การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อวัณโรคในกลุ่มผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านโดยชุมชนมีส่วนร่วม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พิชิต แสนเสนา -

คำสำคัญ:

วัณโรค, ผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน, ชุมชนมีส่วนร่วม, การพัฒนารูปแบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อวัณโรคในกลุ่มผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านโดยชุมชนมีส่วนร่วม ศึกษาใน 1) กลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้าน 40 คน และ 2) ผู้นำชุมชน ส.อบต. อสม. เจ้าหน้าที่ รพ.สต. และสสอ.หนองเรือ รวม 48 คน ดำเนินการวิจัยโดยใช้กระบวนการ PAOR 2 วงรอบ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมการป้องกันตนเอง ค่าความเชื่อมั่น 0.82 การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านอาศัยอยู่แบบครอบครัวใหญ่ นอนร่วมกับผู้ป่วย อากาศไม่ถ่ายเท ไม่กล้าตรวจคัดกรองเนื่องจากกลัวทราบว่าป่วย จึงนำเข้าข้อมูลในการสนทนากลุ่มร่วมกับชุมชน ได้ BUDDY model 1) B (Ban) : ทุกหมู่บ้าน ผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านต้องได้รับการตรวจคัดกรองวัณโรคทุกคน โดยความร่วมมือของเครือข่ายในชุมชน และภาครัฐ สื่อสารผ่านกลุ่มไลน์ “เพื่อนทีบี” และการเยี่ยมบ้าน 2) U (Unity) : การทำงานเป็นทีม บูรณาการกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล ท้องถิ่นสนับสนุนงบประมาณ ท้องที่ประสานชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจัดบริการเชิงรุก 3) D (Design) : ทางด่วนคัดกรอง TB  4) D (Do) : จับคู่ อสม.1 : 2 คน ค้นหา ชักชวน และส่งต่อตรวจคัดกรอง สร้างความมั่นใจว่า TB รู้ไวรักษาได้ และ 5) Y : (Yardstick) เป็นมาตรฐานในการดำเนินงาน จากการประเมิน ผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านได้รับการคัดกรองทุกราย พบผลบวกเพิ่ม 3 ราย ดังนั้น BUDDY model สามารถใช้เสริมการป้องกันควบคุมวัณโรคของรพ.สต.จระเข้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมวัณโรค ประเทศไทย พ.ศ. 2562. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ. 2560 - 2564. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์การควบคุมวัณโรคแห่งชาติเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2558.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. สถิติผู้ป่วยวัณโรค. อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น; 2563.

วันชัย เหล่าเสถียรกิจ. การพัฒนาและการประเมินผลรูปแบบการกำกับติดตาม การกินยาของผู้ป่วยวัณโรคเสมหะพบเชื้อรายใหม่ ในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารกรมการแพทย์ 2562; 44(2): 128-35.

Kemmis, S, McTaggart R. The action research planner (3rd edn., substantially revised). Geelong, Australia : Deakin University Press:1988.

สุภาภรณ์ มิตรภานนท์, รัชนี ระดา, เสฐียรพงษ์ ศิวินา. การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมวัณโรค สำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่และสัมผัสโรคร่วมบ้านในเครือข่ายสุขภาพอำเภอ หนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2563; 3(3): 164-74.

มุกดา วิเศษ, นพดล พิมพ์จันทร์. การพัฒนารูปแบบการป้องกันวัณโรค ดื้อยา หลายขนานชนิดรุนแรงมาก โดยกระบวน การชุมชนมีส่วนร่วม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2563; 27(2): 1-11.

ทศพล สุวรรณ. พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค ภายหลังการใช้โปรแกรมการป้องกันโรควัณโรคในบุคลากรกลุ่มเสี่ยง อำเภอ สองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสาร วิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2563; 4(8): 122-32.

นิรันดร์ ถาละคร. พัฒนารูปแบบในการป้องกันและควบคุมวัณโรคในพื้นที่ อําเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. วารสาร วิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 2562; 2(2): 38-49.

ดวงใจ ไทยวงษ์, กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์, สุวัฒนา อ่อนประสงค์. การพัฒนารูปแบบ การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ เกี่ยวกับการป้องกันควบคุมวัณโรคโดยหมอประจำบ้านของอำเภอซำสูง จังหวัด ขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2565; 29(3): 111-30.

นาปีเส๊าะ มะเซ็ง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ต่อพฤติกรรมการป้องกันวัณโรค ใน ผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรค อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. [ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2563.

เกศินี อินทร์อักษร, พิมกมล อินสุวรรณ, ปริมประภา ก้อนแก้ว, กู้เกียรติ ก้อนแก้ว. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคปอดของผู้สัมผัสร่วมบ้าน อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย. วารสารควบคุมโรค 2564; 47(1): 714-23.

ณัฐสิมา ปาทาน, ชนัญญา จิระพรกุล, เนาวรัตน์ มณีนิล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับการไม่มารับบริการตรวจคัดกรองในผู้สัมผัสร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณโรค อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสาร วิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น 2563; 13(4): 94-105.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-09