ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมตามหลัก 3อ. 2ส.ของผู้ป่วยโรคเบาหวานวัยผู้ใหญ่ ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • พรภัทรา แสนเหลา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ศรีอุบล อินแป้น คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวิสเทิร์นบุรีรัมย์
  • สายนาถ หวานนุรักษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ณัฐกฤตา ลีเบาะ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคเบาหวานวัยผู้ใหญ่, ความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ, พฤติกรรม 3อ. 2ส.

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางด้านสุขภาพกับพฤติกรรมตามหลัก 3อ.2ส. ของผู้ป่วยโรคเบาหวานวัยผู้ใหญ่ ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานวัยผู้ใหญ่ ในตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 127 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม แบบวัดความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพ สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานของกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข คุณภาพของเครื่องมือวิจัย วิเคราะห์ด้วยค่า Cronbach' alpha coefficient ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.70 - 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยความรอบรู้กับพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเบาหวาน สถิติหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Pearson’s chi-square หรือ Fisher’s Exact Test และ Pearson’s Correlation ผลการวิจัย พบว่า รายได้ มีความสัมพันธ์กับระดับพฤติกรรมการปฏิบัติตามหลัก 3อ. 2ส. ของผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=12.88, p-value=0.012) การตัดสินใจที่ถูกต้องในการปฏิบัติตัวในอนาคตมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับพฤติกรรมการปฏิบัติตามหลัก 3อ. 2ส. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= 0.189, p-value =0.033)  ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมการตัดสินใจเพื่อให้เกิดการปฏิบัติที่เหมาะสม และให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้ที่มีรายได้น้อย เพื่อให้มีการแสวงหาความรู้ ต้องการความช่วยเหลือ ตลอดจนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานนำไปสู่ในการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์การเกิดโรคเบาหวานในประเทศไทย ประจำปี 2561. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2561.

เกศินี สราญฤทธิชัย. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: แนวคิด ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2564.

วัชราพร เชยสุวรรณ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: แนวคิดและการประยุกต์สู่การปฏิบัติการพยาบาล. วารสารแพทย์นาวี. 2565;44(3):184-8.

อภิญญา อินทรรัตน์. ความฉลาดทางสุขภาพของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ. วารสารพยาบาลทหาร. 2557;15(3):174-8.

ชินตา เตชะวิจิตรจารุ. ความรอบรู้ทางสุขภาพ: กุญแจสำคัญสู่พฤติกรรมสุขภาพและผลลัพธ์สุขภาพที่ดี. วารสารพยาบาลทหารบก. 2561;19(ฉบับพิเศษ):1-11.

Wayne WD. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences. 6th ed. New York: John Wiley & Sons, Inc.; 1995. p. 180.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล. การพัฒนาเครื่องมือวัดความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพ (Health Literacy) สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง. เข้าถึงเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566.

เข้าถึงได้จาก:https://www.nkp-hospital.go.th/th/H.ed/mFile/20180122115054.pdf

อัจฉรา จินดาวัฒนวงศ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต. 2565;2(3):25-36.

ภมร ดรุณ, ประกันชัย ไกรรัตน์. ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนจังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2562;15(3):71-82.

มนตรี นรสิงห์, สุทธิพันธ์ ถนอมพันธ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรือความดันโลหิต กรณีศึกษาโรงพยาบาลนครพิงค์. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์. 2562;10(1):35-50.

วีรยุทธ สนธิเมือง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานในกลุ่มชาวเลอูรักลาโว้ย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร. 2565;5(2):68-78.

โรงพยาบาลกรุงเทพ. ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กับแรงบันดาลใจในการออกกำลังกาย. เข้าถึงเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566. เข้าถึงได้จาก: https://www.bangkokhospital.com/content/motivation-to-exercise-for-diabetics-type-2

วีระศักดิ์ ดำรงพงษ์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารโรคและภัยสุขภาพสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์. 2565;16(2):51-63.

กฤษฎา เจริญรื่น. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลกุดชมภู อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา. 2566;3(2):online 1-13.

อารยา เชียงของ, พัชรี ดวงจันทร์, อังศินันท์ อินทรกำแหง. ความรอบรู้ทางสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานวัยผู้ใหญ่: ประสบการณ์ของการเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานและมุมมองที่เกี่ยวข้องกับความรอบรู้ทางสุขภาพ. วารสารเกื้อการุณย์. 2560;24(2):162-78.

วรรณรัตน์ รัตนวรางค์, วิทยา จันทร์ทา. ความฉลาดทางสุขภาพด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดชัยนาท. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบราราชชนนี นครราชสีมา. 2561;24(2):34-51.

จิราภรณ์ อริยสิทธิ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร. 2564;18(2):142-55.

กิตติพศ วงศ์นิศานาถกุล. ความฉลาดทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้ารับบริการ ณ ศูนย์เวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2561;8(1):49-61.

เนตรนภา กาบมณี, สิริลักษณ์ อุ่ยเจริญ, ฐิติวรรณ โยธาทัย. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2564;24(1):23-33.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-27

How to Cite

1.
แสนเหลา พ, อินแป้น ศ, หวานนุรักษ์ ส, ลีเบาะ ณ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมตามหลัก 3อ. 2ส.ของผู้ป่วยโรคเบาหวานวัยผู้ใหญ่ ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. JKKPHO [อินเทอร์เน็ต]. 27 มีนาคม 2025 [อ้างถึง 5 พฤษภาคม 2025];7(1):e269948. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/269948