การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อซิฟิลิส: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย ณ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ลักขณา ออดินาร์ด โรงพยาบาลเขาสวนกวาง

คำสำคัญ:

หญิงตั้งครรภ์, ซิฟิลิส, การพยาบาล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อซิฟิลิสตามทฤษฎีการปรับตัวของรอยโดยใช้กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากการสัมภาษณ์หญิงตั้งครรภ์และการสืบค้นเวชระเบียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล ประวัติการเจ็บป่วยจากเวชระเบียน และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์รายข้อเท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า หญิงตั้งครรภ์ อายุ 23 ปี และ 28 ปี ทั้งสองรายได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซิฟิลิสระยะแฝง กิจกรรมการพยาบาล ที่ช่วยให้หญิงตั้งครรภ์ปรับตัวต่อสิ่งเร้าด้านร่างกาย อัตมโนทัศน์ บทบาทหน้าที่ และการพึ่งพาระหว่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ 1) กิจกรรมการให้ความรู้เรื่องโรคผ่านกระบวนการให้คำปรึกษา เพื่อลดความวิตกกังวล เรื่องผลกระทบของโรคต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ รวมทั้งสัมพันธภาพ ในครอบครัว 2) กิจกรรมการพยาบาลเพื่อป้องกันอันตรายจากอาการแพ้ยาเพนนิซิลลินรุนแรง และปฏิกิริยาจาริช-เฮิกซัยเมอร์ 3) การเปิดโอกาสให้หญิงตั้งครรภ์เลือกวิธีบรรเทาอาการเจ็บปวดจากการฉีดยา 4) การได้รับแรงสนับสนุนจากครอบครัวให้ปฏิบัติตนระหว่างการตั้งครรภ์อย่างถูกต้อง และ 5) การติดตามคู่เพศสัมพันธ์มารับการรักษาให้ครบทุกคน ประเมินผลการพยาบาล หญิงตั้งครรภ์ทั้งสองรายคลอดปกติ ครบกำหนด ทารกไม่มีอาการ และอาการแสดงของการติดเชื้อซิฟิลิสแต่กำเนิด ดังนั้น คลินิกรับฝากครรภ์อาจนำทฤษฎีการปรับตัวของรอยไปช่วยให้พยาบาลสามารถประเมินปัญหา ระบุปัญหา กำหนดเป้าหมาย ปฏิบัติการพยาบาล และประเมินผลการพยาบาลได้

References

วรางคณา มั่นสกุล. การติดเชื้อซิฟิลิสและเอชไอวี. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง. 2559; 60(2): 147–158.

World Health Organization. Sexually transmitted infections (STIs). [Online]. 2022 [cited 5 October 2023]; Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/

sexually-transmitted-infections-(stis)

กลุ่มพัฒนาระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคเอดส์ วัณโรค ไวรัสตับอักเสบและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ภาพรวมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 7 โรค ประเทศไทย. [ออนไลน์]. [สืบค้น 5 ตุลาคม 2566]; จาก http://aidsboe.moph.

go.th/aids_system/

Schlueter A, Doshi U, Garg B, Hersh A-R, Caughey A-B. Adverse pregnancy outcomes associated with maternal syphilis infection. J Matern Fetal Neonatal Med. 2022; 35(25): 5828–5833.

Gao J, Chen X, Yang M, Wu Y, Liang T, Li H, Xie W. Adverse pregnancy outcomes and associated risk factors among pregnant women with syphilis during 2013–2018 in Hunan, China. Front. Med. 2023; 10(1207248): 1-8.

Lendado T-A, Tekle T, Dawit D, DagaID W-B, Diro C-W, Arba M-A, Tekle T. Determinants of syphilis infection among pregnant women attending antenatal care in hospitals of Wolaita zone, Southern Ethiopia. PLoS ONE. 2020; 17(6): e0269473.

Thornton C, Chaisson L-H, Bleasdale S-C. Characteristics of Pregnant Women with Syphilis and Factors Associated with Congenital Syphilis at a Chicago Hospital. Open Forum Infectious Disease. 2022; 9(5): ofac169.

Carlson J-M, Tannis A, Woodworth K-R, Reynolds M-R, Shinde N, Anderson B, et al. Substance Use Among Persons with Syphilis During Pregnancy - Arizona and Georgia, 2018-2021. MMWR Morb Mortal Wkly Rep. 2023; 72(3): 63-67.

อดิศักดิ์ ไวเขตการณ์. ผลลัพธ์การตั้งครรภ์ของมารดาและทารกในสตรีตั้งครรภ์ที่เสพสารเมทแอมเฟตามีนระหว่างตั้งครรภ์. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2564; 18(2): 105-112.

Roy C. The Roy adaptation model. New Jersy: Pearson Australia; 2008.

พิมลพรรณ ต่างวิวัฒน์. คู่มือการฝากครรภ์สำหรับบุคลากรสาธารณสุข. นนทบุรี: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2565.

Befekadu B, Shuremu M, Zewdie A. Seroprevalence of syphilis and its predictors among pregnant women in Buno Bedele zone, southwest Ethiopia: a community-based cross-sectional study. BMJ Open. 2022; 12(e063745): 1–10.

พัชณี สมุทรอาลัย, และ ฐิติพันธ์ อัครเสรีนนท์. การพยาบาลผู้ป่วยซิฟิลิสที่เกิดปฏิกิริยาจาริช-เฮิร์กไซเมอร์จากการใช้ยาเบนซาทีน เพนนิซิลลิน จี: กรณีศึกษาในคลินิกพิเศษกามโรค สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2565; 18(1): 107–120.

ณัฏยา อ่อนผิว, พรรณยุพา เนาว์ศรีสอน, และ พยอม สินธุศิริ. สตรีตั้งครรภ์ติดเชื้อซิฟิลิส : บทบาทพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก. 2563; 21(3): 1–10.

ชนากานต์ เกิดกลิ่นหอม. คู่มือการพยาบาล สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโรคซิฟิลิส. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. 2563.

ชาญฤทธิ์ พงศ์พัฒนาวุฒิ. ความชุกและปัจจัยที่ส่งผลลัพธ์ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน จากการตั้งครรภ์ในมารดาที่ติดเชื้อซิฟิลิสในโรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารกรมการแพทย์. 2564; 46(4): 59–66.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30