การพยาบาลผู้ป่วยที่ติดเชื้อในกระแสเลือด กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
กระบวนการพยาบาล, ภาวะช็อก, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดบทคัดย่อ
ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) เป็นภาวะวิกฤติที่พบบ่อยและมีแนวโน้มที่สูงขึ้น ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ดังนั้น การได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมและรวดเร็วจะช่วยลดความรุนแรงและความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะดังกล่าวได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โดยใช้แนวคิดแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอนมาเป็นแนวทางในการประเมินสภาพผู้ป่วย และนำเครื่องมือประเมินผู้ป่วย Sepsis ชื่อ NEW score มาช่วยคัดกรองและค้นหาผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โดยทำการศึกษาผู้ป่วยที่มีอาการและแสดงอาการของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหนองสองห้อง โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษาทั้ง 2 ราย ตามแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย Sepsis ผลที่ได้จากการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยรายที่ 1 มีภาวะช็อก การพยาบาลที่สำคัญได้แก่การดูแลระบบไหลเวียนโลหิต การเฝ้าระวังภาวะไม่สมดุลของอิเลคโตรไลท์ การให้สารน้ำและโภชนาการ การดูแลด้านจิตใจ และการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น ในขณะที่ผู้ป่วยรายที่ 2 มีภาวะไข้และมีภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ทั้ง 2 รายได้วางแผนการจำหน่ายตามหลัก D-M-E-T-H-O-D เมื่อติดตามผลลัพธ์ทางการพยาบาลพบว่า กรณีศึกษาทั้ง 2 รายมีอาการดีขึ้นตั้งแต่ช่วงแรก ดังนั้นการปฏิบัติการพยาบาลที่มีแนวปฏิบัติที่ดีในการเฝ้าระวังและติดตามอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดและทันต่อการเปลี่ยนแปลง จะช่วยลดความเสี่ยง ลดภาวะแทรกซ้อน รวมถึงลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้
References
Wiersinga W J, Leopold S J, Cranendonk D R, Poll TVD. Host innate immune responses to sepsis. Virulence 2014; 5(1): 36-44.
Rudd K E, Johnson S C, Agesa K M, Shackelford K A, Tsoi D, Kievlan D R, et al. Global, regional, and national sepsis incidence and mortality. 1990-2017: analysis for the Global Burden of Disease Study. Lancet. 2020;395(10219):200-11. doi: 10.1016/ S0140-6736
(19)32989-7.
สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขกองตรวจราชการ. แผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ 2561. กระทรวงสาธารณสุข; 2561; 448-459.
กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลอัตราตายจากภาวะ Sepsis. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2566]; เข้าถึงได้จาก http://healthkpi.moph.go.th/
โรงพยาบาลหนองสองห้อง. สรุปข้อมูลสถิติ ปีงบประมาณ 2566. กลุ่มงานประกันสุขภาพยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์ โรงพยาบาลหนองสองห้อง; 2566.
Mitchell M Levy, Laura E Evans, Andrew Rhodes. The surviving sepsis campaign bundle: 2018 update. Intensive care medicine, 44(6)925-928
Mervyn Singer, Clifford S. Deutschman, Christopher Warren Seymour. The Third International Consensus Definitions for Sepsis and Septic Shock (Sepsis-3). JAMA, 2016; 315(8),801-810.
สมาคมเวชบําบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย severe sepsis และ septic shock (ฉบับร่าง) พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ; 2558.
อัมราภัสร์ อรรถชัยวัจน์, ธีรพร สถิรอังกูร, นวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา, อรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล. บทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ.นนทบุรี: สำนักพิมพ์สื่อตะวัน; 2561.
ปิยะอร รุ่งธนเกียรติ, สุนันญา พรมตวง, จันทนา แพงบุดดี. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตด้วยระบบทางด่วนโรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย. 2562; 6(1): 36-51.
นงลักษณ์ โค้วตระกูล. ผลการพัฒนาคุณภาพระบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีติดเชื้อในกระแสเลือดของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว. วารสารการพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2560; 25(2): 120-134.
วีรพงศ์ วัฒนาวนิช. Update management in septic shock. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤศจิกายน2566]; เข้าถึงได้จาก http://medinfo.psu.ac.th/nurse/CoP/Sepsis/sepsis_3.pdf
วันเพ็ญ ทุ่งศรีแก้ว.การพยาบาลผู้ป่วย sepsis. [ผลงานประกอบการพิจารณาประเมินบุคคล]. ฝ่ายการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล; 2552.
วิจิตรา กุสุมภ์. การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต: แบบองค์รวม. พิมพ์ครั้งที่ 6. นนทบุรี: สหประชาพาณิชย์; 2560.
Isphani P, Pearson N J, Greenwood D. An analysis of community and hospital acquired bacteremia in a large teaching hospital in the United Kingdom. QJ Med 1987: 63: 427-440.
สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ.แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันการประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ.กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. 2551; 21-28.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว