การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการส่งต่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลขอนแก่นโดยใช้ค่า CMI (Case Mix Index) และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
คำสำคัญ:
Case Mix Index, Adjusted Relative Weights, การส่งต่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล, ประสิทธิภาพ,, ปัจจัยบทคัดย่อ
การศึกษาข้อมูลย้อนหลังนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่า AdjRW เทียบกับค่า CMI มาตรฐานของโรงพยาบาลแต่ละระดับ ในการรับผู้ป่วยส่งต่อเข้ารับการรักษา 2) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับค่า CMI ในการส่งต่อเข้ารับการรักษา ปี 2563 - 2565 ผลการวิจัย พบว่าในช่วงปี 2563 - 2565 มีการส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง 23,986 ราย, 22,948 ราย, และ 20,631 ราย ในจำนวนนี้มีค่า AdjRW น้อยกว่าค่า CMI มาตรฐานของโรงพยาบาล 5,323 ราย, 3,979 ราย, 3,235 ราย คิดเป็นร้อยละ 22.19, 17.34, 15.68 ในปี 2563 มีการส่งต่อน้อยกว่าเกณฑ์ CMI จากโรงพยาบาลระดับ M1-F3 ร้อยละ 25.91, 25.80, 21.75, 20.55, 18.03 ปี 2564 ร้อยละ 20.47, 22.28, 16.12, 15.90, 13.77 และ ปี 2565 = ร้อยละ 21.59, 19.13, 14.27, 14.20, 12.89 ซึ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการส่งต่อที่ AdjRW น้อยกว่า ค่า CMI มาตรฐาน ได้แก่ 1) การส่งต่อนอกเวลาราชการ คิดเป็นร้อยละ 51.17, 51.52 และ 51.75 2) ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการรักษาพยาบาล เป็นเงินทั้งสิ้น 46,236,507 บาท, 38,504,117 บาท และ 36,995,780 บาท และ 3) กลุ่มวินิจฉัยโรคหลัก (MDC) 25 กลุ่มโรคที่ส่งต่อ มีค่า AdjRW น้อยกว่า ค่า CMI มาตรฐาน ระดับ M1, M2, F1 พบมากที่สุด คือ รหัส 23 (Factors Influencing…) ระดับ F2 มากที่สุด คือ รหัส 14 (Pregnancy, Childbirth and Puerperium) และ ระดับ F3 มากที่สุด คือ รหัส 12 (Male Reproductive System) โรงพยาบาล ระดับ M1 มีศักยภาพแพทย์เฉพาะทางครอบคลุมเกือบทุกสาขา ระดับ M2, F1, F2, F3 มีแพทย์เฉพาะทางบางสาขา ดังนั้นโรงพยาบาลแต่ละระดับควรรับทราบและปฏิบัติตามข้อมูลค่า CMI ผ่านระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและกระตุ้นให้มีการพัฒนาศักยภาพตามกำหนด
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ.ศ. 2560-2579) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2561). พิมพ์ ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
กองบริหารการสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือหลักเกณฑ์การจัดตั้งและปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการ สุขภาพ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
กองบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือหลักเกณฑ์การจัดตั้งและปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2565.
เทพี สีหานู, และคณะ. รายงานสถิติประจำปี ปีงบประมาณ 2564. ขอนแก่น: กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาระบบบริการและสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2564.
กลุ่มงานนโยบายและยุทธศาสตร์ โรงพยาบาลขอนแก่น. ทิศทางและแผนยุทธศาสตร์ โรงพยาบาลขอนแก่น ปีงบประมาณ 2564-2565. ขอนแก่น: โรงพยาบาล ขอนแก่น; 2566.
กลุ่มงานบริหารงานสาธารณสุข สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข. เอกสารประกอบตัวชี้วัดที่ 2.3 ในประเด็นค่า CMI. [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ14 พฤษภาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: https:// www.spo.moph.go.th/web/dict/images/content_web/cmi57.pdf.
วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์. คู่มือการลงรหัส ICD-10 สำหรับโรคจากการประกอบอาชีพ. ชลบุรี: มูลนิธิสัมมาอาชีวะ; 2554.
นิภาพร อรุณวรากรณ์. แนวทางสรุปเวชระเบียนสูติ. [อินเทอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://chainathospital.org/chainatweb/file_store_path/20200722101052-75-28401.pdf.
เทพี สีหานู, และคณะ. รายงานสถิติประจำ ปี ปีงบประมาณ 2565. ขอนแก่น: กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาระบบบริการและสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2565.
ชุติมา คงจันทร์. การบริหารต้นทุนบริการ ของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสงขลา. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษาปี 2566; 3(1): 28-45.
พงศา พรชัยวิเศษกุล,อนู แน่นหนา,พัฒวิไล อินไหม.การวิเคราะห์ปัจจัยผลักดันต้นทุน ภายใต้ชุดโครงการพัฒนารูปแบบและอัตราการจ่ายสถานพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพทั่วหน้า. [อินเทอร์ เน็ต]. 2554. [เข้าถึงเมื่อ 14 พฤษภาคม 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/ dspace/handle/11228/3435.
สุภาภรณ์ พรมแพง. การจัดการระบบการ เงินการคลังโรงพยาบาลเขาวง จังหวัด กาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ศึกษา 2563; 5(2): 22-27.
สมศรี วิริยะพันธ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ โรงพยาบาลนครพนม. วารสารโรงพยาบาลนครพนม; 4(1): 86-93.
วีระศักดิ์ พุทธาศรี, นุศราพร เกษสมบูรณ์, สุรศักดิ์ สุนทร, อรณัชชา เซ็นโส, ปิยะอร แดงพยนต์, กนกวรรณ เส็งคำภา. การประเมินผล 10 ปี โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์กรมหาชน). [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 14 พฤษภาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/ handle/11228/3385.
สรรคเพชร หอมสมบัติ, พาณี สิตะกลิน, อารยา ประเสริฐ. การพัฒนาระบบการลงรหัสการวินิจฉัยโรคเวชระเบียนผู้ป่วยในสำหรับแพทย์เพิ่มพูนทักษะของโรงพยาบาลเอราวัณ จังหวัดเลย. การจัดประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิต ศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 4. วันที่ 26-27 พฤศจิกายน 2557, ณ มหาวิทยาลัยสุโ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว