สถานการณ์มารดาตายในจังหวัดขอนแก่น ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 - กันยายน พ.ศ.2564
คำสำคัญ:
สถานการณ์, มารดาตาย, สาเหตุการตายบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงพรรณนา (Descriptive research) เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากแบบรายงานการตายของมารดา บันทึกการประชุม MCHB จังหวัดขอนแก่น รายงานการคลอด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การตายมารดาการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงพรรณนา (Descriptive research) เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากแบบรายงานการตายของมารดา บันทึกการประชุม MCHB จังหวัดขอนแก่น รายงานการคลอด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การตายมารดาขณะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอดในจังหวัดขอนแก่น การดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาที่เข้ารับการรักษาและเสียชีวิตในขณะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอดภายใน 42 วัน ในสถานบริการของจังหวัดขอนแก่น ช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 - เดือนกันยายน พ.ศ. 2564 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกโรคที่เป็นสาเหตุหลักของมารดาตาย และแบบบันทึกสาเหตุความล่าช้า 3 ประการที่เกี่ยวข้องกับมารดาตาย ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเองโดยการประยุกต์จากแบบรายงานการตายมารดา (CE) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยการแจกแจง ความถี่ ร้อยละ และอัตราส่วน ผลการวิจัยพบว่า ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 - เดือนกันยายน พ.ศ. 2564 จังหวัดขอนแก่น มีอัตราส่วนการตายมารดาเท่ากับ 6.29,19.2, 19.51, 35.00 และ 22.81 ต่อการเกิดมีชีพแสนคนตามลำดับ โดยสาเหตุที่พบบ่อย 3 ลำดับแรก คือ ภาวะน้ำคร่ำอุดตันหลอดเลือดที่ปอด รองลงมาคือภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด และภาวะตกเลือดหลังคลอด ความล่าช้าที่เกี่ยวข้องกับการตายมารดา พบว่าร้อยละ 50 มีสาเหตุจาก 1-Delays ร้อยละ 21.42 ไม่พบความล่าช้าทั้ง 3 สาเหตุ ร้อยละ 14.29 มีสาเหตุความล่าช้าจาก 1-Delays & 3-Delays ร้อยละ 12.29 มีสาเหตุจาก 3-Delays สรุปได้ว่าอัตราส่วนการตายมารดาในจังหวัดขอนแก่นในช่วง 5 ปี ยังคงสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน สาเหตุความล่าช้าส่วนใหญ่เกิดจากผู้รับบริการขาดความตระหนักรู้ด้านสุขภาพ (1-Delays)
References
World Health Organization. Trends in maternal mortality 2000 to 2017: estimates by WHO, UNICEF, UNFPA, World Bank Group and the United Nations Population Division. [Internet]. 2017.[Cited 2021 Sep 10]; Available from: https://apps.who.int/iris/handle/ 10665/327595
กองตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข. แผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. [อินเทอร์เน็ต] 2564 [เข้าถึงเมื่อ 9 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https:// ops.moph.go.th/public/index.php/policy_plan. 2563.
ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข. เอกสารประกอบการตรวจราชการรอบที่ 1 ปีงบประมาณ 2564 [เอกสารอัดสำเนา]. ขอนแก่น: ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น; [ม.ป.ป.].
ปริยากร กมุทชาติ. กรณีศึกษาการจัด การความขัดแย้งทางการแพทย์ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง. วารสารกฎหมาย และสาธารณสุข 2559;2:190-208.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. เอกสารประกอบการรายงานการประชุม คณะกรรมการอนามัยแม่และเด็ก จังหวัด ขอนแก่นระหว่าง ปี พ.ศ. 2560-2564 [เอกสารอัดสำเนา]. ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น; [ม.ป.ป.].
World Health Organization. The WHO application of ICD-10 to deaths during pregnancy, childbirth and puerperium: ICD-MM. World Health Organization; 2012.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวังมารดาตายสำหรับประเทศไทย : Thailand Maternal Death Surveillance and Response Guideline. นนทบุรี: สำนักงานกิจการ โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2563
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. การวิเคราะห์สถานการณ์การตายมารดาไทยประจำปี งบประมาณ 2563 (เดือน ตุลาคม 2562 - กันยายน 2563) จากระบบ เฝ้าระวังการตายมารดา สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก https:// hp.anamai.moph.go.th/web-upload/4x ceb3b571ddb70741ad132d75876bc41d/tinymce/OPDC/OPDC2564-F/IDC 1_6/opdc_2564_IDC1-6_01.pdf
วรวรรณ ถนอมเกียรติ. การศึกษาปัจจัย สาเหตุและสถานการณ์การตายมารดาในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา 2559; 6(2): 10-7.
วิระวรรณ ถิ่นยืนยง, กรรณิการ์ สหเมธาพันธ์, จารุวรรณ ธาดาเดช. แนวโน้มและสาเหตุการเสียชีวิตของมารดาในจังหวัดเพชรบูรณ์ ระหว่างปีงบประมาณ 2546-2557.วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง 2559;1:33-42.
จันทิยา เนติวิภัชธรรม, กัญญาภัทร คำโสม, อธิษฐาน สารินทร์, ชนัตถ์ มาลัยกนก. สถานการณ์มารดาตาย เขตสุขภาพที่ 7. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น 2564; 1:52-73.
World Health Organization. Trends in maternal mortality: 1990 to 2015. [Internet]. 2015 [Cited 2021 Dec 10]; Available from: https://apps.who.int/iris/ bitstream/handle/10665/193994/WHO_RHR_15.23_eng.pdf?sequence=1
Nour NM. An introduction to maternal mortality. Rev Obstet Gynecol. 2008; 1(2): 77-81.
Mgawadere F, Unkels R, Kazembe A, van den Broek N. Factors associated with maternal mortality in Malawi: application of the three delays model. BMC Pregnancy Childbirth 2017; 17(1): 219.
สุฑารัตน์ ชูรส. การป้องกันการตกเลือด หลังคลอด: บทบาทพยาบาล. วารสาร วิชาการแพทย์เขต 11 2562; 3(1):181-92.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว