ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยจิตเภท โรงพยาบาลหนองนาคำ อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ภัทรพร ภูคลัง โรงพยาบาลหนองนาคำ

คำสำคัญ:

โรคจิตเภท, ความร่วมมือในการใช้ยา, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, การสนับสนุนทางสังคม

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยด้านแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคมกับความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยจิตเภทที่มารับบริการในโรงพยาบาลหนองนาคำ อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยจิตเภทจำนวน 16 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบประเมินความร่วมมือในการรับประทานยา แบบประเมินแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และแบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ โดยใช้สถิติ Chi Square ผลการศึกษาพบว่า ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยจิตเภทอยู่ในระดับสูง (x ̅= 1.40 SD =0.94) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การมาตรวจตามแพทย์นัด (p-value = 0.02 ) ปัจจัยแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.48) และปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value = 0.40) การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าควรพัฒนากระบวนการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมาตรวจตามแพทย์นัด

References

Elke Loots, Eva Goossens, Toke Vanwesemael, Manuel Morrens, Bart Van Rompaey, Tinne Dilles. Interventions to Improve Medication Adherence in Patients with Schizophrenia or Bipolar Disorders: A Systematic Review and Meta-Analysis. International of Environment Research and Public Health 2021; 18: 10213.

ธนพล บรรดาศักดิ์. บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท: กรณีศึกษา. เวชสารแพทย์ทหารบก 2564; 74(3): 221-232.

สุดาพร สถิตยุทธการ. การกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง: สถานการณ์และแนวทางการป้องกัน. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 2559; 28(3): 1-15.

ณัฐพล บุตตะโยธี. กระบวนการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทโดยชุมชนมีส่วนร่วมกับทีมสหวิชาชีพโรงพยาบาลโกสุมพิสัย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2564; 5(9): 77-88.

อุไรวรรณ เกิดสังข์. การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเภทโดยชุมชนเป็นฐานที่มีต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพ; มหาวิทยาลัยศรีนครนิทรวิโรฒ: 2565.

นิตยา เศรษฐา, อรทัย สงวนพรรค, สำราญ อยู่หมื่นไหว, วาสนา จินากลึง. การพัฒนาโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในผู้ป่วยจิตเภท. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2559; 30(1): 1-16

รษิกา อัครกรณ์กุล. การทดสอบแบบวัดความร่วมมือในการใช้ยาสำหรับคนไทยในผู้ป่วยจิตเภท. [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา; มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์: 2565.

Schaefer, C., Coyne, J. C., & Lazarus, R. Health-related functions of social support. Journal of behavioral Medicine 1981; 4(4): 381-401

จีรศักดิ์ ห้วยทราย, สมชาย สุริยะไกร. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยจิตเภท โรงพยาบาลดงหลวง. ศรีนครินทร์เวชสาร 2562; 34(2): 159-155.

กมลวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล. ปัจจัยของผู้ป่วยที่มีผลต่อความร่วมมือในการใช้ยางานบริบาลทางเภสัชกรรม โรงพยาบาลบางปลาม้า สุพรรณบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562; 28(1): 107-120

ธนพล บรรดาศักดิ์. บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท: กรณีศึกษา. เวชสารแพทย์ทหารบก 2564; 74(3): 221-232.

เมธี สุทธศิลป์, สุดา ภู่น้อย. การสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวต่อผู้ป่วยจิตเวชที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลวังเจ้า. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น 2566; 4(2): 102-119

มนสิชา มาสิง. ความร่วมมือในการใช้ยาผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. มหาราชนครศรีธรรมราช เวชสาร 2561; 1(2): 118-129

สุจรรยา โลหาชีวะ, นันทภัค ชนะพันธ์. ปัจจัยทำนายประสบการณ์ทางบวกและทางลบในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทของผู้ดูแล. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2563; 34(1): 103-117

อาภรณ์ ศรีชัย. ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความสม่ำเสมอของการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วารสารศูนย์อนามัยที่9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2564; 15(38): 671-684

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-07