ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในผู้สูงอายุ โรคความดันโลหิตสูง อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • เหมชาติ นีละสมิต สำนักงานสาธารณสุขอำเภอซำสูง

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การจัดการตนเอง, ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมและรายด้าน การจัดการตนเอง และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงรับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลซำสูง อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 88 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจง ระหว่างเดือนมีนาคม ถึง เมษายน 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและมีค่าความเชื่อมั่นด้านความรอบรู้สุขภาพ เท่ากับ 0.76 ด้านการจัดการตนเอง เท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สันและสถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 68.39 ปี (SD= 7.15) อายุระหว่าง 60-69 ปีร้อยละ 59.09 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 35.23 ระยะเวลาเป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่ระหว่าง 1-10 ปี ร้อยละ 68.18 ส่วนใหญ่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ร้อยละ 86.36 มีโรคแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 42.05 กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมในระดับปานกลาง (SD.=9.57) ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กับการจัดการตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p< .001 (r=.553) ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพในการดูแลผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงโดยส่งเสริมการจัดการตนเองผ่านการสนับสนุนความรอบรู้ด้านสุขภาพในทุกระดับ

References

World Health Organization. Hypertension. 2021[cited 2024 Feb 15]. Available from: https://www.who.int/news-room/

factsheets/detail/hypertension.

Benjamin E, Virani S, Callaway C, Chamberlain A, Chang A, Cheng S, On B. Heart disease and stroke statistics—2018 update: A report from the American Heart Association. Circulation. 2018;137(12):67-492.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รู้เลข รู้เสี่ยง เลี่ยงโรคไม่ติดต่อ;2566 [เข้าถึงเมื่อ

มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/191384/

Lorig KR, Holman HR. Self-management education: History, definition, outcomes, and mechanisms. The Society of Behavioral Medicine. 2003;26(1):1-7.

อามานี แดมะยุ, ศิริรัตน์ ปานอุทัย, พนิดา จันทโสภีพันธ์. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในผู้้สูงอายุไทยมุสลิมที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. วารสารสภาการพยาบาล. 2563; 35(3):87–107.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. HDC ขอนแก่น. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2567].

เข้าถึงได้จากhttps://kkn.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php

โรงพยาบาลซำสูง. ข้อมูล SAR โรงพยาบาลซำสูง ปี 2566. (สำเนารายงาน).2566.

Nutbeam D. Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International 2000;15(3):259-67.

ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์, นรีมาลย์ นีละไพจิตร. การสำรวจความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง. 2559. [เข้าถึงเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2567]. เข้าถึงได้จากhttp:// www.hed.go.th/News/5523.

ลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช, ปริญดา พีรธรรมานนท์, มนทยา สุนันทิวัฒน์, ภนิตา สรรพกิจภิญโญ, ภัณฑิลา สุภัทรศักดา, ศรัณย์ กอสนาน. ความแตกฉานทางสุขภาพของพระภิกษุสูงอายุในโรงพยาบาลสงฆ์. Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ 2561;11(1);2643-56.

จริยา นพเคราะห์, โรจนี จินตนาวัฒน์, ทศพร คำผลศิริ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2563;47(2): 251-61.

Bloom, Benjamin S.J. (ed). Taxonomy of Education Objective, Handbook 1: Cognitive Domain. New York: David Mckay;1975.

เบญจมาศ ถาดแสง. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและค่าความดันโลหิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง.พยาบาลสาร 2555;39(4) :124-36.

Kobayashi LC, Smith SG, O'Conor R, Curtis LM, Park D, von Wagner C, Deary IJ, Wolf MS. The role of cognitive function in the relationship between age and health literacy: a cross-sectional analysis of older adults in Chicago, USA. BMJ Open. 2015;5(4):1-8.

ธัญชนก ขุมทอง, วิราภรณ์ โพธิศิริ, ขวัญเมือง แก้วดำเกิง.ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้าน สุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในจังหวัดอุทัยธานีและอ่างทอง. Veridian E-Journal Science and Technology Silpakorn University2559;3(6) :67-85.

Nilnate W, Hengpraprom S, Hanvoravongchai P. Level of health literacy in Thai elders, Bangkok, Thailand. Journal of Health Research. 2016;30(5):315-21.

Davis TC, Wolf MS, Bass PF, Middlebrooks M, Kennen E, Baker DW, Parker RM. Low literacy impairs comprehension of prescription drug warning labels. Journal of General Internal Medicine. 2006;21(8):847-51. doi:10.1111/j.1525-1497.2006.00529.

รำไพ หน่อยบุญตัน, ศิริรัตน์ ปานอุทัย, ณัฐธยาน์ สุวรรณคฤหาสน์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในผู้สูงอายุที่มีภาวะเมแทบอลิกซินโดรม. พยาบาลสารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2564;49(1) :213-24.

สุมาพร สุจำนงค์, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, นิรัตน์ อิมามี.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตลาดขวัญ จังหวัดนนทบุรี.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2556; 29(2) :20-30.

Flynn SJ, Ameling JM, Hill-Briggs F, Wolff JL, Bone LR, Boulware E. Facilitators and barriers to hypertension self-management in urban African Americans: Perspectives of patients and family members. Patient Preference and Adherence. 2013;20(13):741-49. doi:10.2147/PPA.S46517.

พนิดา จันทร์ดีแก้วสกุล, นันทิยา วัฒายุ, นันทวัน สุวรรณรูป. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุที่ควบคุมไม่ได้. Journal of Nursing Science 2561;36(1) :31-43.

Geboers B, de Winter AF, Spoorenberg SL, Wynia K, Reijneveld SA. The association between health literacy and self-management abilities in adults aged 75 and older, and its moderators. Quality of Life Research. 2016;25(11):2869-77.

Heijmans M, Waverijn G, Rademakers J, van der Vaart R, Rijken M. Functional, communicative, and critical health literacy of chronic disease patients and their importance for self-management. Patient Education and Counseling. 2015;98(1).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-19