ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการระบบการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉินและฉุกเฉินเร่งด่วนที่มารับบริการที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สิทธิพงษ์ ศิริประทุม โรงพยาบาลชุมแพ
  • ชญานิศ ศรีรักษา โรงพยาบาลชุมแพ
  • นรินทร์ทิพย์ พรมภักดี โรงพยาบาลชุมแพ

คำสำคัญ:

การใช้บริการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน, ผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉิน, ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional AnalyticalResearch)เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉิน(Resuscitative)และฉุกเฉินเร่งด่วน(Emergency) ที่มารับบริการที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมแพจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉินและฉุกเฉินเร่งด่วน จำนวน 300 ราย ที่เข้ารับบริการที่ห้องฉุกเฉิน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562ถึง มกราคม 2563 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลใช้สถิติพรรณนา โดยนำมาแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานข้อมูลแบบสอบถามปัจจัยมีผลต่อการใช้บริการระบบการแพทย์ฉุกเฉินในผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินและผู้ป่วยฉุกเฉินนำมาแจกแจงความถี่ ตามระดับความคิดเห็นและหาค่าร้อยละ รวมทั้งวิเคราะห์เป็นค่าคะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานพร้อมทั้งแปรผลของความคิดเห็น วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลตัวแปรใช้ สถิติวิเคราะห์ ใช้สหสัมพันธ์อย่างง่าย (Pearson’s correlation) และสมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านทัศนคติ คุณภาพระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินและแรงสนับสนุนทางสังคมมีผลต่อการเลือกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<.01)และสามารถอธิบายความแปรปรวนการเลือกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินได้ร้อยละ 55.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2=0.55, F=40.04, P<.01) ผลการศึกษาจึงควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงประโยชน์ของการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินมากขึ้น การให้ความรู้ประชาชนทราบถึงอาการฉุกเฉินที่ถูกต้อง ตลอดจนพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินให้มีคุณภาพเพื่อผู้รับบริการสามารถเรียกใช้บริการได้รวดเร็วและปลอดภัย

References

สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ. การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต.ขอนแก่น:คลังนานาวิทยา; 2551.

กิตติพงศ์ พลเสน, พรทิพย์ วชิรดิลก, ธีระ ศิริสมุด, นายสุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, และณัฐวุฒิ คำนวณฤกษ์. สถานการณ์และปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่ใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินที่เข้ารับบริการแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินในประเทศไทย (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2559.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560 – 2564. 2560. [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 7 มิถุนายน 2567]. เข้าถึงได้จาก https://www2.niems.go.th.

วิทยา ชาติบัญชาชัย, และไพศาล โชติกล่อม. สถิติผู้ป่วยที่มาด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS Service) และผู้ป่วยที่มารับการรักษา ณ ห้องฉุกเฉิน (ER Visit) ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2554 (เอกสารอัดสำเนา). ขอนแก่น: ศูนย์อุบัติเหตุและวิกฤตบำบัด โรงพยาบาลขอนแก่น; 2556.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. แผนการพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3.1 พ.ศ.2562-2564 (ปรับปรุงจากแผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560-2564); 2560. [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 7 มิถุนายน 2567]. เข้าถึงได้จาก https://www2.niems.go.th.

HSIEH, F. Y. Sample size tables for logistic regression. Statistics in medicine. 1989; 8(7): 795-802.

ธงชัย อามาตยบัณฑิต. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการระบบการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉิน เร่งด่วนและวิกฤต ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2560; 26(5): 883-895.

ธงชัย อามาตยบัณฑิต, นิพนธ์ มานะสถิตพงศ์, อินทนิล เชื้อบุญชัย, เสาวนีย์ โสบุญ, บดินทร์ บุญขันธ์ การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้บริการในระบบการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2560; 11(1): 37-46.

สุรภา ขุนทองแก้ว. การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดราชบุรี.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2562; 2(1): 30-44.

ทิพย์วดี วุฒิพันธ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในผู้ป่วยวิกฤตโรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2565; 19(3): 53-66. [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อเมื่อ 20มิถุนายน 2567.]. เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/ view/259890/177843.

นงคราญ ใจเพียร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินและฉุกเฉินเร่งด่วนในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง. วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ. 2564; 22(1): 52-66.

แสงอาทิตย์ วิชัยยา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ระบบการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วนและผู้ป่วยวิกฤติในโรงพยาบาลฝาง. เชียงรายเวชสาร. (2561); 10(1): 93-102.

เจริญ ปราบปรี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดพัทลุง. วารสารสานักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2563; 2(2): 199-212.

วิชญา จันจะนะ, แสงจันทร์ เชียงทา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ เครือข่ายระดับอำเภอ. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย. 2566; 3(2): 97-108.

จิตรประไพ สุรชิต. การรับรู้และความคาดหวังต่อระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลปากน้าหลังสวน จังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการแพทย์เขต. 2560; 31(2): 271-278.

ธีระ ศิริสมุด, กิตติพงศ์ พลเสน,พรทิพย์ วชิรดิลก. ความรู้ ทัศนคติ และเหตุผลที่ไม่เรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2561; 12(4): 668-680.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30