รูปแบบการพัฒนาการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การพัฒนา, รูปแบบ, โรคไม่ติดต่อ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ และการสร้างรูปแบบการพัฒนาการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ 1) ศึกษาปัจจัยการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ โดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยง 0.98 2) การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ และ 3) การยืนยันรูปแบบการพัฒนาการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 75.93 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการป้องกันและควบคุม โรคไม่ติดต่อ ได้แก่ ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรค การสนับสนุนทางสังคม และความเชื่อด้านสุขภาพ รูปแบบการพัฒนาการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อของ อสม. ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ 1) ด้านความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ 2) ด้านการสนับสนุนทางสังคม และ 3) ด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ผู้เชี่ยวชาญ มีความเห็นว่ารูปแบบการพัฒนาการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อของ อสม. อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด (มัธยฐาน = 5.00) ร้อยละ 91.67
References
World Health Organization. Noncommunicable diseases. [Internet]. 2021 [cited 2021 May 31]. Available from: https://www.who.int
/news-room/fact- sheets/detail/ noncommunicable-diseases
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. การสาธารณสุขไทย 2559-2560 Thailand Health Profile. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/ thailand%20health%
profile%202016_2017.pdf
ถนัต จ่ากลาง. การระบุปัญหาสาธารณสุขอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น : สำนักงานสาธารณสุขอำเภอชุมแพ. 2564.
Hfocus. สธ.มอบของขวัญปีใหม่ 2564 คนไทยทุกคนมีหมอประจำตัว 3 คน “ดูแลใกล้ตัว ใกล้บ้าน ใกล้ใจ”[อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 13 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก : https://www.hfocus.org/content/2020/12/20694
สำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ โดยยึดชุมชนเป็นฐาน :ชุมชนลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (CBI NCDs). นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข. 2560.
FRANZ FAUL, EDGAR ERDFELDER, ALBERT-GEORG LANG AND AXEL BUCHNER. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and Biomedical sciences. [Internet]. 2007 [cited 2021 Feb 3]. Available from:file:///C:/Users/66650/Downloads/Faul2007_Article_GPower3AFlexibleStatisticalPow.pdf GeneralPowerAnalysisPro%20(1).pdf
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ระเบียบวิธีวิจัยทางการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไออินเตอร์ มีเดีย. 2553.
วิมล โรมา และคณะ. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปี ขึ้นไป พ.ศ. 2560 (ระยะที่ 1). นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. 2561.
กฤศภณ เทพอินทร์, เสน่ห์ ขุนแก้ว. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2565. 2565
สุวรรณา หล่อโลหการ, ประพรศรี นรินทร์รักษ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของอาสาสมัครสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการสาธารณสุข. ปีที่ 30 กันยายน - ตุลาคม 2564. 2564
จิตติยา ใจคำ, จักรกฤษณ์ วังราษฎร์, อักษรา ทองประชุม. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส. ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม – ธันวาคม 2564. 2564
ภานุวัฒน์ พิทักษ์ธรรมากุล. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในชุมชนต้นแบบของเขตสุขภาพที่ 5. กลุ่มสุขภาพภาคประชาชนและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 5. (มปท.). 2565.
จิราภรณ์ อริยสิทธิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสููง. Region 3 Medical and Public Health Journal 2023; 20(3):117-23
Nutbeam, D. The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine. 2008; 67(12): 2072-2078
Mc Cormack, L. et al. Measuring health literacy: A pilot study of a new the skills-based instrument. The journal of Health Communication. 2010; 15 (2): 51-71.
ถนัต จ่ากลาง. รูปแบบการพัฒนาการจัดการสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จังหวัดขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2561.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว