การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยนอกสู่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลตามรูปแบบบริการวิถีใหม่ โรงพยาบาลสีชมพู จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
เทคโนโลยีดิจิทัล, บริการวิถีใหม่, การเข้าถึงบริการ, การรับรู้ ความคาดหวังบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยนอก พัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยนอกสู่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลตามรูปแบบบริการวิถีใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรในโรงพยาบาล จำนวน 60 คน ผู้ใช้บริการ จำนวน 380 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดย แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ สถิติ Paired t-test 95% confidence interval และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ด้านความปลอดภัย ผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจรับบริการปะปนกับผู้ป่วยทั่วไป ผู้ป่วยเร่งด่วนได้รับบริการล่าช้า ความแออัดที่บริเวณบริการ ระยะเวลารอคอยเฉลี่ยต่อคนนาน รูปแบบการพัฒนา ประกอบด้วย 3 ระยะ 1) ระยะ Pre-Hospital : การบริการการแพทย์ทางไกลในชุมชนลดความแออัดในโรงพยาบาล 2) ระยะ In-Hospital: One Stop Service and Lean process ลดระยะรอคอยแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ ระบบตรวจสอบคิวผ่านมือถือ และการแจ้งเตือนด้วยเครื่องติดตามตัวไร้สาย การคัดแยกผู้ป่วย (Triage) และการดูแลขณะรอตรวจ 3) ระยะ Post-Hospital: การนัดหมายแบบเหลื่อมเวลา Telemedicine, Tele pharmacy, Line Application การจัดบริการส่งยาทางไปรษณีย์ การพัฒนาพฤติกรรมบริการสู่ความเป็นเลิศ ผู้รับบริการให้คะแนนความพึงพอใจบุคลากรผ่าน QR code รายบุคคล ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาพบว่า ผู้ใช้บริการและบุคลากรมีความพึงพอใจก่อนและหลัง ด้านความปลอดภัย ลดความแออัด เข้าถึงบริการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value<0.05)
References
สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. เดินหน้า Smart Hospital ตามนโยบาย Thailand 4.0. [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2563]. เข้าถึงได้จากhttps://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/04/119047/
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. แผนยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2564. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 22 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.kkpho.go.th/planyut/แผนยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดขอนแก่น2564
หน่วยงานนโยบายและยุทธศาสตร์ ความมั่นคง สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. สาระน่ารู้ทางการแพทย์. การแพทย์วิถีใหม่ (New Normal of Medical Service). [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://opsd.mod.go.th/Content/PDF/%E0%B8%AA-%E0%B8%84.aspx
Thai PBS. สธ.ผลักดัน "การแพทย์วิถีใหม่" สร้างความปลอดภัย-ลดความแออัด. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://news.thaipbs.or.th/content/
สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2564
กรมการแพทย์: กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการจัดตั้งคลินิกตรวจโรคระบบทางเดินหายใจ ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 22 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://sbo.moph.go.th/sbo/covid.php
สำนักวิชาการการแพทย์. MOPH ED. Triage: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. นนทบบุรี; 2561
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติการปรับรูปแบบบริการการบริการดูแลรักษาผู้ป่วยนอก (OPD) ในสถานการณ์การระบาดของ COVID-19. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 23 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.dms.go.th/
backend///Content//Content_File/Covid_Health/Attach/25631105220235PM_1.New%20normal%20OPD.pdf
Kemmis S, Mc Taggart R. The action research planner. 3rd ed. Geelong: Deakin University; 1998
สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. เอกสารสรุปองค์ความรู้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (การบริหารจัดการองค์การโดยปราศจากความสูญเปล่าด้วยแนวคิดแบบ Lean) ครั้งที่ 1/2563. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 22 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.psdg.
moi.go.th/opdc/opdc/news_all.php
กรณิภา คงยืน. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการแบบลีนกับประสิทธิผลของการนัดหมายผู้ใช้บริการ ของแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต], สาขาวิชาการจัดการ โลจิสติกส์, คณะบัญชี ธุรกิจและมัลติมีเดีย: มหาวิทยาลัยคริสเตียน. [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 22 มกราคม 2564] เข้าถึงได้จาก http://library.christian.ac.th/thesis/document/T036390.pdf
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ 2564. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 22 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://it-phdb.moph.go.th/smarthospital/assets/img/smarthospital.pdf
เมธาวิทย์ ไชยะจิตรกำธร. การนำทฤษฎีทางการพยาบาลต่าง ๆ มาใช้ในการดูแลสุขภาพ. ศาสตร์พยาบาลและสาธารณสุข. [อินเตอร์เน็ต]. 11 กรกฎาคม 2556 [เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://methawitpublichealth.blogspot.com
มะลิวรรณ อังคณิตย์, เรวดี สมทรัพย์, บุษบา วงค์พิมล. รูปแบบการพัฒนาคุณภาพระบบบริการพยาบาลโดยกระบวนการ มีส่วนร่วมของกลุ่มงานวิจัยและพัฒนาการพยาบาล โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2563; 38(1): 107-116
กรณิภา คงยืน และพรนภา เพชรไทย. การลดระยะเวลารอคอยตรวจแพทย์. การประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่องการแพทย์ผสมผสานและงานวิจัยเชิงประยุกต์ในหน่วยงาน. วันที่ 2 เมษายน 2556 : 275-291.
ไพรฑูรย์ ทิ้งแสน และอารีย์ นัยพินิจ. การกำหนดแนวทางการลดระยะเวลาการรอคอยการให้บริการตรวจโรคทั่วไปของโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2563; 10(1): 59-72
สถาบันราชานุกูล. ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการใช้ระบบคัดกรองความเร่งด่วนในแผนกผู้ป่วยนอกสถาบันราชานุกูล. [อินเตอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 25 มกราคม 2564]; เข้าถึงได้จาก https://th.rajanukul.go.th/_admin/file-research/213-0-1611722564.pdf
มยุรี มานะงาน. ผลของการใช้แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความฉุกเฉิน งานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจักราช อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2563; 34(3): 52-65
กรมสุขภาพจิต. การแพทย์ทางไกล. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2564]; เข้าถึงได้จาก https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2389
รองศาสตราจารย์อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพมหานคร: บริษัท ส. เอเชียเพรส (1990) จำกัด; 2558
World Health Organization: Thailand. การควบคุมและป้องกันการติดเชื้อระหว่างการให้การดูแลในสถานบริการสาธารณสุข เมื่อพบผู้ต้องสงสัยป่วยเป็นโรคโควิด-19. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 22 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.who.int/docs/default- source/searo/thailand/ipcwhen-covid-19-is-suspected-thai-final-final.pdf?sfvrsn=6256f5cf_0
สุนทร บุญบำเรอ. ศึกษาพฤติกรรม ความรู้ และทัศนคติความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาล.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 2557; 20(2): 82-92
ปวีณา ฐานวิเศษ, กานต์ชนิต เยือกเย็น, จันทร์เพ็ญ กลุหกลู, ขนิษฐา ศรีเงินยวง, เบญจมาภรณ์ อยู่ชัย. การพัฒนาคุณภาพเรื่อง IC for patient safety. วารสาร โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. 2563; 5(3): 71-73
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว