ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพยายามฆ่าตัวตาย และปัจจัยความสำเร็จของการดำเนินงานการป้องกันการฆ่าตัวตายในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
ปัจจัยการพยายามฆ่าตัวตาย , ปัจจัยความสำเร็จ , การป้องกันการฆ่าตัวตายบทคัดย่อ
การวิจัยแบบผสมผสานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยปกป้องการฆ่าตัวตาย และปัจจัยความสำเร็จของการดำเนินงานป้องกันการฆ่าตัวตายในพื้นที่ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้มีประวัติพยายามฆ่าตัวตาย จำนวน 48 คน บุคลากรสุขภาพ จำนวน 8 คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และผู้นำชุมชน จำนวน 12 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยปกป้องการฆ่าตัวตาย และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยนำที่พบมากที่สุดได้แก่ การใช้สารเสพติดอย่างต่อเนื่อง และการเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวช ปัจจัยกระตุ้นที่พบมากที่สุดได้แก่ การใช้สารเสพติดหรือสุรา การประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ และเหตุการณ์วิกฤตในชีวิตครอบครัว ปัจจัยที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายยังมีความคิดอยากตาย ได้แก่ การประสบปัญหาเศรษฐกิจและการงาน ส่วนปัจจัยปกป้องการฆ่าตัวตาย ได้แก่ การมีวิธีจัดการอารมณ์อย่างเหมาะสม และการประคับประคองจิตใจจากครอบครัว และปัจจัยความสำเร็จของการดำเนินงานในการป้องกันการฆ่าตัวตายได้แก่ การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกระดับผ่านกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ การดำเนินงานของทีม 3 หมอที่เพิ่มเติมนักจิตวิทยา และการใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายเพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย
References
World Health Organization. Suicide in the world. In Global Health Estimates. [Internet]. 2021 [Cited 2023 May 12]. Available from: https://www.who.int/teams/mental-health-and-substance-use/suicide-data.
ศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ. รายงานสถิติการฆ่าตัวตาย. [Internet]. 2564 [Cited 2566 กุมภาพันธ์ 18]; Available from: https:// www.suicidethai.com.
สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดลำปาง. สถิติประชากรจังหวัดลำปาง. [Internet]. 2566 [Cited 10 มีนาคม 2566]. Available from: https://hdcservice. moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=ac4eed1bddb23d6130746d62d2538fd0.
พรรณวิไล วิริยะ และกิตติพร เนาว์สุวรรณ. สถานการณ์โรคซึมเศร้าในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงใน อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560; 4 (Special Issue) : 1-18.
New Zealand Guidelines Group (NZGG) and Ministry of Health. Best practice evidence- best guidelines the assessment and management of people at risk of suicide. [Internet]. 2008 [Cited 2023 Feb 10]; Available from: https://www.health. govt.nz/system/files/documents/ publications/suicide_guideline.pdf
อภิชัย มงคล และคณะ. การป้องกันการฆ่าตัวตายในภาคเหนือตอนบน: ปัจจัยด้านวัฒนธรรม. เชียงใหม่ :มหาวิทยาลัย เชียงใหม่; 2550.
มาโนช หล่อตระกูล และคณะ. จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน. รายงานผลการดำเนินงานด้านสุขภาพจิต ประจำปีงบประมาณ 2564. [อินเทอร์เน็ต].2564. [เข้าถึงเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก:http://www.lamphunhealth.go.th/
web_ssj/webmanager/uploads/2021-06-040944591.%20%E0%B8%99%E0.
ปรารถนา คำมีสีนนท์, พรดุสิต คำมีสีนนท์, จิตภินันท์ โชครัศมีหิรัญ, เอมหทัย ศรีจันทร์หล้า, สุนันทา คำชมพู และวัชรีวัลย์ เสาร์แก้ว. การศึกษาปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยปกป้องของผู้พยายามฆ่าตัวตายในเขตบริการสุขภาพที่ 7. วารสารป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งประเทศไทย.2563; 1 (1) :25-40.
Hamermesh D, Soss NM. An economic theory of suicide. Journal of Political Economy 1974; 82(1): 83-98.
วราภรณ์ ประทีปธีรานันต์. อัตราการฆ่า ตัวตายและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมฆ่าตัวตาย โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช 2557; 28(3): 90-103.
Sukhawaha S, Arunpongpaisal S. Risk factor and suicide theory associated with suicide in adolescents. Journal of Psychiatric Association 2017; 62(4): 359-78.
อนุพงษ์ คำมา. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายสำเร็จ : กรณีศึกษาจังหวัดสุโขทัย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2556; 58(1): 3-16.
Song JY, Yu HY, Kim SH, Hwang SS, Cho HS, Kim YS, Ha K, Ahn YM. Assessment of risk factors related to suicide attempts in patients with bipolar disorder. The Journal of nervous and mental disease 2012; 200(11): 978-84.
Kim HS, Kim HS. Risk factors for suicide attempts among Korean adolescents. Child Psychiatry Hum Dev 2008; 39: 221-35.
Bridge JA, Golstein TR, Brent DA. Adolescent suicide and suicidal behavior. Journal of child psychology and psychiatry 2006; 47(3/4): 372-94.
สมบูรณ์ หทัยอยู่สุข และสุพร อภินันทเวช. การฆ่าตัวตายของวัยรุ่นในประเทศไทย : อุบัติการณ์ สาเหตุ และการป้องกัน. เวชบันทึกศิริราช 2563; 13(1) : 40-47.
เดชา ลลิตอนันต์พงศ์. ภาวะฉุกเฉินทางจิตเวชศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561.
World Health Organization. Preventing suicide: a community engagement toolkit. [Internet]. 2020.[cited 2020 January 22]. Available from: https://apps.who. int/iris/handle/10665/272860.
ฉวีวรรณ สัตยธรรม, แผ จันทร์สุข และ ศุกร์ใจ เจริญสุข. การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข; 2556.
นงคราญ คชรักษา และ ศรีประไพ อินทร์ชัยเทพ. การพัฒนารูปแบบการป้องกันการฆ่าตัวตายโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดลำปาง. วารสารแพทย์นาวี 2563; 47(2) : 446-463.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว