การพัฒนาแนวทางการป้องกันการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการได้รับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดขอนแก่น
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หลังจากได้รับวัคซีนโควิด (AEFI) และพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังในเครือข่ายบริการสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น การดำเนินงานใช้ฐานคิดทฤษฎีระบบเป็นกรอบในการบริหารจัดการ นำวงจรพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเคมมิสเป็นเครื่องมือ กลุ่มเป้าหมาย คือ คณะทำงานประกันคุณภาพและติดตามอาการไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีน จำนวน 40 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ 1. แบบสำรวจเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หลังจากได้รับวัคซีนโควิด 2. แบบสอบถามแนวทางปฏิบัติในการดำเนินงานประกันคุณภาพ วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ระยะเวลา มกราคม ถึง กันยายน 2565 ผลการศึกษา 1. ผู้มารับบริการวัคซีนโควิด จำนวน 1,913,920 ราย พบการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ชนิด Non-Serious AEFI ร้อยละ 0.34, Serious AEFI 0.003 และ Death 0.002 พบชนิดSerious AEFI ในกลุ่มอายุมากกว่า 60 ปี มากที่สุด 45 คน (45.92) ข้อมูลดังกล่าวนำไปสู่การจัดกลุ่มเสี่ยงในการวางแผนเฝ้าระวังและการพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินชนิดร้ายแรงที่มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับโรคทางระบบสมองและประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือดซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุด 2. ระบบการเฝ้าระวัง AEFI ที่ได้ดำเนินการจัดทำ คือ 1) ระบบการส่งต่อผู้ป่วยที่เกิด Serious AEFI ระหว่างโรงพยาบาลแม่ข่ายและพื้นที่ 2) ระบบการเฝ้าระวังเชิงรุกเชื่อมโยงฐานข้อมูลผู้มารับบริการ 3) พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่หน่วยบริการปฐมภูมิในการประเมินAEFIเบื้องต้น 4)พัฒนาศักยภาพชุมชนเฝ้าระวังและรายงานเบื้องต้น สรุป ความร่วมมือจากหน่วยบริการทุกภาคส่วนและชุมชนในการพัฒนาระบบการเฝ้าระวัง AEFI จะช่วยลดการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ถึงแก่ชีวิตได้
References
Gorbalenya AE, Baker SC, Baric RS, de Groot RJ, Drosten C, Gulyaeva AA, et al. The species Severe acute respiratory syndrome-related coronavirus: classifying 2019-nCoV and naming it SARS-CoV-2. Nature Microbiology. 2020; 5(4): 536-44.
World Health Organization. Draft landscape of COVID-19vaccine candidates. [Internet]. 2020 [Cited 2021 May 19]. Available from: https://www.who.int/publications/m/item/draft-landscape-of-covid-19-candidate-vaccines.
CDC Covid Data tracker. Centers for Disease Control and Prevention. Centers for Disease Control and Prevention. [Internet]. 2021. [Cited 2021 Nov 18]. Available from: https://covid.cdc.gov/covid-data-tracker/#datatracker-home.
ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคติด เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 676. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no676-091164.pdf.
กรมควบคุมโรค. แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564 ของประเทศไทย. ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2. [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/getFiles/11/1628849610213.pdf.
สายรัตน์ วนิดา. คุณภาพระบบเฝ้าระวังของการรายงานอาการภายหลังสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (AEFI) พื้นที่รับ ผิดชอบสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. Journal of the office of doc 7 Khonkean. 2563; 27(1): 40-51.
Ontario Agency for Health Protection and Promotion (Public Health Ontario). Weekly summary : adverse events following immunization (AEFIs) for COVID-19 in Ontario: December 13, 2020 to November 7, 2021. [Internet]. 2021. [cited 2021 Nov 5]. Available from: https://www.publichealthontario.ca/-/media/Documents/nCoV/AEFI/2021/11/covid-19-aefi-report-2021-11-12.pdf?rev=3fc80c14a00744189d7eaf9a766a6058&sc_lang=en
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ฐานข้อมูล MOPH Immunization Center. [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก : https://ddc.moph.go.th/doe
กนกพร ธัญมณีสิน. รายงานการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีนโควิด-19 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ประจำปี 2564. ใน: วัฒนา นิลบรรพต,บรรณาธิการ. ประชุมคณะทำงานประกันคุณภาพ และติดตามอาการไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ครั้งที่ 2/2564; 30 พฤศจิกายน 2564; สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น, ขอนแก่น: 2564. หน้า 2-4.
Sokovic M, Pavletic D, Pipan K. Quality improvement methodologies-PDCA cycle, RADAR matrix, DMAIC and DFSS. Journal of achievements in materials and manufacturing engineering 2010; 43(1): 476-483
World Health Organization, Western Pacific Regional Office. Immunization safety surveillance: guidelines for managers of immunization programme on reporting and investigating adverse events following immunization. [Internet]. 1999. [Cited 2019 Dec 9]. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/208312/9290611820_eng.pdf?sequence=1&isAllowed=y
Fritzell B. Detection of adverse events: what are the current sensitivity limits during clinical development?. Vaccine 2001; 20: 47-8.
Niu MT, Erwin DE, Braun MM. Data mining in the US Vaccine Adverse Event Reporting System (VAERS): early detection of intussusception and other events after rotavirus vaccination. Vaccine 2001; 19(32) : 4627-34.
Chen RT, Rastogi SC, Mullen JR, Hayes SW, Cochi SL, Donlon JA, et al. The Vaccine Adverse Event Reporting System (VAERS). Vaccine 1994; 12(6): 542-50.
Bentsi-Enchill A, Hardy M, Koch J, Duclos P. Adverse events temporally associated with vaccines-1992 Report. Can Commun Dis Rep 1995; 21: 117-28.
Vermeer-de-Bondt PE, Wesselo C, Dzaferagic A, Phaff TAJ. Adverse events following immunisation under the National Vaccination Programme of The Netherlands Number V-Reports in 1998. [Internet].1998 [cited 2013 Mar 16]. Available from: www.rivm.nl/bibliotheek/rapporten/000001004.html.
รุกขพันธ์ กรกมล, สุทธิทิปธรรมรงค์ คณิตา. ปัญหาและแนวทางการพัฒนาระบบเฝ้าระวังอาการภายหลัง ได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในจังหวัดสงขลา. Thai Journal of Pharmacy Practice. 2561; 10(2): 519-31.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว