การเปรียบเทียบคุณภาพการนอนหลับหลังดื่มชาใบกัญชา และอาการไม่พึงประสงค์ในบุคลากรทางการแพทย์

ผู้แต่ง

  • ยุทธนา เปล่งวาจา โรงพยาบาลเขาสวนกวาง

คำสำคัญ:

ชาใบกัญชา, การนอนหลับ, อาการไม่พึงประสงค์

บทคัดย่อ

          การศึกษาแบบกึ่งทดลองหนึ่งกลุ่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการนอนหลับระหว่างวันที่ไม่มีการดื่มชาและวันที่มีการดื่มชาใบกัญชาจำนวน 2 ใบ 4 ใบ และ 6 ใบ และเพื่อศึกษาอาการไม่พึงประสงค์หลังดื่มในบุคลากรทางการแพทย์ อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น อาสาสมัครจำนวน 63 คน ผ่านเกณฑ์คัดเลือก เข้าร่วมการทดลอง 4 วัน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามการนอนหลับริชาร์ดแคมป์เบลล์ และแบบสอบถามอาการไม่พึงประสงค์ โดยวันที่หนึ่งเป็นการเก็บข้อมูลพื้นฐาน วันที่สองดื่มชาใบกัญชา 2 ใบ (น้ำหนักเฉลี่ย 0.75±0.02 กรัม) วันที่สามดื่มชาใบกัญชา 4 ใบ (น้ำหนักเฉลี่ย 1.44±0.03 กรัม) และวันที่สี่ดื่มชาใบกัญชา 6 ใบ (น้ำหนักเฉลี่ย 2.16±0.03 กรัม) ประมาณ 30 นาทีก่อนเข้านอน โดยมีระยะพัก 1 สัปดาห์ระหว่างวันทดลอง         ผลการศึกษาพบว่า อาสาสมัครส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 69.84) อายุเฉลี่ย 39.38±7.54 ปี การวิเคราะห์พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของคุณภาพการนอนหลับโดยรวมระหว่างวันที่ไม่มีการดื่มชาและวันที่ดื่มชาใบกัญชา 2 ใบ (ผลต่างค่ามัธยฐาน 3.35, 95%CI: 1.60-8.04,     p-value = 0.0003) วันที่ดื่มชาใบกัญชา 4 ใบ (ผลต่างค่าเฉลี่ย 5.23±14.68, 95%CI: 1.53-8.93,   p-value = 0.0063) วันที่ดื่มชาใบกัญชา 6 ใบ (ผลต่างค่าเฉลี่ย 9.12±1.64, 95%CI: 5.85-12.39,  p-value = 0.0001) เกิดอาการไม่พึงประสงค์ในวันที่ดื่มชาใบกัญชา 2 ใบ จำนวน 13 คน (ร้อยละ 20.63) วันที่ดื่มชาใบกัญชา 4 ใบ จำนวน 12 คน (ร้อยละ 19.05) วันที่ดื่มชาใบกัญชา 6 ใบ จำนวน 15 คน (ร้อยละ 23.81) โดยส่วนใหญ่เป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่ไม่รุนแรงของระบบประสาทและระบบทางเดินอาหาร

References

Rao TP, Ozeki M, Juneja LR. In search of a safe natural sleep aid. J Am Coll Nutr. 2015;34(5):436-4

กัญญาภัค ศิลารักษ์. ประสิทธิผลของน้ำมันกัญชาสูตร อ.เดชา ต่อคุณภาพการนอนหลับและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยนอก ณ คลินิกหางกระรอก โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้นอาจาโร. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2565;16(3):1097-108.

สุธี คงนันทะ. ปัญหาคุณภาพการนอนและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในพยาบาลโรงพยาบาลบ้านด่าน. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2565;37(3):609-19.

นิจวรรณ เกิดเจริญ, ชัยพร วิศิษฐ์พงศ์อารีย์, ชัญญวัชร เผดิมพรร่มเย็น, ชิติพัทธ์ เจริญนพคุณศรี, ณัฎฐวุฒิ สิทธิศักดิ์, นทีธร อิ่มเอิบปฐม และคณะ. ปัจจัยด้านการทำงานที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการนอนหลับของพยาบาลวิชาชีพประจำ หอผู้ป่วยใน คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง. 2563;64(1):41-58.

Hazekamp A, Bastola K, Rashidi H, Bender J, Verpoorte R. Cannabis tea revisited: a systematic evaluation of the cannabinoid composition of cannabis tea. J Ethnopharmacol. 2007;113(1):85-90.

Iseger TA, Bossong MG. A systematic review of the antipsychotic properties of cannabidiol in humans. Schizophr Res. 2015;162(1-3):153-61.

สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล, ณัฎฐ์วรัตถ์ อเนกวิทย์. การใช้สารสกัดกัญชาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิต. วารสารกรมการแพทย์. 2562;44(1):7-9.

กนกอร บุญพิทักษ์. กัญชงกัญชาทางการแพทย์ประโยชน์และโทษ. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพ:สำนักพิมพ์ Feel Good;2565.

สรเพชร มาสุด, ธนวัฒน์ ทองจีน, กรวิชญ์ สมคิด, ภาณุวิชญ์ พูลทรัพย์, ปภาวดี สุฉันทบุตร, กชพร โชติมโนธรรม, ทิพวรรณ ปรักมานนท์, ราตรี พระนคร, วรรณวิภา พินธะ, พิเชฐ บัญญัติ, ศิริวรรณ ชัยสมบูรณ์พันธ์. ปริมาณสารแคนนาบินอยด์ในระยะการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันของใบกัญชาพันธุ์ไทย. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 2564;63(3):524-40.

Romero-sandoval EA, Fincham JE, Kolano AL, Sharpe B, Alvarado-Vazquez PA. Cannabis for chronic pain: challenges and considerations. Pharmacotherapy. 2018;38(6):651-662.

Walsh JH, Maddison KJ, Rankin T, Murray K, McArdle N, Ree MJ, Hillman DR, Eastwood PR. Treating insomnia symptoms with medicinal cannabis: a randomized, crossover trial of the efficacy of a cannabinoid medicine compared with placebo. Sleep. 2021;44(11): zsab149.

Babson KA, Sottile J, Morabito D. Cannabis, cannabinoids, and sleep: a review of the literature. Curr Psychiatry Rep. 2017;19(4):1-2.

ฐปนวงศ์ มิตรสูงเนิน, กุลชา โทณานนท์, แพรว โคตรฉิน, สุดา วรรณประสาท. การใช้กัญชาเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการประกาศให้มีการใช้กัญชาทางการแพทย์อย่างถูกกฎหมาย พ.ศ.2562 ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย. วารสารเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย. 2564;2(2):17-36.

สถาบันกัญชาทางการแพทย์. ใช้กัญชาอย่างเข้าใจรับรู้ปรับใช้เพื่อสุขภาพที่ดีและปลอดภัย. นนทบุรี:กระทรวงสาธารณสุข,2565.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น [อินเตอร์เน็ต]. ขอนแก่น: สำนักงาน; c2565. กลุ่มรายงานมาตรฐาน; [เข้าถึงเมื่อ 6 ก.ค. 2565]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก https://kkhdc.moph.go.th

พงศธร ทองกระสี, ดุษฎี ศรีธาตุ. ประสิทธิผลของชาที่มีส่วนผสมของกัญชาต่อการนอนหลับ. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งประเทศไทย. 2566;5(1):25-32.

วิธวินท์ ฝักเจริญผล, วรยศ ดาราสว่าง. ผลการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ต่ออาการไม่สุขสบายและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะประคับประคอง. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2566;38(1):53-62.

Winiger EA, Hitchcock LN, Bryan AD, Bidwell LC. Cannabis use and sleep: expectations, outcomes, and the role of age. Addict Behav. 2021;112:106642.

Calabria B, Degenhardt L, Hall W, Lynskey M. Does cannabis use increase the risk of death? Systematic review of epidemiological evidence on adverse effects of cannabis use. Drug Alcohol Rev. 2010;29(3):318-30.

Zoller O, Rhyn P, Zimmerli B. High-performance liquid chromatographic determination of delta9-tetrahydrocannabinol and the corresponding acid in hemp containing foods with special regard to the fluorescent properties of delta9-tetrahydrocannabinol. J Chromatogr A. 2000;A872:101–110.

Garrett ER, Hunt CA. (1974). Physiochemical properties, solubility, and protein binding of delta9-tetrahydrocannabinol. J Pharm Sci. 1974;63(7):1056–1064.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-21