การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • พิรุณี สัพโส

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, ผู้ป่วยเบาหวาน, การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ การดูแลผู้ป่วยเบาหวานรวมถึงการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ผู้เข้าร่วมการวิจัยเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนดประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้บริหาร จำนวน 18 คน 2) เจ้าหน้าที่ในหน่วยบริการสุขภาพโรคไม่ติดต่อ จำนวน 10 คน 3) ผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 358 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 3 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน และระยะที่ 3 การศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน อำเภอ พังโคน จังหวัดสกลนคร แบบวัดความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน และแบบวัดความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Paired T-Test  การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ประกอบด้วย 4แนวทาง ได้แก่ 1) การดูแลผู้ป่วยเบาหวานตามแนวทาง UCARE 2) การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ในหน่วยบริการสุขภาพ 3) การให้ความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน 4) การติดตามเยี่ยมผู้ป่วยเบาหวาน ประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน พบว่า ศักยภาพเจ้าหน้าที่ในหน่วยบริการสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P < 0.05) ผู้ป่วยมีความรู้ในการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) และผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานมากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05)  และมีระดับน้ำตาลสะสมในเลือด(HbA1c) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05)

References

กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ. คู่มือแนวทางการดำเนินงาน NCD Clinic Plus & Online. นนทบุรี: กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางลดเสี่ยง เลี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs). นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรม ควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

World Health Organization. Classification of Diabetes Mellitus 2019. [Internet]. 2019. [Cited 2023 January 10]; Available from: https://www.who.int/publications/i/ item/classification-of-diabetes-mellitus.

สำนักงานสารนิเทศ สำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค เผยสถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลก มีผู้ป่วยแล้ว 537 ล้านคน มีส่วนทำให้เสียชีวิต สูงถึง 6.7 ล้านคน หรือเสียชีวิต 1 ราย ในทุกๆ 5 วินาที. [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url= pr/detail/2/02/181256/

เจษฎากร โนอินทร์, ทิพย์อาที มีจันโท, สุกัญญา กัญศรี และพิสิษฐ์ พูลประเสริฐ. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. ใน โครงการประชุม สัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับ

ชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17 “บูรณาการงานวิจัยสู่การพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน”, วันที่ 21 กรกฎาคม 2560, ณ ศูนย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง วังจันทน์ริเวอร์วิว มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัด พิษณุโลก: 2651-2663

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. เสริมคุณค่าปฐมภูมิด้วยระบบสุขภาพระดับอำเภอ (รสอ.). กรุงเทพฯ: มูลนิธิแพทย์ชนบท; 2557.

ธนิดา ฉิมวงษ์, จิราพร นิลสุ และนภาพร วาณิชย์กุล. การประยุกต์ใช้หลักการของลีนเพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลระยอง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2557; 24(1): 121-135.

ภาวดี พันธ์หนองโพน วรพจน์ พรหมสัตยพรต และผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ภายใต้รูปแบบการจัดการโรคเรื้อรัง (Chronic Care Model) ในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลขุนหาญ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชา การสาธารณสุขชุมชน 2563; 6(2): 55-69.

จุฑาพงศ์ เตชะสืบ, วราภรณ์ บุญเชียง และรังสิยา นารินทร์. การพัฒนารูปแบบการดูแลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน. พยาบาลสาร 2563; 47(2): 111-121.

วิรัชฎา มะมา. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุข ชุมชน 2563; 3(2): 93-110.

วิศรุดา ตีเมืองซ้าย และสุชาติ ทองแป้ง. การพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงของคลินิกพิเศษโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หน่วย บริการปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาล มหาสารคาม 2561; 15(2): 194-205.

Maureen MR., Jenny P., Kimberly D., Kathryn A. Community Program Improves Quality of Life and Self-Management in Older Adults with Diabetes Mellitus and Comorbidity. J Am Geriatr Soc. 2018; 66(2): 263-273.

จารุภัณฑ์ กุลเสถียร ภัทรพร เกียรติปานอภิกุล. เปรียบเทียบผลลัพธ์ระยะสั้นระหว่างการให้ความรู้และการจัดการตนเองที่ศูนย์เบาหวานกับระบบบริการตามปกติของคลินิกอายุรกรรมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารโรงพยาบาล เจริญกรุงประชารักษ์ 2565; 18(2): 13-30.

อานนท์ แก้วบำรุง. ประสิทธิผลของโปรแกรมระบบการดูแลผู้ป่วยโรค เบาหวานแบบไร้รอยต่อของคลินิกโรค เบาหวานโรงพยาบาลถลาง จังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11 2560; 31(4): 745-756.

อุดมโชค อินทรโชติ. ผลของการสนับสนุนการจัดการตนเองแบบมีส่วนร่วมของผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลนาฝาย อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร 2563; 40(1): 137-147.

อมรรัตน์ สุขเลิศ จินตนา จุลทรรศน์ และ สุภาพร ใจการุณ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนของหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ เขตสุขภาพที่ 10. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม 2562; 9(1): 92-99.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-08