การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วยในศตวรรษที่ 21 ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
องค์ประกอบสมรรถนะ, หัวหน้าหอผู้ป่วย, ศตวรรษที่ 21, โรงพยาบาลตติยภูมิบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงบรรยายนี้ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วยในศตวรรษที่ 21 ศึกษาในพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ภาตะวันออกเฉียงเหนือ มีระยะเวลาปฏิบัติงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน มีจำนวน 435 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามสมรรถนะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.88 ค่าความเชื่อมั่นโดยคำนวณสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาคเท่ากับ 0.89 ผู้วิจัยส่งเอกสารข้อมูลทางไปรษณีย์ไปยังผู้ประสานงาน มีการตอบแบบสอบถามคืนกลับมาคิดเป็นร้อยละ 98.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงสำรวจ องค์ประกอบมีตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป มีน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ 0.3 ขึ้นไปผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วยในศตวรรษที่ 21 ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 11 องค์ประกอบ โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ เท่ากับ 0.41-0.86 อธิบายความผันแปรของตัวแปรทั้งหมดได้ ร้อยละ 60.05 ได้แก่ 1) ด้านการบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพการพยาบาล 2) ด้านการบริหารจัดการในสถานการณ์โควิด-19 3) ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ จริยธรรม 4) ด้านภาวะผู้นำ 5) ด้านการจัดการความเสี่ยงและความปลอดภัย 6) ด้านเทคโนโลยี และสารสนเทศทางการพยาบาล 7) ด้านนโยบายระบบสุขภาพและธุรกิจการตลาด 8) ด้านการสนับสนุนการทำงานเป็นทีมและโน้มน้าวใจ 9) ด้านการคิดวิเคราะห์ และการจัดสรรทรัพยากร 10) ด้านการสื่อสารและการประสานงาน 11) ด้านการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย สามารถนำไปใช้เป็นตัวชี้วัดสำหรับการพัฒนาเครื่องมือประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วยในศตวรรษที่ 21 ภายใต้บริบทของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิที่มีความสอดคล้องกับบริบทหรือขอบเขตงานในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน
References
สุนันทา เลาหนันทน์. การพัฒนาองค์กร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ดี ดี บุ๊คสโตร์; 2556.
Drucker PF. Managing in the next society. New York: St. Martin’s Griffin; 2003.
กระทรวงสาธารณสุข. นโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.spko.moph.go.th/wp– content/uploads/2021/09/ policy65.pd.
สภาการพยาบาล. ประกาศของสภาการพยาบาลเรื่อง สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ. นนทบุรี: สภาการพยาบาล; 2556.
ธนตพร อ่อนชื่นชม. การศึกษาสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา; 2560.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการพัฒนาองค์กรสมรรถนะสูง กระทรวงสาธารณสุข MOPH-4T. กรุงเทพฯ; 2566.
ธีรพร สถิรอังกูร, คณะ. การพัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2564; 30(2): 153-165.
Comrey AL, Lee HB. A first course in factor analysis. 2nd ed. Hillsdale, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates; 1992.
วรรณชนก จันทชุม. การวิจัยทางการพยาบาล การเลือกตัวอย่างและกำหนดขนาดตัวอย่าง. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2545.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดการองค์การพยาบาลในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.
Moghaddam NM, Jame SZ, Rafiei S, Sarem A, Ghamchili A, Shafii M. Managerial competencies of head nurse: a model and assessment tool. 2018.
สุทธิชารัตน์ เจริญพงศ์, คณะ. ภาวะผู้นำด้านความปลอดภัย: ก้าวใหม่ที่ท้าทายของผู้นำทางการพยาบาล. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา. 2564; 15(3): 121-134.
อมรทิพย์ อังกูรภัครวัฒน์, พัชราภรณ์ อารีย์, เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. สมรรถนะสารสนเทศและดิจิทัลทางการพยาบาลของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นในโรงพยาบาลตติยภูมิ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2565; 30(1): 114-125.
พิชา คนกาญจน์. ผู้นำและการจัดการทางการพยาบาลยุคใหม่. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี. 2564; 30(1): 1-12.
Monir Nobahar, Ameri M, Goli S. The relationship between teamwork, moral sensitivity, and missed nursing care in intensive care unit nurses. BMC Nursing. 2023; 22(1):241-248.
เปรมฤดี ศรีวิชัย, กันติยา ลิ้มประเสริฐ. พฤติกรรมการสื่อสารของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลทั่วไปจังหวัดพะเยา. วารสารพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2562; 37(1):137-148.
จารุพรรณ ลีละยุทธโยธิน. การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลวชิรพยาบาล. วารสารเกื้อการุณย์. 2560; 24(2): 98-112.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว