การพยาบาลผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST segment ยกขึ้น (STEMI) และการเลิกสูบบุหรี่: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • อัมพวัน สีหวัฒนะ โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพยาบาล ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST segment ยกขึ้น (STEMI), การเลิกบุหรี่

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบ ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาล และผลลัพธ์การพยาบาลในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST segment ยกขึ้น (STEMI) และการเลิกบุหรี่ที่มารับบริการที่คลินิกฟ้าใส งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลขอนแก่น จำนวน 2 ราย ศึกษาในช่วงเดือน มกราคม 2566 –สิงหาคม 2566 เครื่องมือ ที่ใช้ประกอบด้วยเวชระเบียน การซักประวัติผู้ป่วยและญาติ ร่วมกับการสังเกตและสัมภาษณ์ การใช้กระบวนการพยาบาล ใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน ผลการศึกษา ผู้ป่วยรายที่ 1 ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST segment ยกขึ้น (STEMI) ที่รับการรักษาด้วยการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ และใส่ขดลวดหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรค คือ สูบบุหรี่ 30 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 30 ปี ผลการรักษา ไม่มีภาวะแทรกซ้อน เลิกบุหรี่ได้สำเร็จ ส่วนผู้ป่วยรายที่ 2 ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST segment ยกขึ้น (STEMI) ที่รับการรักษาด้วยการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจและใส่ขดลวดหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรค คือสูบบุหรี่ 20-30มวน/วัน สูบบุหรี่มานาน 29 ปี ผลการรักษาดี ผู้ป่วยไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้ เนื่องจากผู้ป่วยมีความเครียดสูง ต้องพึ่งพาบุหรี่ ซึ่งเป็นความท้าทายที่พยาบาลต้องสามารถประเมินผู้ป่วยได้ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณและสังคม และหาแรงจูงใจเพื่อวางแผนกำกับ ให้คำปรึกษาการเลิกบุหรี่โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และติดตามผู้ป่วยในการเลิกบุหรี่ให้สำเร็จ ให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการวางแผนบำบัดบุหรี่และให้กำลังใจ เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัว มีคุณภาพชีวิตที่ดี ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ ควรนำไปพัฒนามาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ในการเลิกบุหรี่

References

World Heart Federation. About World Heart Day 2014 [internet]. 2014 [cited 2023 June 29]. Available from: https://world-heartfederation.org/?id=123

Ambuj Roy., et al. Tobacco and Cardiovascular Disease: A Summary of Evidence. National Library of Medicine, [serial online] 2012 [cited 2023 December 1] Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK525170/

กรองจิต วาทีสาธกกิจ. ถนนปชต การส่งเสริมการเลิกบุหรี่ในงานประจำ. (พิมพ์ครั้งที่ 7)กรุงเทพฯ: มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่; 2554

ประกิต วาทีสาธกกิจ. ก้าวต่อไปของมูลนิธิรณรงค์ เพื่อการไม่สูบบุหรี่ (อินเทอร์เน็ต).2559 [เข้าถึงเมื่อ 2 ก.ค. 2565]; เข้าถึงได้จาก http://www.ashthailand.or.th/content_ attachment/2559.

ประภาพร ดองโพธิ์, นรลักษณ์ เอื้อกิจ. ปัจจัยทำนายการเลิกสูบบุหรี่ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 2566;19(2): 315-323.

ณันฑิยา คารมย์, สุนิดา ปรีชาวงษ์. ปัจจัยทำนายการเลิกสูบบุหรี่ในระยะสั้นในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง.พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2558;42(1):1-11.

อรนันท์ หาญยุทธ. กระบวนการพยาบาลและการนําไปใช้. วารสารพยาบาลทหารบก 2557; 15(3): 137- 143.

พรศิริ พันธสี. กระบวนการพยาบาล&แบบแผนสุขภาพ: การประยุกต์ใช้ทาง คลินิก. (พิมพ์ครั้งที่21). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด พิมพ์อักษร; 2561.

อรสา พนธ์ภักดี. กระบวนการพยาบาล: การให้คำแนะนำการช่วยเลิกบุหรี่. วารสารพยาบาล 2556; 62 (1): 65-70.

ผกามาศ สุฐิติวนิช. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สูบบุหรี่รับบริการในคลินิกอดบุหรี่ โรงพยาบาลชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร. 2561 ;38(2): 24-35.

สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา, รณชัย คงสกนธ์. บุหรี่และยาสูบ พิษภัย การดูแล รักษา และการป้องกัน (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2556). กรุงเทพมหานคร: สินทวีกิจพริ้นติ้ง. 2556

อารยา ทองผิว และคณะ. คู่มือเวชปฏิบัติสำหรับการบำบัดโรคเสพยาสูบในผู้ป่วยโรคเรื้อรังในประเทศไทย.กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลสหประชาพาณิชย์; 2559:134-150.

สุปาณี เสนาดิสัย, สุรินธร กลัมพากร. บุหรี่กับสุขภาพ: เครือข่ายพยาบาลเพื่อการควบคุมยาสูบแห่งประเทศไทย;2555:35-40.

ศิราณี อิ่มน้ำขาว. รูปแบบพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ของผู้สูบบุหรี่ที่เข้ารับการบำบัดในคลินิกเลิกบุหรี่ โรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารกองการพยาบาล 2555; 39(3): 7-20.

พรรณี ปานเทวัณ. ทฤษฎีความสามารถของตนเองกับการเลิกสูบบุหรี่. วารสารพยาบาลทหารบก. 2560; 18(3): 35-41.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30