การพัฒนาแนวทางการค้นหาผู้ใช้ยาเสพติดด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมในพื้นที่ตำบลบ้านโต้น อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วิระวัติ นักร้อง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพระยืน

คำสำคัญ:

การพัฒนา, แนวทาง, ยาเสพติด, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มุ่งเน้นศึกษาระดับการปฏิบัติและการมีส่วนร่วมของคณะทำงานแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ในการพัฒนาแนวทางการค้นหาผู้ใช้ยาเสพติด ในพื้นที่ตำบลบ้านโต้น อ.พระยืน จ.ขอนแก่น พิจารณาใช้แนวทางการสนทนากลุ่ม การอบรมให้ความรู้ นำสู่กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม A-I-C ตามแนวทางการพัฒนา 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สร้างการรับรู้นโยบายสู่การปรับกระบวนการดำเนินงาน 2) การผ่องถ่ายนโยบายการดำเนินงาน 3) การมอบหมายภารกิจสู่ปฏิบัติการ 4) ประชาคมชุมชนสร้างการรับรู้ 5) ปฏิบัติการเชิงรุกมาตรการเคาะประตูบ้านแจกซองผ้าป่าแจ้งเบาะแส 6) การรวบรวม สอบทาน และจัดทำบัญชีรายชื่อ ระหว่าง ภาคประชาชน ผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอ ภายหลังการพัฒนา พบว่า 1) ผู้เข้าร่วมโครงการมีคะแนนการปฏิบัติเพิ่มขึ้น เฉลี่ยร้อยละ 52.4 ค่าเฉลี่ยความแตกต่างของคะแนนการปฏิบัติมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value < 0.001 2) มีส่วนร่วม ในการพัฒนาได้อย่างเหมาะสม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 62.3 ค่าเฉลี่ยความแตกต่างของคะแนนการมีส่วนร่วมมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value < 0.001 3) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความแตกต่างของการค้นหาผู้ใช้ยาเสพติดในพื้นที่เป้าหมาย เพิ่มขึ้นร้อยละ 94.4 4) แนวทางการค้นหาผู้ใช้ยาเสพติดด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมในพื้นที่สามารถพัฒนาผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานตำบลจัดการคุณภาพชีวิต ผลการดำเนินงานรางวัลชนะเลิศต้นแบบระดับเขตสุขภาพที่ 7 นำไปประยุกต์ใช้เพื่อเป็นแนวทางในการค้นหาผู้ใช้ยาเสพติดในชุมชนเพื่อนำเข้าสู่ขั้นตอนการคัดกรอง การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. ภาพรวมสถานการณ์ยาเสพติดโลกกับผลกระทบที่มีต่อSDGs. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2565.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถิติคดียาเสพติดของประเทศไทย. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2566.

โรงพยาบาลพระยืน. รายงานการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดสถิติยาเสพติด อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น ประจำปี 2566 . กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลพระยืน; 2566.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. รายงานผลการดำเนินงาน ป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. กระทรวงยุติธรรม; 2564.

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติด โดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง(Community Based Treatment and care). ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

บุรฉัตร จันทร์แดง. บทวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในปัจจุบัน. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; (2560).

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. คู่มือการดำเนินงานโครงการดาเนินงานชุมชนยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2566. ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ; 2566.

เพ็ญพักตร์ อุทิศ. แนวคิดและเทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discusstion: FGD) คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547

ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์. กระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งประชาคม ประชาสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 9. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2543.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. แนวทางการขับเคลื่อนตำบลจัดการสุขภาพแบบบูรณาการเพื่อการพึ่งตนเองของชุมชน. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

อรุณ จิรวัฒน์กุล และคณะ. ชีวสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น; 2546.

ศรีสุดา ลุนพุฒิ และ นารีรัตน์ หาญกล้า. การบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้สารเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง: กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งจังหวัดขอนแก่น. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ; 2564.

ธารินี แสงสว่าง. การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครคุมประพฤติในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในชุมชนในสังกัดสำนักงานคุมประพฤติภาค7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2557.

ศรีทรงชัย รัตนเจียมรังษี. กระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยวัณโรค ตำบลออนใต้ อำเภอ สันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2555.

ทัศนาวลัย ตันติเอกรัตน์. แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของประชาชนในท้องถิ่น กรณีศึกษาเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต; 2560.

มิตร สุขขาม. ความคิดเห็นของผู้ต้องขังที่มีต่อกระบวนการชุมชนบำบัด ในเรือนจาพิเศษพัทยา. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา; 2562.

วลีรัตน์ แสงไชย. กระบวนการบำบัด ผู้เสพยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการคืนคน (เคย) ดี สู่การเป็นคนดีอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาภาคเหนือ. วารสารบัณฑิตศึกษา : มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนสุนันทา; 2561.

สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์. การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ต.คลองโคน อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2556.

พิสิทธิ์ รัตนะ. การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในโครงการชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้านถ่อนนาลับ ในจังหวัดอุดรธานี. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2557.

ชโลธร อัญชลีสหกร. กระบวนการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา“สารภีโมเดล” อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต (อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม) มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-07