กรณีศึกษา: การพยาบาลทารกคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักน้อยที่มีภาวะการหายใจลำบาก

ผู้แต่ง

  • สุวัชรีย์ ศรีภิรมย์ -

คำสำคัญ:

การพยาบาล , ทารกคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักน้อย, ภาวะการหายใจลำบาก

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินของโรค การรักษาพยาบาลและการวางแผนจำหน่ายทารกคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักน้อยที่มีภาวะหายใจลำบากและนำผลการศึกษาเป็นองค์ความรู้ในการดูแลผู้ป่วย ศึกษาระหว่าง 31 มกราคม -  31 มีนาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน แนวทางการสัมภาษณ์ และแบบสังเกต ศึกษาในผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยเป็นทารกคลอดก่อนกำหนดและมีน้ำหนักน้อยที่มีภาวะหายใจลำบาก ศึกษาแผนการดูแลรักษาเปรียบกรณีศึกษาตามกระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอน  และสรุปรายงานผลการศึกษา

กรณีศึกษาการพยาบาลทารกคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักน้อยที่มีภาวะการหายใจลำบากพบปัญหาทารกมีภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากขาดสารลดแรงตึงผิวในปอด ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่สำคัญคือประเมินการหายใจผิดปกติและติดตามสัญญาณชีพทุก ½ - 1 ชั่วโมง ภาวะติดเชื้อในร่างกายเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ การพยาบาลที่สำคัญคือ ประเมินอาการ/อาการแสดงการติดเชื้อ ติดตามวัดสัญญาณชีพช่วงวิกฤติ โดยยึดหลัก Aseptic Technique และดูแลให้ได้รับ Antibiotic ซึ่งข้อปัญหานี้หมดไป ส่วนภาวะโลหิตจาง ยังไม่สามารถแก้ไขได้เนื่องจากระบบการทำงานของอวัยวะในการผลิตเม็ดเลือดยังไม่สมบูรณ์ ภาวะลำไส้เน่าอักเสบเนื่องจากระบบทางเดินอาหารยังไม่สมบูรณ์ และมารดา/ญาติวิตกกังวลความเจ็บป่วยของทารกและการดูแลทารกเมื่อกลับบ้าน ได้รับการแก้ไขหมดไป

References

กระทรวงสาธารณสุข. กลุ่มรายงานมาตรฐาน อนามัยแม่และเด็ก. [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก : https://hdcservice.moph.go.th/ hdc/reports/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. เอกสารประกอบการตรวจราชการประจำปี 2565.นครราชสีมา: มิตรภาพการพิมพ์; 2565.

ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ตำราการพยาบาลเด็ก เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สหมิตร พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2561.

กลุ่มงานสารสนเทศ โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา. สรุปผลการดำเนินงานประจำ ปี 2565. นครราชสีมา: มิตรภาพการพิมพ์; 2565.

สันติ ปุณณะหิตานนท์. Practical Points and Update in neonatal Care. กรุงเทพฯ: แอคทีฟพริ้นท์; 2562.

วีณา จีระแพทย์, เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. การประเมินภาวะสุขภาพทารกแรกเกิด. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการ พิมพ์; 2554.

ศรีสมบูรณ์ มุสิกสุคนธ์, ฟองคำ ติกสกุลชัย, วิไล เลิศธรรมเทวี, อัจฉรา เปรื่องเวทย์, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง. ตำราการพยาบาลเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: พรี-วัน; 2555.

ธราธิป โคละทัต, สุนทร ฮ้อเผ่าพันธุ์. NEONATOLOGY FOR PEDIATRICIANS. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง; 2540.

ศุภวัชร บุญกษิดิ์เดช. การดูแลทารกแรก เกิดก่อนกำหนดน้ำหนักน้อย. กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร; 2558.

ประชา นันท์นฤมิตร. การให้ออกซิเจนในทารกแรกเกิดและเป้าหมายระดับความ อิ่มตัวออกซิเจนจากชีพจร. กรุงเทพฯ: อินเตอร์ปริ๊นซัพพลาย; 2565.

ประตินพ น้อยนาค. การพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนดและมีน้าหนักน้อยร่วมกับมีภาวะหายใจลำบาก. โรงพยาบาล สิงห์บุรีเวชสาร. 2563; 29(1): 1-14.

ปาเนตร ศรีสุริยะธาดา. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับทารคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อย.วารสารกรมการแพทย์ 2558; 6(1): 82-91.

วไลพร โรจน์สง่า. ผลของการใช้ Surfactant ในทารกแรกเกิดก่อนกำหนดที่เป็น Respiratory distress syndrome ของโรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลอุดรธานี 2561, 26(1), 56-63.

นเรศินี หวลระลึก. การพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนดร่วมกับมีภาวะหายใจลำบาก. ราชาวดีสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุรินทร์ 2557; 4(2): 34-44.

มาลัย มั่งชม. วิทยาการก้าวหน้าในการบริบาลปริกำเนิด. กรุงเทพฯ: ยูเนี่ยน ครีเอชั่น; 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-08