การพยาบาลผู้ป่วยเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น ที่มีภาวะช็อค

ผู้แต่ง

  • เฉลิมศรี แสงจันทร์ โรงพยาบาลอ่างทอง

คำสำคัญ:

การพยาบาล, เลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น, ภาวะช็อคจากการเสียเลือด

บทคัดย่อ

          ภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้นร่วมกับมีภาวะช็อคจากการเสียเลือด เป็นภาวะฉุกเฉินทางศัลยกรรมที่เป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้จากการเสียเลือดอย่างรวดเร็ว จนเกิดภาวะช็อค การวินิจฉัยรวมทั้งการรักษา และการพยาบาลที่ถูกต้องรวดเร็วเหมาะสม จะทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะช็อคและลดอัตราการเสียชีวิตได้  วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้นร่วมกับมีภาวะช็อคจากการเสียเลือด วิธีการดำเนินงานเป็นการศึกษากรณีศึกษาผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย โรงพยาบาลอ่างทอง ในช่วงเดือน พฤศจิกายน 2565 จำนวน 1 ราย จากการศึกษาจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน การซักประวัติ การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ รวมทั้งการสังเกตแบบมีส่วนร่วม พบว่า ผู้ป่วยชายไทย  อายุ 88 ปี รับ Refer จากโรงพยาบาลโพธิ์ทอง ด้วย 1 วันก่อนมาโรงพยาบาลผู้ป่วยถ่ายดำ และอาเจียนเป็นสีดำ ขณะรับการรักษาผู้ป่วยมีอาเจียนเป็นสีดำ 2 ครั้งและถ่ายดำ   2 ครั้ง หายใจเหนื่อยหอบ  แพทย์วินิจฉัยโรค เลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้นร่วมกับมีภาวะช็อคจากการเสียเลือด   ได้รับการรักษาโดยใส่ท่อช่วยหายใจ ให้เลือด  ให้สารน้ำปริมาณมากทางหลอดเลือดดำอย่างรวดเร็ว  และได้รับการส่องกล้องพบ Acute Gastric Ulcer Bleeding With Multiple Clean Based Ulcer all over stomach พยาบาลมีการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินเพื่อให้สอดคล้องกับแผนการรักษา เพี่อลดภาวะแทรกซ้อนและให้ผู้ป่วยปลอดภัย จากกรณีศึกษา ผู้ศึกษาได้ใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดใน 3 ระยะของการดูแลผู้ป่วย คือ ระยะวิกฤต ระยะการดูแลต่อเนื่อง และระยะการวางแผนจำหน่าย ทำให้เห็นกระบวนการดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤติอย่างใกล้ชิดของพยาบาล ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัย

References

ประกาย จันมี. การพยาบาลผู้ป่วยเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นที่รักษาด้วยการส่องกล้อง: กรณีศึกษา.ชัยภูมิเวชสาร. 2019; 39(2): 72-80.

ชัชวาลย์ วงศ์จิตรัตน์, นัฏกานต์ วงศ์จิตรัตน์. สาเหตุของภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้นในโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร. Journal of Medicine and Health Sciences. 2013; 20(1): 46-52.

งานสถิติฝ่ายวิชาการและแผนงาน โรงพยาบาลอ่างทอง.สถิติผลการปฏิบัติงานโรงพยาบาลอ่างทอง. 2565.

สมาคมแพทย์ส่องกล้องทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย. แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นในประเทศไทย. [อินเทอร์เน็ต] .2557. [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://thaitage.org/source/content-file/content-file-id-6.pdf.

ขนิษฐา รักษาเคน, สุพัตรา บัวที. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่มีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น. J Sci Technol MSU. 2017 ; 36(3): 377 -382.

นภชนก รักษาเคน. การดูแลผู้ป่วยที่มีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น: บทบาทของพยาบาลในการป้องกันเลือดออกและเลือดออกซ้ำ. วารสารการพยาบาลและการดูสุขภาพ. 2562; 37(3): 13-19.

บุษยารัตน์ ลอยศักดิ์, วัลภา คุณทรงเกียรติ, และภาวนากีรติยุวงศ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559; 24(1) 51-64.

สุรีย์พร บุญเรือง, ปิยะนุช พรหมสาขา ณ สกลนคร. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นโรงพยาบาลหนองบัวลำภู. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล. 2563; 5(2): 1-15.

สุกานดา ตีพัดดี. กรณีศึกษา: การพยาบาลผู้ป่วยเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้นที่มีภาวะช็อกร่วมกับภาวะแทรกซ้อน โรงพยาบาลกาฬสินธุ์.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2563; 13 (2):135-144.

อัสนี ทองอยู่. Upper Gastrointestinal Bleeding. [อินเทอร์เน็ต] .2561. [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://www.med.tu.ac.th/department/surgery/wp-content/uploads/sites/3/2018/11/Surgical-Aspect-of-UGIB.pdf.

ปาร์รามอง. กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊ค พับบลิเคชั่น; 2559.

เสาวลักษณ์ ทำมาก. การพยาบาลผู้ที่มีการติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร. [อินเทอร์เน็ต] .2559. [เข้าถึงเมื่อ 24 กันยายน 2566]; เข้าถึงได้จาก: http://www2.kcn.ac.th/kcn/mis/file/web/news/20160912-151634.pdf.

อมรวรรณ มาแสง. การพยาบาลผู้ป่วยโรคเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนบน(UGIB) ที่มีภาวะช็อกและหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน: กรณีศึกษา. ชัยภูมิเวชสาร. 2014; 34(1): 15-27.

อนงค์ คำบุตตา. กรณีศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้นเฉียบพลันร่วมกับภาวะช็อคจากการเสียเลือด กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2561; 15(3):187-197

อรพรรณ บุญลือ, เขมารดี มาสิงบุญ, วัลภา คุณทรงเกียรติ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการเกิดเลือดออกซ้ำ ในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2562; 30(1): 125-126

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19