การศึกษาการบริหารกองทุนประกันสุขภาพคนต่างด้าวและแรงงานต่างด้าว เพื่อกำหนดนโยบายการจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ ในระบบประกันสุขภาพคนต่างด้าวและแรงงานต่างด้าว กระทรวงสาธารณสุข
คำสำคัญ:
การบริหารกองทุนประกันสุขภาพคนต่างด้าวและแรงงานต่างด้าว, การจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์, ระบบประกันสุขภาพคนต่างด้าวและแรงงานต่างด้าว , กระทรวงสาธารณสุขบทคัดย่อ
การศึกษานี้ ใช้วิธีวิจัยแบบผสมคู่ขนาน (parallel mixed methods) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ในระบบประกันสุขภาพคนต่างด้าวและแรงงานต่างด้าว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษา คือ คนต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนประกันสุขภาพคนต่างด้าวและแรงงานต่างด้าว และใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลกองทุนประกันสุขภาพคนต่างด้าวและแรงงานต่างด้าว ผลการศึกษา ประชากรต่างด้าวที่มีประกันสุขภาพคนต่างด้าวและแรงงานต่างด้าวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 541,905 ราย เป็นแรงงานต่างด้าวและผู้ติดตามอายุมากกว่า 7 ปี ร้อยละ 92.39 ผู้ติดตามแรงงานอายุไม่เกิน 7 ปี ร้อยละ 6.43 และคนต่างด้าว ร้อยละ 1.18 ประชากรต่างด้าวมีบัตรประกันสุขภาพ กระจายตามสัญชาติ เมียนมา ร้อยละ 64.31 กัมพูชา ร้อยละ 25.44 ลาว ร้อยละ 9.76 อย่างไรก็ตาม จำนวนคนต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนเพิ่มขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และลดลงในปีงบประมาณพ.ศ. 2566 การเข้ารับบริการของผู้ป่วยที่มีประกันสุขภาพคนต่างด้าวและแรงงานต่างด้าว พบว่า ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ผู้ป่วยต่างด้าวมารับบริการทั้งหมด กรณีผู้ป่วยใน จำนวน 15,463 คน คิดเป็นร้อยละ 2.85 ของคนต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนประกันสุขภาพ กรณีผู้ป่วยนอก จำนวน 7,620 คน คิดเป็นร้อยละ 1.41 ของคนต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนประกันสุขภาพ โดยสัญชาติเมียนมาเข้ารับบริการมากที่สุด ทั้งนี้ จำนวนคนต่างด้าวที่มารับบริการทั้งหมดลดลงในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และเพิ่มขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการใช้บริการของประชากรต่างด้าว รายการที่มีการจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ กรณีค่าใช้จ่ายสูง กรณีผู้ป่วยใน มากที่สุดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และ 2566 คือ รายการผู้ป่วยในที่มีน้ำหนัก RW >=4 (ร้อยละ 63.59 และ 60.92 ตามลำดับ) สำหรับกรณีผู้ป่วยนอกรายการที่มีการจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ กรณีค่าใช้จ่ายสูงจากกองทุนประกันสุขภาพคนต่างด้าวและแรงงานต่างด้าวมากที่สุดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และ 2565 ได้แก่ รายการยาต้านไวรัสเอดส์ (ยา ARV) (ร้อยละ 67.18 และ 58.75 ตามลำดับ)
References
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://sdgs.nesdc.go.th/.
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน. ข้อมูลสถิติการทำงานของคนต่างด้าว [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก:https://www.doe.go.th/prd/alien/statistic/param/site/152/cat/82/sub/73/pull/subcategory/view/list-label.
นิ่มอนงค์ สายรัตน์, วิน เตชะเคหะกิจ, ชิษณุชา สายรัตน์. การบริหารกองทุนประกันสุขภาพคนต่างด้าว แรงงานต่างด้าว ภายหลังการถ่ายโอนสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษานวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใน 4 จังหวัด. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2566; 32(1): S161 – S169.
ธนพร บุษบาวไล, ดนัย ชินคำ, ศรวณีย์ อวนศรี, มณีโชติรัตน์ สันธิ, ศุภวรรธน์ เพิ่มผลสุข. การศึกษาทบทวนชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้บัตรประกันสุขภาพคนต่างด้าว ของกระทรวงสาธารณสุข. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.); 2563.
กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการดำเนินงานประกันสุขภาพของประชากรต่างด้าว ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2567]. เข้าถึงได้จาก:https://dhes.moph.go.th/?p=18638
กลุ่มประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. มาตรการและแนวทางการดำเนินงานตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพคนต่างด้าว กระทรวงสาธารณสุข ปี 2558; 2558.
กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. มาตรการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2562; 2562.
กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. มาตรการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2563; 2563.
กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ พ.ศ. 2564; 2564.
กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565; 2565.
กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2566; 2566.
บุรินทร์ เลิศไพบูลย์,ณัฐฐา ยนตรจิตภักดี. ระบบการจัดทำรายงานเพื่อการบริหารจัดการตามกลุ่มสิทธิผู้ป่วย Patient Segmentation. เอกสารประกอบการประชุม THAILAND QUALITY CONFERENCE & The 19th Symposium on TQM Best-Practices in Thailand; 2561.
ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์, สิรินาฏ นิภาพร, หทัยรัตน์ โกษียาภรณ์, เยาวลักษณ์ แหวนวงษ์,
สตพร จุลชู, พิกุลแก้ว ศรีนาม, วราภรณ์ ปวงกันทา, มธุดารา ไพยารมณ์, วีระศักดิ์ พุทธาศรี. การจัดระบบชดเชยค่าบริการการแพทย์ กรณีสิทธิประโยชน์การป้องกันและรักษาโรคเอชไอวี/เอดส์ สำหรับประชากรต่างด้าวในประเทศไทย. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.); 2562.
จิรวัฒน์ บุญรักษ์ (2566). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานกองทุนประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว จังหวัดพังงา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 2566 10(3), 263 – 278
ณัทชุดา จิรทวีธรรม และชาญชัย เสี้ยวทอง. การพัฒนาการให้บริการคนต่างด้าวของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจังหวัดยโสธร. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2563; 5(2): 58 – 74.
พรรณรัตน์ อาภรณ์พิศาล, จิดาภา ถิรศิริกุล, พรเทพ ศิริวนารังสรรค์. ปัจจัยการจัดการสาธารณสุขส่งผลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ. 2561; 11(3): 307-316.
พัชรี ประไพพิณ, วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์, ชวนันท์ สุมนะเศรษฐกุล. การใช้บริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติในกรุงเทพมหานคร:กรณีศึกษาโรงพยาบาลวชิรพยาบาล. เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2561 มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช;2561. น. 89-100
เพ็ญประภา พรศรีเมตต์, กนกรัตน์ ไสยเลิศ. การพัฒนาประสิทธิภาพระบบการเบิกชดเชยค่าบริการสาธารณสุขในระบบ Diagnosis Related Groups. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2559; 25(5): 865-871.
วรรณวดี พูนพอกสิน. หลักประกันสุขภาพเพื่อการคุ้มครองแรงงานต่างด้าว: มุมมองจากต้นทุนของสังคมไทย. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. 2562; 26(1): 1-33.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว