การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติด โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ประพัทธ์ ธรรมวงศา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกุมภวาปี

คำสำคัญ:

การบำบัดฟื้นฟู, ผู้ป่วยยาเสพติด, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติด 2) การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติด และ 3) ประเมินผลการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนสิงหาคม 2566 - มกราคม 2567 เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์ เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า มีกลุ่มเป้าหมายที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 167 คน รูปแบบการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน คือ 1) การเตรียมครอบครัว 2) การสำรวจผลกระทบ ความคาดหวังของครอบครัวเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดในชุมชนและแนวทางการแก้ไข 3) การให้ความรู้เรื่องโรคสมองติดยา 4) การให้ความรู้เรื่องวงจรการใช้ยา ปัญหาในช่วงเลิกยาระยะแรก 5) การให้ความรู้เรื่องการระกอบอาชีพ/การศึกษา 6) การป้องกันการกลับไปเสพซ้ำ และ 7) การคืนคนดีสู่สังคม ผลการพัฒนารูปแบบ พบว่า ประชาชน ไม่มีพฤติกรรมกลับไปเสพซ้ำ ร้อยละ 95.2 กลุ่มเยาวชนในวัยเรียนไม่กลับไปเสพซ้ำและไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด ร้อยละ 100 และมีชุมชนต้นแบบการแก้ไขปัญหายาเสพติด ภาพรวมการมีส่วนร่วมการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน มีคะแนนเพิ่มขึ้น ดังนั้น ควรส่งเสริมให้ชุมชน เข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด จะทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้สอดคล้องกับบริบทของ แต่ละชุมชนได้อย่างแท้จริง

References

United Nations Office on Drugs and Crime. EXTENT OF DRUG USE. [Internet]. 2020 [cited 2023 May 30]; Available From : https://wdr.unodc.org/wdr2020/field/WDR20_Booklet_2.pdf

กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด. ระบบข้อมูล การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศ. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 5 มิถุนายน 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://antidrugnew.moph.go.th/

Identity/STS/Forms/Account/

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการคัดกรอง การประเมินความรุนแรง การบัดรักษาการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด สำหรับศูนย์คัดกรอง สถานพยาบาลยาเสพติด และสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 5 มิถุนายน 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://www.chiangmaihealth.go.th/document/221101166727744069.pdf

ศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอกุมภวาปี. รายงานการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ปี 2566. เอกสารอัดสำเนา, 2566

Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd ed. Geelong, Victoria: Deakin University Press; 1988.

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี. คู่มือแนวทางการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นฐาน(Community based treatment : CBTx) สำหรับผู้ปฏิบัติงานในชุมชน "วิถีใหม่การแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน". กรุงเทพมหานคร: บริษัท ออนป้า จำกัด; 2564.

ณฐพร ผลงาม. การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนจังหวัดระยอง. วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม 2564; 1(2): 49–71.

ราศรี อาษาจิตร, สุจิตตา ฤทธิ์มนตรี. การพัฒนารูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งในอำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2566; 16(2): 244–57.

พิศิษฐ์ โกจารย์ศรี. การพัฒนารูปแบบการเยี่ยมบ้านด้วยวิธีผสมผสานกับการให้คำปรึกษาครอบครัว สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาที่มีภาวะเสี่ยงติดสารเสพติด ในเขตอำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 2563; 3(2): 1–13.

สมจิต ยาใจ, วสิมล สุวรรณรัตน์, วราภรณ์ นองเนือง. รูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2564; 32(1): 224–36.

ธิติ บุดดาน้อย, สุทิน ชนะบุญ, เบญญาภา กาลเขว้า. พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กรณีศึกษาโรงเรียนแห่งหนึ่ง ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 2019; 2(1): 139–52.

Gibson CH. A concept analysis of empowerment. J Adv Nurs. 1991; 16(3): 354–61.

เกศินี วีรศิลป์, ธนวัฒน์ ปินตา, อุบลวรรณ สุภาแสน, เชษฐ ใจเพชร, วินิจ ผาเจริญ. การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหา

ยาเสพติด ในพื้นที่ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทรายจังหวัดเชียงใหม่. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 2566; 3(1): 16–31.

บุณยาพร เอื้อทัดทาน. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันยาเสพติดในชุมชนมะพร้าวคู่ แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร.

วารสารวิจัยวิชาการ 2563 ; 3(2): 101–112.

นภัทร ภักดีสรวิชญ์, ภาคิน เจริญนนทสิทธิ์, วรรณวรางค์ ศุทธชัย. การมีส่วนร่วมขององค์กรภาครัฐกับภาคประชาชนในการพัฒนาการบริการสาธารณะด้านบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2564; 11(3): 371-383.

นิตยา ฤทธิ์ศรี สุกัญญา, วัฒนประไพจิตร, ศุภลักษณ์ จันหาญ. รูปแบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชุมเป็นศูนย์กลาง : กรณีศึกษาในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2565; 19(2): 50-63.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-22