ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • อรทัย พงษ์แก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ลัดดา พลพุทธา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส., นักศึกษา

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส.
ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษา ชั้นปีที่ 1-4 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จำนวน 559 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2566 - มกราคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส. ของประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ฉบับปรับปรุงปี 2561 กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ตรวจสอบค่าความเที่ยงของเครื่องมือโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. มีค่าความเที่ยง 0.97 และ 0.74 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับดีมาก          ร้อยละ 65.30 มีพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. อยู่ในระดับไม่ดี ร้อยละ 23.79 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r=0.139) ซึ่งผลการศึกษานี้จะใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและวิธีการปรับพฤติกรรมสุขภาพนักศึกษาในประเด็น 3อ.2ส. ต่อไป

References

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การเสริมสร้างและประเมิน ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ. (อินเตอร์เน็ต). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2561. (เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2560), เข้าถึงได้จากhttps://www.scribd.com/document/linkhed-pdf.

วัชราพร เชยสุวรรณ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ : แนวคิดและการประยุกต์สู่การปฏิบัติการพยาบาล. วารสารแพทย์นาวี 2560; 44(3) :183-97.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การเสริมสร้างและประเมิน

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ. (อินเตอร์เน็ต). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2561. (เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2560), เข้าถึงได้จาhttps://www.scribd.com/document/linkhed-pdf

Shahid R, Shpker M, Chu LM, Frehlick R, Ward H, Pahwa P. Impact of low health literacy on patients’ health outcomes: a multicenter cohort study. BMC Health Service Research 2022; 22(1148) :1-9.

Friis K., Pendersen MH, Aaby A, Lasgaard M, Maindal, HT. Impact of low health literacy on healthcare utilization in individuals with cardiovascular disease, chronic obstructive pulmonary disease, diabetes and mental disorders. A Danish population-based 4-year follow-up study. European Journal of Public Health 2020; 30(5) :866-872.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ตาม 3อ.2ส. ของประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ฉบับปรับปรุงปี 2561. [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ส.ค. 12]. เข้าถึงได้จาก:https://www.nkp-hospital.go.th/th/H.ed/mFile/20180627124613.pdf.

ขวัญเมือง แก้วดําเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: เข้าถึง เข้าใจ และการนําไปใช้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จํากัด; 2561.

ปาจารา โพธิหัง. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในประเทศไทย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2564; 29(3) : 115-130.

ทรงทรรศน์ จินาพงศ์, ภัทราวุธ ขาวสนิท. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพและกิจกรรมทางกาย ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. วารสารสุขศึกษาพลศึกษาและสันทนาการ 2563; 46(2) : 56-64

พรภัทรา แสนเหลา, เบญจพร สืบทอง, ภิญญารัตน์ เปลี่ยนจันทึก, ปิยะกุล ศิริ, ศุภลักษณ์ โคบำรุง, สิรินยา ผลไธสง และคณะ. ความสัมพันธ์ด้านความรอบรู้สุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพหลักสุขภาพหลัก 3อ.2ส. ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิจัยสร้าง Innovation and Technology เพื่อรองรับสังคมไทยสู่ยุค Digital World ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 7 - 8 กรกฎาคม 2565 : 1651-1661.

พเยาว์ พงษ์ศักดิ์ชาติ, ประไพจิตร์ โสมภีร์, อาทิตยา แก้วน้อย, กนกกาญจน์ เมฆอนันต์อวัช. ความรอบรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562; 28 (ฉบับพิเศษ): 20-32.

สุนีย์ กันแจ่ม, นิตยา วงสว่าง, ฐานิการ สุวรรณ, ทาริกา สิทธิมงคล, สุดาทิพย์ เตชัย. ความฉลาดทางสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2562; 1: 33-43.

Faul F, Erdfelder E, Lang AG et al. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods. 2007; 39:175–91

Cohen J. Statistical power for the behavioral sciences. 2nd. New York: Academic Press; 1977.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ขนาดอิทธิพลการวิเคราะห์อำนาจ การคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมโดยใช้โปรแกรม G*Power. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2563.

ทศพล ชำนาญกิจ, วรรณวิมล เมฆวิมล กิ่งแก้ว, ปริศนา เพียรจริง, สุรีย์วรรณ สีลาดเลา, นิวัฒน์ ทรงศิลป์, กนกพร สมพร. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาธารณสุขมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่ง. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2565; 4(2) : 47-57.

กิติพงษ์ เรือนเพ็ชร, สุภิศา ขําเอนก, อภิสรากรณ์ หิรัณย์วิชญกุล, สุวรัตน์ ธีระสุต, ศิริลักษณ์ สุวรรณวงษ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ของนิสิตพยาบาล มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2566; 17(1) : 1-12.

อาภัสรา กล้าณรงค์, น้ำอ้อย ภักดีวงค์. ปัจจัยทำนำยความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2566; 5(3) : 1-17.

ชื่นจิตร จันทร์สว่าง, สุนทรี เจียรวิทยกิจ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลปริญญาตรี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล 2566; 29(2) : 251-264.

Oliveira, ASSD, Seidi, FF., Sousa, KMPD, Felipe, GF, Pinheiro, EP., Albuquerque, NLSD. Health literacy and health behaviors of Guinean university students residing in Brazil. Rev. Gaúcha Enferm 2023; 44: 1-11.

Lange M, Loowe A, Stassen G, Schaller A. Health literacy, health status and health behaviors of German students– study protocol for the “Healthy Habits” cohort study. BMJ Public Health 2021; 21(1523): 1-10.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวคิด หลักการขององค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ. นนทบุรี : สำนักงานโครงการขับเคลื่อนกรมอนามัย 4.0 เพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน (สขรส.); 2561.

ทักษิกา ชัชวรัตน์, วรินทร์ธร พันธ์วงค์, สุภาภรณ์ นันตา. พฤติกรรมสุขภาพของวัยรุ่น. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา 2561; 19(3): 107-120.

กิติพงศ์ เรือนเพ็ชร, ยุวดี งอมสงัด, นิภา สุทธิพันธ์, ปิยะอร รุ่งธนเกียรติ, ปัณณทัต บนขนทด, เมธา พันธ์รัมย์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่9 2566; 17(1): 1-12.

Sok S, Pal K, Tuot S, Yi R, Chhoun O, Yi S. Health Behaviors among Male and Female University Students in Cambodia: A Cross-Sectional Survey. Journal of Environmental and Public Health 2020; 2020: 1-10.

Hassan MS, Hossain MK, Khan H. Prevalence and predictors of tobacco smoking among university students in Sylhet Division, Bangladesh. International Health 2019; 11(4): 306-313.

ยสินทร มีกูล, อรนภา ล่ำปิยะ, วุฒิฌาน ห้วยทราย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2565; 19(1): 76-88.

พัชรินทร์ มณีพงศ์, วลัยพร สิงห์จุ้ย, สัญญา สุขขา, เพ็ชรน้อย ศรีผุดผ่อง. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพ3อ2สของประชาชนจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี 2564; 4(1) : 84-93.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-21