การประเมินผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอในจังหวัดมหาสารคาม ปีงบประมาณ 2565

ผู้แต่ง

  • อุดม บุบผาทาเต
  • สงัด เชื้อลิ้นฟ้า
  • รัชนีวิภา จิตรากุล

คำสำคัญ:

การประเมินผล, การพัฒนาคุณภาพชีวิต, คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงประเมินผลครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ในจังหวัดมหาสารคาม ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จำนวน 13 อำเภอๆ ละ 21 คน รวมทั้งหมด 273 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบตรวจสอบ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์  วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า ผลการประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้าและด้านกระบวนการเพื่อดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับสูง ส่วนผลการประเมินการพัฒนาคุณภาพชีวิต ภาพรวมระดับจังหวัดมีผลการดำเนินงานผ่านเกณฑ์เป้าหมายของตัวชี้วัด ร้อยละ 91.59 และพบว่าอำเภอแกดำมีผลการดำเนินงานผ่านเกณฑ์เป้าหมายตัวชี้วัดมากที่สุด ร้อยละ 97.20 ส่วนปัญหาการดำเนินงาน พบว่า 1) ความร่วมมือจากประชาชนในระดับครัวเรือน และระดับบุคคลยังไม่เพียงพอ 2) กรอบระยะเวลาในการปฏิบัติงานในระดับอำเภอ-ตำบล-หมู่บ้านมีระยะสั้น 3) ประสิทธิภาพในการกำกับและติดตามผลการดำเนินงานยังไม่มีประสิทธิภาพสูงสุด

References

กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. งานมหกรรมและพิธีมอบรางวัลพลังคน พชอ.ครั้งที่ 2 คุณภาพชีวิตวิถี ใหม่. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2565.

สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือประกอบการพิจารณาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนา คุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พ.ศ. 2561. กรุงเทพ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหาร ผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2561.

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พ.ศ. 2561. (2561, 9 มีนาคม). ราชกิจจา นุเบกษา. เล่ม 135.

กรมการปกครองและสำนักงานปลัด กระทรวง สาธารณสุข. คู่มือแนวทางการ ดำเนินงานตามระเบียบสำนักนายก รัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่พ.ศ. 2561. นนทบุรี: สำนักงาน บริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2561.

สำนักงานจังหวัดมหาสารคาม. แผนพัฒนาจังหวัดมหาสารคาม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. มหาสารคาม: สำนักงานจังหวัดมหาสารคาม; 2565.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. นโยบายและแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของจังหวัดมหาสารคาม ปีงบ ประมาณ พ.ศ. 2565. มหาสารคาม: สำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม; 2565.

Stufflebeam, Daniel L. The Relevance of the CIPP Evaluation Model for Educational Accountability. Atlantic City, N.J. ; 1971.

บุญมี พันธุ์ไทย. การวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคม ศาสตร์ 2565; 1(2): 1-10.

อดุลย์ บำรุง. ข้อเสนอแนะการพัฒนาสมรรถนะคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (พชอ.). วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2562; 1(1): 87-101.

ธงชัย ปัญญูรัตน์. ผลของรูปแบบการพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2565; 15(2): 133-144.

มานะ ภูมิพันธุ์. การประเมินผลการดำเนิน งานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) กรณีศึกษา: อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2564; 5(9): 140-153.

สุวรรณี แสนสุข, บรรจบ แสนสุข, รัฐพล อินทรวิชัย, ประเสริฐ ประสมรักษ์. การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนการดำเนิน งานป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของคณะ กรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จังหวัดยโสธร. วารสารสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2565; 4(2): 99-113.

พันมหา ลดาพงษ์. รูปแบบการดำเนินงานดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์โดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2562; 1(1): 37-50.

วงเดือน พระนคร, พิชญ์สินี แสนเสนยา, อรรถพล ศรีประภา. การสร้างธรรมนูญสุขภาพสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบบูรณาการ. วารสารสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น 2564; 3(2): 253-268.

เดชา แซ่หลี, ชิตสุภางค์ ทิพย์เที่ยงแท้, ชาลีมาศ ตันสุเทพวีรวงศ์, ทัศนีย์ ญาณะ (บรรณาธิการ). การขับเคลื่อนระบบสุขภาพระดับอำเภอ (รสอ.) District Health System (DHS) ฉบับประเทศไทย. นนทบุรี: โครงการ การพัฒนากลไกสนับสนุนเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอเพื่ออำเภอสุขภาวะ มูลนิธิแพทย์ชนบทภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2557

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. มาตรฐานระบบสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System Standards). กรุงเทพฯ: สถาบันรับรองคุณภาพสถาน พยาบาล; 2563.

กฤษดา แสวงดี, เกษร คงแขม, สุภาเพ็ญ ปาณะวัฒนพิสุทธิ์, จันพิมา นวะมะวัฒน์, วิภาพร สิทธิสาตร์, อนงค์ลักษณ์ พันธุ์พรหมธาดา. การศึกษาการเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2559; 25(5): 854-864.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-08