ผลของการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ทางไกลเครือข่ายสุขภาพอำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • อรภัทร วิริยอุดมศิริ โรงพยาบาลโนนสุวรรณ

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยเบาหวาน, ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง, เทคโนโลยีการแพทย์ทางไกล, แนวคิดระบบสุขภาพขององค์การอนามัยโลก

บทคัดย่อ

          การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาประสิทธิผลการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ทางไกล เครือข่ายสุขภาพอำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ ประยุกต์ร่วมกับแนวคิดระบบสุขภาพองค์การอนามัยโลก ศึกษาปัญหา บริบท การพัฒนาแนวทางการแพทย์ทางไกล ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของสหวิชาชีพทุกกระบวนการ    กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง รวม 15 คน และผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ตรวจรักษาด้วยการแพทย์ทางไกล ระหว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ.2566 ถึง  31 มีนาคม พ.ศ.2567 ทั้งสิ้น 350 คน เป็นเบาหวาน 194 คน ความดันโลหิตสูง 156 คน คัดเลือกแบบเจาะจง วัดผลโดยใช้แบบประเมินประสิทธิผลการดูแลผู้ป่วยด้วยการแพทย์ทางไกล โดยใช้โปรแกรมหมอพร้อมร่วมกับตรวจรักษาผ่าน Zoom วิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ paired t test และประเมินประสิทธิผลใช้สถิติ one sample t test ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยต้องการการสนับสนุนช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ขาดการส่งต่อข้อมูล ผู้ป่วยควบคุมน้ำตาลและความดันไม่ได้ เมื่อพัฒนารูปแบบการดูแล พบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีค่าเฉลี่ย FBS ลดลงจาก 197.70 เป็น 156.60 mg/dl ค่าเฉลี่ย HbA1C ลดลงจาก 9.03 เป็น 7.30 % ลดจากก่อนพัฒนา ระดับซิสโทลิกเฉลี่ยลดลงจาก 143.22 เป็น 135.62 mmHg ค่าเฉลี่ยความดันไดแอสโทลิก เฉลี่ยลดลงจาก 87.45 เป็น 77.18 mmHg ลดจากก่อนพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value < 0.001) และความพึงพอใจต่อระบบบริการอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.62,         SD = 0.48) ดังนั้นรูปแบบการพัฒนานี้สามารถลดระดับน้ำตาลและความดันโลหิตสูงได้เข้าถึงบริการสะดวก ผู้ป่วยพึงพอใจมาก

References

สมเกียรติ โพธิสัตย์, สถิตย์ นิรมิตมหาปัญญา, ชัยชาญ ดีโรจน์วงศ์, วีระศักดิ์ศรินนภากร, นภา ศิริวิวัฒนากุล, สิทธิชัย อาชายินดี และคณะ. โรคเบาหวาน Thailand Medical Services Profile 2011 –2014. [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน2566]; เข้าถึงจาก: https://www.hiso.or.th

/thaihealthstat/report/ThailMedicalServices.php?y=2014&l=tmsp1.0

กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ. รายงานสถาน–การณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องปี 2562 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 1 พ.ค.2566]. เข้าถึงจากhttps://ddc. moph.go.th/uploads/publish/1035820201005073556.pdf

สถาบันพระปกเกล้า. ก้าวข้ามความเหลื่อมล้ำ : ความท้าทายของสังคมไทย.กรุงเทพฯ:สถาบันพระปกเกล้า. 2562.

ไพศาล มุณีสว่าง. รายงานโครงการพัฒนาต้นแบบของเทคโนโลยีที่ช่วยในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบทโดยผ่านเครือข่ายดิจิทัลความเร็วสูง.[อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 1 พ.ค. 2566]. เข้าถึงจาก http://nuradio.nu.

ac.th/?p=4096.

World Health Organization. A health telematics policy: Report of the WHO Group consultation on health telematics Geneva, 11–16 December 1997. World Health Organization. 1998.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์. 2560.

กองบริหารสาธารณสุข. (2563). การดำเนินการจัดบริการทางการแพทย์วิถีใหม่ (New normal Medical Service). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. 2563.

Gunawan J, Aungsuroch Y, Marzilli C. New Normal in Covid-19 Era: A Nursing Perspective from Thailand. J Am Med Dir Assoc. 2010;21(10), 1514-1515.

ราม รังสินธุ์, มฑิรุทธ มุ่งถิ่น, ปนัดดา หัตถโชติ, บุญทรัพย์ ศักดิ์บุญญารัตน์, ยุภาพร ศรจันทร์. การพัฒนารูปแบบบริการปฐมภูมิสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยใช้นวัตกรรมเครือข่ายผู้ช่วยเหลือผู้ป่วยที่บ้าน. สถาบันวิจัย ระบบสาธารณสุข. 2563.

กิตติภพ แจ่มโสภณ. ประสิทธิผลของหน่วยบริการสุขภาพโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบเคลื่อนที่ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของคลินิกหมอครอบครัวชุมชนกังแอน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. PCFM.2563;3(3), 21-34. 2563.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการใช้ DMS Telemedicine กรมการแพทย์ Version 1.0 (2023) . กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2566; 6-22.

รุจฬ์สวัตต์ ครองภูมินทร์. การแพทย์ทางไกลแอปพลิเคชันพบหมอกับความปกติใหม่หลังโควิด 19 ด้วยมุมมองทางทฤษฎีสื่อสารมวลชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 2564; 17(1):18–36.

วนิดา สมภูงา, มะลิ สุปัตติ. ประสิทธิผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรคเบาหวานด้วยหลักการ 6 building blocks จังหวดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2565;15(1):142–55

ประเสริฐ บินตะคุ. (2566). การจัดบริการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีผ่านระบบการแพทย์ทางไกล ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (Telemedicine NCDs on Cloud). วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 16(3), 127-140.

บุษยมาส บุศยารัศมี. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงในยุควิถีใหม่ เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2566;42(1): 63-77.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-21