ประสิทธิผลโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้สูงอายุ โรงพยาบาลหนองนาคำ อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • จุฬารัตน์ ขยันควร โรงพยาบาลหนองนาคำ

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างพลังอำนาจ, โรคหลอดเลือดสมอง, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (quasi - experimental research pre-posttest design) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้สูงอายุ โรงพยาบาลหนองนาคำ อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในอำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่นจำนวน 50 ราย เลือกโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple random sampling) เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง และการรับรู้ประโยชน์ที่จะได้รับ ก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ส่วนการรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) พฤติกรรมการป้องกันโรคพบว่า การรับประทานอาหาร การจัดการความเครียด และการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติ (p >0.05) ส่วนพฤติกรรมออกกำลังกาย ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้สูงอายุนี้ควรนำไปใช้ในการส่งเสริมการรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง และส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

References

World Health Organization. Noncommunicable diseases. [internet]. 2018. cited [2023 December 15]; Available from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/noncommunicable-diseases

ศิริรัตน์ ผ่านภพ. ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2563; 13(2): 528-539

กระทรวงสาธารณสุข. ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ Health Data Center : HDC). 2567.

ศิริรักษ์ ปานเกตุ, พรสุข หุ่นนิรันดร์. การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้สูงอายุโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เขตสุขภาพที่ 4. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 2565; 7(7): 132-149

พัฒนา เศรษฐวัชราวนิช, เสน่ห์ คล้ายบัว, ณิชมล หลำรอด, วดีรัตน์ ศรีวงศ์วรรณ. การเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนเพื่อการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2563; 13(2): 86-98

วรดา ทองสุก. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมสุขภาพ ดัชนีมวลกายและระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมมหาบัณฑิต. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2562.

ดวงธิดา โสดาพรม. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง เขตเทศบาลเมืองอรัญญิก อำเภอ เมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุข ศาสตรมหาบัณฑิต. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2565.

เอกภพ จันทร์สุคนธ์, อนงค์นาฎ คงประชา. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในชุมชน. PSRU Journal of Science and Technology. 1560; 2(1): 24-34

ชวนพิศ ศิริไพบูลย์, อิทธิพล ดวงจินดา, กันธิมา ศรีหมากสุก, ศรีสุรางค์ เคหะนาค, อังคณา บุญครอง. ความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุไทยในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2564; 14(2): 94-108

Gibson CH. A study of empowerment in mothers of chronically ill children. [Thesis]. Boston: Boston College; 1993.

Rosenstock M. Historical origins of the health belief model. Health Education, Monographs. 1974; 2: 328-335.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ : การคำนวณขนาดตัวอย่างเพื่อการเปรียบเทียบสัดส่วนระหว่างประชากรสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระ ต่อกัน. ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2547; 177-180

สายสุนี เจริญศิลป์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง อำเภอเมืองจังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุข ศาสตรมหาบัณฑิต. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.

จารวี คณิตาภิลักษณ์, ทศพร คำผลศิริ, ลินจง โปธิบาล. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง. พยาบาลสาร. 2563; 47(1): 222-231

รัตนาภรณ์ เอี่ยมพรม. ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจในการป้องกันโรคในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองในจังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2565.

บุบผา นรสาร, ธนิดา ผาติเสนะ. การพัฒนาพฤติกรรมการออก กำลังกาย โดยกระบวนการเสริมสร้างพลังอานาจในผู้สูงอายุ บ้านยองแยงตำบลหนองระเวียง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2563; 43(1): 54-65

ศิริรัตน์ ผ่านภพ, นภาเพ็ญ จันทขัมมา, มุกดา หนุ่ยศรี. ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2563; 13(2): 528-539

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-29