การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทรัพยากรการแพทย์ฉุกเฉินของหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน ในจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ ชูคันหอม
  • ศักดา อินทะ

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีสารสนเทศ, ทรัพยากร, บริหารสถานการณ์ฉุกเฉินด้านการแพทย์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทรัพยากรการแพทย์ฉุกเฉินของหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินในจังหวัดขอนแก่น ดำเนินการระหว่าง มกราคม –ธันวาคม 2564  มีการพัฒนา 6 ขั้นตอน 1) รวบรวมความต้องการและวิเคราะห์ปัญหา โดยการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง 12 คน 2) ออกแบบและพัฒนาระบบต้นแบบเบื้องต้น 3) นำไปทดสอบแล้วเก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง 21 คน 4) วิเคราะห์ความต้องการและพัฒนาเพิ่มเติม 5) นำต้นแบบพร้อมใช้งานไปปรับใช้จริงในหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน 241 แห่ง แล้วสุ่มประเมินความพึงพอใจหลังจากใช้งาน กลุ่มตัวอย่าง 139 คน 6) บำรุงรักษา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วย สถิติ ร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วย สถิติ One-way ANOVA

                ผลการศึกษาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทรัพยากรการแพทย์ฉุกเฉินของหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน มีลักษณะเป็นเว็บแอพพลิเคชั่น บันทึกข้อมูลผ่าน Web browser แบบออนไลน์       (On line) เก็บข้อมูลสำคัญลงในฐานข้อมูลคือ ข้อมูลผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ข้อมูลรถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ข้อมูลบุคลากรเชี่ยวชาญด้านปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินและสาธารณภัย ข้อมูลทรัพยากรสนับสนุนปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์สาธารณภัย สามารถประมวลผลได้อย่างรวดเร็วแบบ Real Time ผู้ใช้งานเข้าถึงข้อมูลโดยการ Login ด้วย Username และ Password ตามระดับการเข้าถึง และสามารถเข้าถึงระบบรายงานโดยไม่ต้อง Login การประเมินความพึงพอใจหลังจากใช้งานพบว่าความพึงพอใจโดยรวมอยู่ระดับสูง เปรียบเทียบความพึงพอใจผู้ใช้งานในหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน ระดับ  ALS  BLS และ FR   พบว่าความพึงพอใจโดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p value =0.062)

References

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3.1 พ.ศ. 2562-2565. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ : อัลทิเมทพริ้นติ้ง ; 2562.

กองสาธารณสุขฉุกเฉิน. แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทางการแพทย์และการสาธารณสุข พ.ศ. 2563-2565. กรุงเทพ: อัลทิเมทพริ้นติ้ง; 2564.

กองสาธารณสุขฉุกเฉิน. แนวทางปฏิบัติ งานในการสนับสนุนการปฏิบัติงานใน ภาวะฉุกเฉิน สปฉ (Emergency Support Function: ESF) สปฉ.8: ส่วนงานการแพทย์ และสาธารณสุข. กรุงเทพ: อัลทิเมทพริ้นติ้ง; 2564.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. ประเด็น วิจัยด้านการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2556- 2559. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ จัดทำประเด็นวิจัยด้านการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2556-2559; 25 กันยายน 2555; โรงแรม แม่น้ำรามาดาพลาซ่า กรุงเทพมหานคร.

Bonnett CJ, Peery BN, Cantrill SV, Pons PT, Haukoos JS, McVaney KE, et al. Surge capacity: a proposed conceptual framework. Am J Emerg Med. 2007; 25(3): 297-306.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การสาธารณสุขไทย 2554-2558. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2554.

Rastogi V. Software Development Life Cycle Models Comparison, Consequences. Journal of Computer Science and Information Technologies. 2015; 6(1): 168-172.

Larman C., Basili V.R. Iterative and Incremental Development: A Brief History. Journal of the Computer Society. 2003; 36(6): 47–56.

ศิริชัย พงษ์วิชัย.การวิเคราะห์ข้อมูลทาง สถิติด้วยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย; 2555.

กฤดาภัทร สีหารี. การโปรแกรมบนเว็บ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ผลิตตำราเรียนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2557.

นลินี ศรีบุญเรือง, นริศร แสงคะนอง. การสร้างระบบการส่งข้อมูลทางการแพทย์ผ่านเว็บเซอร์วิสโดยใช้ HL7 V.3 กรณี ศึกษาโรงพยาบาลพญาไท 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 2554.

เพียรจิตต์ ภูมิสิริกุล, ปัทมา อนุมาศ, จิดาภา จารุสินธ์ชัย, อรพันธ์ พรรณประดิษฐ์. ผลของการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับบันทึกทางการพยาบาลผ่าตัดต่อคุณภาพบันทึกทางการพยาบาล ห้องผ่าตัดศัลยศาสตร์. รามาธิบดีพยาบาล สาร 2566; 19(2): 251-263.

ธีรินทร์ เกตุวิชิต, สุรศักดิ์ มังสิงห์. การพัฒนา ตัวแบบระบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการส่งต่อผู้ป่วยด้วย โปรแกรมไทยรีเฟอร์. Journal of the Thai Medical Informatics Association 2557; 13(1): 51-58.

Kadu V., Kadu C.P. A Study of Impact of Responsive Web Design in E-commerce Websites. IJARCCE. 2018; 7(2): 119-124.

Groth A., Haslwanter D. Perceived Usability, Attractiveness and Intuitiveness of Responsive Mobile Tourism Websites: A User Experience Study. Information and Communication Technologies in Tourism 2015; 26(2): 593-606.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-08