกันในการแสวงหาวิธีการป้องกันพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ

References

United Nations. World Population Prospects The 2019 Revision. [Internet]. 2019. [Cited 2020 May 3]. Available from: https://population.un.org.

Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute. Situation of the Thai Elderly 2019. Printery Co., Ltd., Puttamonton, Nakorn Pathom. Institute for Population and Social Research, Mahidol University; 2019.

กรมกิจกรรมผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. แผนพัฒนาผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 - 2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. [อินเตอร์เน็ต]. 2552. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/download/laws/law_th_20152309144546_1.pdf.

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.ยุทธศาสตร์กรมกิจการผู้สูงอายุ 20 ปี พ.ศ. 2561 - 2580. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา. 2561.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีสภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช); 2559.

ศรวณีย์ ทนุชิต, ดนัย ชินคา, ณัฐธิดา มาลาทอง, สุรเดชเดช ดวงทิพย์สิริกุล, ศรีเพ็ญ ตันติเวส. สถานการณ์ของระบบ การแพทย์ฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับผู้สูง อายุที่พลัดตกหกล้ม : ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย. 2562; 6: 57-68.

เยาวลักษณ์คุมขวัญ, อภิรดี คาเงิน, อุษณีย์ วรรณลัย, นิพร ขัดตา. แนวทางการป้องกันการพลัดตกหกล้มที่บ้านในผู้สูงอายุ: บริบทของประเทศไทย. วารสารการพยาบาลสาธารณสุข. 2561; 28(3): 10-22.

ศิราณี ศรีหาภาค, วัชรี อมรโรจน์วรวุฒิ, ณรงค์ คาอ่อน, พัฒนี ศรีโอษฐ์, พลอยลดา ศรีหานู, ทิพวรรณ ทับซ้าย. สถานการณ์ปัญหา และความต้องการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน ภายใต้กองทุนระบบการดูแลระยะยาว จังหวัดขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2564; 15(36): 44-62.

นงนุช เชาวน์ศิลป์, พิมสุภาว์ จันทนะโสตถิ์, จุฑารัตน์ ผู้พิทักษ์กุล. การพัฒนารูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุโดยใช้ชุมชนเป็นฐานตามแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์; 2563.

สุทธิดา พงษ์พันธ์งาม, อัมภิชา นาไวย์. การหกล้ม ความกลัวการหกล้ม และการจำกัดกิจกรรมเนื่องจากกลัวหกล้ม ในผู้สูงอายุไทยที่อาศัยอยู่ในชุมชน ชานเมืองเชียงใหม่. วารสารวิจัยสุขภาพ และการพยาบาล. 2563; 36(1): 22-38.

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกัน/ประเมิน ภาวะหกล้ม ในผู้สูงอายุ. [อินเตอร์เน็ต]. 2551. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://agingthai.dms.go.th/agingthai/wp-content/uploads/2021/01/book_8.pdf.

สำนักงานสาธารณสุขมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์ การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุในระบบฐานข้อมูลMIS.HDC service. [อินเตอร์เน็ต]. 2557. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://mkm.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php.

นงพิมล นิมิตรอานันท์, วิชุดา กลิ่นหอม, เจือจันทน์ วัฒกีเจริญ, ชลทิพย์ ทิพย์แก้ว. การพัฒนารูปแบบการป้องกันการ หกล้มของผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของชุมชน.วารสารพยาบาลทหารบก. 2563; 21(2): 389-399.

ภัณฑิลา ผ่องอำไพ, สุธีรา ฮุ่นตระกูล, ศศิธร รุจนเวช. ผลของโปรแกรมการเสริมพลังครอบครัวต่อความสามารถในการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ.วารสารแพทย์นาวี. 2561; 45(2): 311-327.

พรรณวรดา สุวัน, ณภัทรธร กานต์ธนาภัทร, จุฑารัตน์ เสาวพันธ์, สุปรีดา อินทรสงเคราะห์, อัญชลี อ้วนแก้ว, สุภาพักตร์ หาญกล้า. การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัย ตามหลัก 10 ป. ของผู้สูงอายุใน ชุมชน.วารสารแพทย์นาวี. 2563; 47(2): 414-431.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-09