การพัฒนาการบริการสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานในคลินิก หมอครอบครัว ตำบลสะอาด อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ศิริพร เหลืองอุดม โรงพยาบาลน้ำพอง
  • พรรณิภา ไชยรัตน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • ดังการ พลลาภ โรงพยาบาลน้ำพอง
  • ศศิธรณ์ นนทะโมลี โรงพยาบาลน้ำพอง

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยเบาหวาน, คลินิกหมอครอบครัว, การพัฒนาสติเพื่อสุขภาพ

บทคัดย่อ

     งานวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบบริการสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ให้มีประสิทธิภาพสร้างผลกระทบที่ดีต่อสุขภาวะของผู้ป่วยเบาหวาน รวมถึงตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 85 คน ซึ่งได้รับการส่งต่อ มารับบริการในคลินิกหมอครอบครัว แบ่งการวิจัยเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) การศึกษาสถานการณ์ 2) พัฒนารูปแบบบริการ 3) ประเมินผล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แนวทางสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุม และแบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวาน และระดับน้ำตาล ในเลือด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน Paired sample T- test ผลการวิจัย พบว่า พื้นที่บริการมีศักยภาพจัดการตนเองที่สอดคล้องกับการจัดการภาวะเรื้อรัง มีบริการคลินิกหมอครอบครัวที่มีศักยภาพ ทีมสหวิชาชีพ และอาสาสมัคร ที่ร่วมจัดบริการมีหลายกลุ่มและมีความเพียงพอ แต่ยังขาดทักษะการสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมโรค และลดภาวะแทรกซ้อน การเชื่อมต่อข้อมูลสองหน่วยบริการดำเนินการ ได้ช้า และผู้รับบริการเองยังขาดสมรรถนะในการจัดการตนเอง จึงพัฒนาบริการที่เอื้อให้มีกระบวนการปรับปรุง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยหลักการพัฒนาสติเพื่อสุขภาพ ผลการพัฒนาพบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานมีสัดส่วนลดลง การออกกำลังกาย การฝึกสมาธิ/สติ มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น และระดับน้ำตาลในเลือดเกินเกณฑ์ปกติมีสัดส่วนลดลง ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยจึงควรเน้นรูปแบบของคลินิกบริการหลายแบบในโรงพยาบาลและนอกโรงพยาบาล กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นไปตามสภาพปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย รวมถึงการมีส่วนร่วมบริการของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

References

สมเกียรติ โพธิสัตย์, สถิตย์ นิรมิตมหาปัญญา, ชัยชาญ ดีโรจน์วงศ์, วีระศักดิ์ ศรินนภากร, นภา ศิริวิวัฒนากุล, สิทธิชัย อาชายินดี และคณะ. โรคเบาหวาน Thailand Medical Services Profile 2011 – 2014. [Internet]. 2023 [Cited 2022June 10]; Available from: https://www.hiso.or.th/thaihealthstat/report/ThailMedicalServices.php?y=2014&l=tmsp1.0

Ngarmukos C, Bunnag P, Kosachunhanun N, Krittiyawong S, Leelawatana R, Prathipanawatr T and et al. Thailand diabetes registry project: prevalence, characteristics and treatment of patients with diabetic nephropathy. [Internet]. 2023. [Cited 2023 May 30]; Available from https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/

ปฐมพร ศิรประภาศิริ, สันติ ลาภเบญจกุล. คู่มือการจัดบริการคลินิกเบาหวาน ความดันโลหิตสูงวิถีใหม่ แบบยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (สำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน): กองวิชาการแพทย์กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2563.

สำนักโรคไม่ติดต่อ. คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ. กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2558 ;10-11.

กอบกุล ยศณรงค์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานสู่ระบบบริการระดับปฐมภูมิในเครือข่ายบริการสุขภาพ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2555; 6(2) : 290- 297

ภิญยา ไปมูลเปียม, พัชนี อินใจ, วินัย ปันทะนะ, ไชยวัฒน์ น้ำเย็น. การพัฒนาระบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชนภายใต้บริบทของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่สาคร อ.เวียงสา จ.น่าน.วารสารระบบสารณสุข. 2559; 25(3): 394-400

Moule P.,Goodman M. Nursing Research: An Introduction. Sage Publications; 2014.

Wagner E.H. Chronic disease management: what will it take to improve care for chronic illness. 1998; 1(1): 2-4.

กรมสุขภาพจิต. หลักสูตรและแผนการสอน เรื่อง การพัฒนาสติเพื่อสุขภาพ (Mindfulness Development for Health). กลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต; 2557.

พรรณิภา ไชยรัตน์, ขนิษฐา นันทบุตร. สถานะและศักยภาพชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ ตำบลแห่งหนึ่งภาคเหนือ ประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562; 28(5): 56-62.

อาทิตยา วังวนสินธุ์, จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. การประเมินผลการดูแลผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2ในมุมมองของผู้รับบริการที่รับบริการในหน่วยสุขภาพที่แตกต่างกัน: กรณีศึกษาเขตบริการสุขภาพที่ 2. มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2559.

สุธี เชิดชูตระกูลศักดิ์, นิรัชรา ลิลละฮ์กุล,เจษฎากร โนอินทร์. การพัฒนารูปแบบการจัดบริการผู้ป่วยโรคเบาหวาน เครือข่ายสุขภาพอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2565; 31(6): 1061-1070.

อำพรทิพย์ อุดทาโท. การพัฒนารูปแบบการจัดการตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วย เบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ รพสต.บ้านดอกคำใต้ ต.แม่ตีบ อ.งาว จ.ลำปาง. เชียงรายเวชสาร. 2564;13(1) :136- 151

ปราโมทย์ ถ่างกระโทก. บทบาทพยาบาลวิชาชีพในการจัดการโรคเรื้อรัง. วารสารสงขลานครินทร์. 2560; 37(2) :154-159.

Martin Gulliford, Smriti Naithani and Myfanwy Morga. What is ‘continuity of care’?. [Internet]. Journal of Health Services Research & Policy. 2006; 11(4). 2006. [Cited 2023 May 30]; Available from https:// hsr.sagepub.com at Kings College.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-07