ผลการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับรุนแรง ที่ได้รับการผ่าตัดแบบเร่งด่วน

ผู้แต่ง

  • บังอร ศรีสงคราม โรงพยาบาลขอนแก่น
  • ธัญรัศม์ ปิยวัชร์เวลา โรงพยาบาลขอนแก่น
  • ศิราณี คำอู โรงพยาบาลขอนแก่น
  • กรัณย์พิชญ์ โคตรประทุม โรงพยาบาลขอนแก่น
  • จิราพร น้อมกุศล โรงพยาบาลขอนแก่น
  • สมพร หงษ์เวียง โรงพยาบาลขอนแก่น
  • นิตยา ศรีสุทธิกมล โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับรุนแรง, แนวปฏิบัติการพยาบาล, ผลลัพธ์การพยาบาล

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) เพื่อประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล ได้แก่ 1) การเกิดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงได้รับการประเมินและรายงานแพทย์ได้ทันใน 5 นาที 2) ผู้ป่วยอาการทรุดลงขณะรอผ่าตัด 3) ระยะเวลารอคอยผ่าตัด 4) จำนวนวันนอนรักษาในโรงพยาบาล 5 ) ผู้ป่วยเสียชีวิตใน 24 ชั่วโมง 6) การมีวินัยในการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล และ 7) ความพึงพอใจของพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับรุนแรงที่เข้ารับการรักษาที่งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น เป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 25 คน และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน 50 คน ห้องผ่าตัด 25 คน ในเดือนกันยายน-ธันวาคม 2566 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสังเกตการปฏิบัติ แบบประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล และแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาล วิเคราะห์เปรียบเทียบผลลัพธ์ ใช้สถิติ Pearson Chi-Square Test และ Mann-Withney U Test ข้อมูลการปฏิบัติและความพึงพอใจของพยาบาล ใช้สถิติพรรณนา ความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลตามแนวปฏิบัติ ได้รับการประเมินและรายงานแพทย์ได้ทันใน 5 นาทีสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อาการทรุดลงขณะรอผ่าตัด ระยะเวลารอคอยผ่าตัด น้อยกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) อุบัติการณ์การเสียชีวิต จำนวนวันนอนรักษาในโรงพยาบาล น้อยกว่า แต่ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พยาบาลปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ ร้อยละ 96.80 ความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติ ร้อยละ 94.19 สรุปว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับรุนแรงที่ได้รับการผ่าตัดแบบเร่งด่วน ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีทั้งต่อผู้ป่วย พยาบาล และองค์กร

References

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สำนักงานความปลอดภัย.รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ.2562. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://www.otp.go.th /uploads /tiny_ uploads /PDF/ 2563-06/25630601-Road Accident Ana 2562_Final.pdf.

World Health Organization [WHO]. Global status report on road safety 2018. Geneva: World Health Organization; 2018.

Pinto J, Lei L, Wang C. Do chameleons lead better? A meta-analysis of the self-monitoring and leadership relationship. Personality and Social Psychology Bulletin. [Internet]. 2023 [Cited 2023 August 12]; Available from: https://doi.org/

1177/ 01461672231210778.

Wagner AK, Franzese K, Weppner JL, Kwasnica C, Galang GN, Edinger J, Linsenmeyer M. Traumatic brain injury. Braddom's Physical Medicine and Rehabilitation 2021: 916-953.

Hoffmann J, May A. Diagnosis, pathophysiology, and management of cluster headache Lancet Neurol. 2018; 17(1):75-83.

ราชวิทยาลัยประสาทศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย.แนวทางเวชปฏิบัติกรณีสมองบาดเจ็บ.กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: บริษัทพรอสเพอรัสพลัสจำกัด; 2562.

สุดาสวรรค์ เจี่ยมสกุล, กัญญดา ประจุศิลป์. การศึกษาตัวชี้วัดคุณภาพด้านผลลัพธ์การพยาบาล สำหรับผู้ป่วยศัลยกรรมประสาท. วารสารพยาบาลทหารบก. 2560; 18:147-154.

กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล. ฐานข้อมูลบุคลากร. ขอนแก่น: กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น; 2565.

แอน ไทยอุดม, นที ลุ่มนอก. การพัฒนาและประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลที่สร้างจากหลัก ฐานเชิงประจักษ์สำหรับผู้ป่วยสมองบาดเจ็บระดับปานกลางถึงรุนแรง. วารสารพยาบาลทหารบก 2561, 19(3): 107-116.

Titler MG, Kleber C, Steelman VJ, Rakel BA, Budreau G, Everett LQ, et al. The IOWA model of evidencebased practice to promote quality care. Crit Care Nurs Clin North Am 2001;13: 497-509.

สุมาลี สุขใย, วรางคณา คำยิ่ง, จินตนา วงศ์ยุทธจักร, ฉัตรทอง เวบสูงเนิน. ผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ทางการพยาบาลในผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บที่สมอง. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. 2565; 28(2): e 260033.

Hawryluk GWJ, Aguilera S, Buki A., Bulger E, Citerio G, Cooper DJ, et al. A management algorithm for patients with intracranial pressure monitoring: The Seattle International Severe Traumatic Brain Injury Consensus Conference (SIBICC). Intensive Care Medicine 2019; 45(12): 1783–1794.

Soltana K, Moore L, Bouderba S, Lauzier F, Clément J, Mercier É, at al. Adherence to clinical practice guideline recommendations on low-value Injury care: A multicenter retrospective cohort study : The Journal of the International Society for Pharmacoeconomics and Outcomes Research [Internet].2020 [Cited 2023 August 10]; Available from: https://doi.org/10.1016/

j.jval.2021.06.008

Cook A.M, Morgan JG, Hawryluk GWJ, Mailloux P, McLaughlin D, Papangelou A, at al. Guidelines for the acute treatment of cerebral edema in neurocritical care patients. neurocritical care [Internet]. 2020 [Cited 2023 september 10]; Available from: https://doi.org/10.1007/s12028-020-00959-7.

พิไลพร สุริยขันธ์, ชัจคเณค์ แพรขาว. ผลลัพธ์ทางการพยาบาลระหว่างส่งต่อเพื่อการรักษาต่อเนื่องในผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์.2565; 6(3):100-113.

ชัจคเณค์ แพรขาว, กัญญา ขุนจํานงค์ภักดิ์. ผลลัพธ์ผู้ป่วยจากการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาล ผู้ป่วยบาดเจ็บสมองเล็กน้อย. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์.2564; 41(4):15-26.

จรุงศรี ประทุม, สุพรพรรณ์ กิจบรรยงเลิศ. ผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการประเมินผู้ป่วยสมองบาดเจ็บเล็กน้อย โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์เขต.2561; 11, 32(4): 1431-1450.

เสาวลักษณ์ ภูนวกุล, นพรัตน์ เรืองศรี, อรพรรณ มันตะรักษ์, จารุภา คงรส. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมองที่ได้รับการผ่าตัดสมอง โรงพยาบาลพิจิตร. วารสารกรมการแพทย์2560; 42(6): 102-107.

ปิยธิดา กีรติพรฤดี, วัฒนา โพธิ์ทิพย์วงษ์, รพีพร โรจน์แสงเรือง. การกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมอง ที่มารับการรักษาที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลสมุทรสาคร. วารสาร เวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย. 2565; 4(1): 16-35.

Hawryluk GWJ, Rubiano AM, Totten AM, OReilly C, Ullman JS, Bratton SL, at al. Guidelines for the Management of Severe Traumatic Brain Injury: 2020 Update of the Decompressive Craniectomy Recommendations Neurosurgery [Internet]. 2020 [Cited 2023 september 22] ; 87(3): 427–434.Available from: https://doi.org/10.1093/ neuros/ nyaa278.

Iaccarino C, Lippa L, Munari M, Castioni CA, Robba C, Caricato A, at al. Management of intracranial hypertension following traumatic brain injury: A best clinical practice adoption proposal for intracranial pressure monitoring and decompressive craniectomy. Journal of Neurosurgical Sciences.[Internet] 2021 [Cited 2023 June 10]; 65(3), 219–238. Available from: https://doi.org/10.23736/S0390-5616.21.05383-2.

Gerber LH, Deshpande R, Moosvi A., Zafonte R, Bushnik T, Garfinkel S, at al. Narrative review of clinical practice guidelines for treating people with moderate or severe traumatic brain injury. NeuroRehabilitation.[Internet] 2021 [Cited 2023 June 6]; 48(4): 451–467. Available from: https://doi.org/10.3233/NRE-210024.

Chan V, Estrella MJ, Babineau J, Colantonio A. A systematic review protocol for assessing equity in clinical practice guidelines for traumatic brain injury and homelessness. Frontiers in Medicine .[Internet] 2022 [Cited 2023 June 6]; Available from: https://doi.org/ 10.3389/fmed.2022.815660.

Di BS, Weil M, Ma WJ, Zhang Q, Lu AQ, Wang H, at al. A critical review to traumatic brain injury clinical practice guidelines. Medicine.[Internet] 2019 [Cited 2023 June 6]; 98(9): e14592. Available from: https://doi.org/10.1097/MD.0000000000014592.

ธัญรัศม์ ปิยวัชร์เวลา. การพยาบาลผู้ป่วยสมองบาดเจ็บร่วมกับมีภาวะเลือดออกเหนือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.2020; 2(1): 125-138.

Kondziella D, Bender A, Diserens K, Van Erp W, Estraneo A, Formisano R, Aat al. European Academy of Neurology guideline on the diagnosis of coma and other disorders of consciousness. European Journal of Neurology.[Internet] 2020 [Cited 2023 June 6]; 27(5): 741–756. Available from : https://doi.org/10.1111/ene.14151.

Gantner D, Cooper DJ, Finfer S, Bragge P. Determinants of Adherence to Best Practice in Severe Traumatic Brain Injury: A Qualitative Study. Neurocritical Care.[Internet] 2022; 37(3): 744–753. Available from : https://doi.org/10.1007/s12028-022-01551-x.

นิภาวรรณ สามารถกิจ. การศึกษาติดตามอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเล็กน้อย. วารสารการพยาบาล และการศึกษา.2561; 11(4): 14-36.

ชัจคเณค์ แพรขาว, โพธิพงษ์ เรืองจุ้ย, สุภาพรณ์ ตัณฑ์สุระ, นิชาภัทร บุษมงคล, พจนา ทัพซ้าย. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการจัดการความปวด ในผู้ป่วยบาดเจ็บสมองรุนแรงและบาดเจ็บอวัยวะอื่นร่วม. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข.2561; 28(2): 41-52.

ปราณี มีหาญพงษ์, กรรณิการ์ ฉัตรดอกไม้ไพร. การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก. 2018; 19(1): 9-15.

พินิตนันท์ หนูชัยปลอด, วงจันทร์ เพชรพิเชฐเชียร, หทัยรัตน์ แสงจันทร์. การพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติในการจัดการความปวดจากแผลอุบัติเหตุ ณ งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน. พยาบาลสาร. 2557;41:88-98.

ทิพวรรณ บุญสนอง, หทัยรัตน์ แสงจันทร์, ประณีต ส่งวัฒนา. การพัฒนาและประเมินผลความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ได้รับยาระงับปวดทางช่องเหนือเยื่อดูรา. วารสารสภาการพยาบาล. 2555; 26(2), 115-125.

สุริยา ทวีกุล. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะจากอุบัติเหตุทางถนน ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2561; 14(3): 46-56.

วิบูลย์ เตชะโกศล. ประสิทธิผลของการพัฒนาระบบทางด่วนพิเศษในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ. ศรีนครินทร์เวชสาร, 2557; 29(6): 524-529.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-06