การพัฒนาสถานประกอบการปลาส้มต้นแบบให้ปลอดภัยและได้มาตรฐาน GMP โดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
มะเร็งท่อน้ำดี, เศรษฐกิจฐานราก, พระราชบัญญัติอาหาร, มาตรฐานการผลิตผลิตภัณฑ์บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนาแนวทางการประกอบกิจการผลิตปลาส้มต้นแบบให้ปลอดภัยและได้มาตรฐาน GMP และผลของการพัฒนาโดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น ให้มีความปลอดภัยปราศจากไข่พยาธิและสารปนเปื้อนที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีอย่างยั่งยืน กลุ่มเป้าหมาย คือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนต้นแบบจำนวน 10 คน (5 แห่ง) และคณะทำงานขับเคลื่อนอาหารปลอดภัยปลาปลอดพยาธิ จำนวน 10 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ แบบสำรวจสถานประกอบการ แบบสอบถามแนวทางการพัฒนา แบบประเมินการมีส่วนร่วม ระยะเวลาดำเนินการ มกราคม - ธันวาคม 2565 วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการ ศึกษาก่อนการพัฒนาสถานที่ผลิตปลาส้มในจังหวัดขอนแก่น 45 แห่ง มีความพร้อมในการผลิตตามมาตรฐาน GMP 5 แห่ง และตรวจพบเชื้อ Salmonella spp. เกินกว่าที่มาตรฐานกำหนดทุกแห่ง ได้แนวทางในการพัฒนา ขับเคลื่อนด้วยกลไกจัดตั้งเทศบัญญัติ โดยผู้นำท้องถิ่นเป็นผู้ขับเคลื่อนนโยบายผ่านองค์กรหลัก 7 องค์กรอย่างเป็นรูปธรรม แต่ละองค์กรมีบทบาทหน้าที่ดังนี้ 1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำเทศบัญญัติตำบลควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประเภทการผลิตอาหารหมักดอง 2) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น จัดกิจกรรมเชิงรุกตรวจไข่พยาธิในอุจจาระและตัวอ่อนพยาธิในปลา 3) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นพัฒนาการผลิตมาตรฐาน GMP 4) ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่นพัฒนามาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร 5) ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 7 ขอนแก่น ตรวจมาตรฐานการปนเปื้อนจุลินทรีย์เชื้อก่อโรคในผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป 6) สถาบัน การศึกษาพัฒนาเทคโนโลยี 7) กรมการพัฒนาชุมชนส่งเสริมการแปรรูปสิ่งปฏิกูล หลังการพัฒนาสถาน ประกอบการต้นแบบทั้ง 5 แห่งผ่านการรับรองมาตรฐาน GMP การมีส่วนร่วมด้านการรับประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด โดยความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
รุ่งฤดี ชัยธีรกิจ. บทที่ 9 ระบาดวิทยาและปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งท่อน้ำดี. กรุงเทพฯ : บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด; 2561: 177-193.
อาคม ชัยวีระวัฒนะ, เสาวคนธ์ ศุกรโยธิน, อนันต์ กรลักษณ์ และ ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ. แนวทางการตรวจคัดกรองวินิจฉัยและ รักษาโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2554.
ทรงศักดิ์ ลิตา และคณะ. นิสัยการบริโภค ปลาของประชาชน: กรณีศึกษา บ้านชีวัง แคน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น. การประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 11, วันที่ 12-15 สิงหาคม 2546, ณ โรงแรม รอยัล คลิฟบีช รีสอร์ท จังหวัดชลบุรี
กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนิน งานโครงการกำจัดพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชเสด็จขึ้นครองราชย์ครบ 70 ปี ในพุทธศักราช 2559 พร้อมทั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงเจริญ พระชนมพรรษา 84 พรรษา ตาม ยุทธศาสตร์ ทศวรรษการกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ปี 2559- 2568. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2559.
กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ขอนแก่น. รายการสินค้าที่ขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดขอนแก่น ปี 2564. ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น; 2564
กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ขอนแก่น. รายงานการสำรวจสถานประกอบ การผลิตอาหาร รายปี 2564. ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข; 2564
พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 . (2522, 8 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 96 ตอนที่ 79 ก. หน้า 1-16.
ชวัลญ์ญา รัตนพิทูลย์, ณัธคพัชฬ รัตนพิทูลย์. ผลิตภัณฑ์ปลาส้มสมุนไพรไทยไร้พยาธิ ปราศจากสารก่อมะเร็ง อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ. [อินเทอร์ เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 16 พฤษภาคม 2565. เข้าถึงได้จาก: http://www.thai-explore.net/file_upload/submitter/file_upload//xqmtfnaCVKtX3BuQ9Po3db777d9.pdf.
Sokovic M, Pavletic D, Pipan K. Quality improvement methodologies-PDCA cycle, RADAR matrix, DMAIC and DFSS. Journal of achievements in materials and manufacturing engineering 2010; 43(1): 476-483
กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ขอนแก่น. รายงานการสำรวจกระบวนการขออนุญาตผลิตอาหารตามมาตรฐานหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต (GMP) ประเภทอาหารหมักดองปลาส้ม. ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น; 2564.
ทิพย์กมล ภูมิพันธ์ อุไรวรรณ อินทร์ม่วง. สุขลักษณะของการประกอบกิจการผลิตปลาร้าและปลาส้ม ในอำเภอหนึ่ง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัย ขอนแก่น 2559; 16(2): 75-85.
ธิดารัตน์ บุญมาศ และ เบญจมาภรณ์ พุ่มหิรัญโรจน์. การสำรวจการติดพยาธิใบไม้ตับในวงศ์ปลาตะเพียน ภายใต้โครงการแก้ปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ (CASCAP). จุลสารศูนย์ประสานงานพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี 2560; 2(7): 7
สุรศักดิ์ อุดมศิลป์. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารของเทศบาลตำบลบะยาว อำเภอวังสามหมอ จังหวัด อุดรธานี. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา 2563; 10(2): 46-56.
สุปราณี ศรีดอกคำ. การศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเทศบาลตำบลนครหลวง จังหวัดพระ นครศรีอยุธยา [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต]. อยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรี อยุธยา; 2560.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว