การพัฒนาระบบการบริหารจัดการโรงพยาบาลสนาม จังหวัดขอนแก่น ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • ศิริมา นามประเสริฐ
  • อดิเรก เร่งมานะวงษ์
  • มิ่งขวัญ ภูหงษ์ทอง

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ระบบการบริหารจัดการ, โรงพยาบาลสนาม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการโรงพยาบาลสนาม จังหวัดขอนแก่น ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประชากรเป้าหมาย ประกอบด้วย 1. คณะกรรมการบริหารจัดการโรงพยาบาลสนาม จำนวน 35 คน 2. ผู้ป่วย COVID-19 จำนวน 360 คน ที่รักษาตัวในโรงพยาบาลสนามฯ 4 แห่ง ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือน มีนาคม 2564 - มีนาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่าง ก่อน-หลังพัฒนารูปแบบด้วยสถิติ Paired Samples T-Test และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษา พบว่า เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ซึ่งเป็นโรคอุบัติการณ์ใหม่ จึงยังไม่มีระบบการบริหารจัดการโรงพยาบาลสนาม จังหวัดขอนแก่น มาก่อน แนวทางการพัฒนาระบบ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบคือ 1)โครงสร้างรูปแบบใช้แนวทางของกระทรวงสาธารณสุขนำมาปรับให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ 2) กระบวนการ พัฒนาเน้นบุคลากรและอุปกรณ์จากโรงพยาบาลหลัก และเลือกสถานที่ตั้งที่เหมาะสม โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัด 3) การจัดระบบบริการอย่างมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการ 4) การติดตามประเมินผล เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขพัฒนาการมีส่วนร่วมให้มีประสิทธิภาพ ด้านผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความพึงพอใจและผลกระทบจากการพัฒนาระบบการบริหารจัดการฯของผู้ป่วย COVID-19 การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริหารจัดการโรงพยาบาลสนาม คณะทำงาน และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ก่อน-หลัง พัฒนาพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-Value = 0.001) สรุปได้ว่า ระบบการบริหารจัดการที่พัฒนาขึ้น ทำให้เกิดการทำงานอย่างมีส่วนร่วม เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับทั้งผู้รับบริการและ ผู้ให้บริการ ทีมดำเนินการพัฒนาโรงพยาบาลสนามและชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ

References

จอมขวัญ โยธาสมุทร และคณะ. การทบทวนระบบและกลไกการติดตามและ ประเมินการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์สุขภาพโลกของประเทศต่างๆ. นนทบุรี: โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข; 2561.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามเพื่อรอง รับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น; 2564.

Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Reader. 3rd ed. Australia: Deakin University Press, 1988.

Wayne W. Daniel. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. Wiley-India; 2010.

วันเพ็ญ ทองคำ. การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแผนแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัย. เชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2563.

ชาติชาย พณิชีพ และคณะ. การพัฒนารูปแบบการนิเทศงานอย่างมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2558; 8(2) 132-146.

วาปี ครองวิริยะภาพ. คุณภาพบริการพยาบาลแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร.วารสารพยาบาลทหารบก 2558; 16(2): 97-105.

กรมยุทธการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย. การปรับปรุงโครงสร้างการจัดและยุทโธปกรณ์หลักของโรงพยาบาลสนาม. กรุงเทพฯ: หจก.อรุณการพิมพ์; 2560.

วุฒิไชย อิศระ. โรงพยาบาลสนามกอง ทัพบกไทยในอนาคต. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 60 ประจำปีการศึกษา พุทธศักราช 2560-2561; 2561.

Szarpak L, Pruc M, Nadolny K, Smereka J, Ladny J. Role of a field hospital in COVID-19 pandemic. Disaster and Emergency Medicine Journal 2020; 5(4): 221-3.

Chinvararak C, Kerdcharoen N, Pruttithavorn W, Polruamngern N, Asawaroekwisoot T, Munsukpol W, et al. Mental health among healthcare workers during COVID-19 pandemic in Thailand. PLOS ONE. 2022; 17(5): e0268704.

Naor M, Heyman SN, Bader T, Merin O. Deployment of field hospitals to disaster regions: Insights from ten medical relief operations spanning three decades. Am J Disaster Med. 2017; 12(4): 243-56.

Chaudhary MJ, Howell E, Ficke JR, Loffredo A, Wortman L, Benton GM, et al. Caring for Patients at a COVID-19 Field Hospital. J Hosp Med. 2021; 16(2): 117-9.

Tabari P, Amini M, Moghadami M, Moosavi M. International Public Health Responses to COVID-19 Outbreak: A Rapid Review. Iran J Med Sci. 2020; 45(3): 157-69.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-08