ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะพยาบาลงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน ระดับ M2 เขตสุขภาพที่ 7

ผู้แต่ง

  • ขนิษฐา ทาพรมมา โรงพยาบาลบ้านไผ่
  • สมปรารถนา ดาผา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, พยาบาลงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน, โรงพยาบาลชุมชน ระดับ M2

บทคัดย่อ

การวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะพยาบาลงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน ระดับ M2 เขตสุขภาพที่ 7 เก็บข้อมูลจากพยาบาลงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินจำนวน 173 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะพยาบาลงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และสมรรถนะพยาบาลงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.85, 0.90 และ 0.92 และตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.96 และ0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะพยาบาลงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชน ระดับ M2 เขตสุขภาพที่ 7 ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน ระดับ M2 เขตสุขภาพที่ 7 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.39, S.D.=0.51) 2) ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่ร่วมกันพยากรณ์สมรรถนะพยาบาลงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน ระดับ M2 เขตสุขภาพที่ 7 ได้แก่ นโยบายการแพทย์ฉุกเฉินและการบริหารงาน อายุ และการนิเทศทางการพยาบาล ได้ร้อยละ 31.4 ( ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 แสดงว่ายังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจมีอิทธิพลต่อสมรรถนะพยาบาลงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินอีกร้อยละ 68.60 เช่น ความก้าวหน้าในวิชาชีพ การทำงานเป็นทีม และแรงจูงใจ ซึ่งอาจต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อนำผลการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

References

กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข). นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2559.

สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล (ปรับปรุงครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2556.

จุฬารัตน์ แซ่พั่ง. สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินในการจัดการความปวด ผู้บาดเจ็บและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2560.

อารีย์ เสถียรวงศา. การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2561

กรองได อุณหสูต. สมรรถนะที่จําเป็นของพยาบาลอุบัติเหตุในการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุ. วารสาร สมาคมแพทย์อุบัติเหตุแห่งประเทศไทย. 2554; 30(2): 73-7.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ20ปี (พ.ศ.2561-258 นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ) ; 2561.

ณัฏฐาสิริ ยิ่งรู้ และฉัตรปารี อยู่เย็น. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมในการทำงานและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2556.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3.1 พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: บริษัท อัลทิเมท พริ้นติ้ง จำกัด; 2561.

เพลินตา พิพัฒน์สมบัติ, สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ และนงลักษณ์ จินตนาดิลก. องค์ประกอบและตัวชี้วัดที่เหมาะสมในการบริหารองค์การพยาบาลในโรงพยาบาลตติยภูมิสังกัดกระทรวง.สาธารณสุข. วารสารพยาบาล. 2558 ตุลาคม-ธันวาคม; 64(4): 25-34.

ศรีผาสุข พึ่งศรีเพ็ง. การปฏิบัติตามมาตรฐานทางการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข. 2560; 3(2): 180-192.

Proctor B. Training for the supervision alliance: attitude, skills and intention. In: Butterworth T, Cutcliffe JR, Proctor B, editors. Fundamental themes in clinical supervision. London: Routledge; 2001. p. 25-46.

Thondike RM. Correlation procedures for research. New York: Gardner Press; 1978.

ประคอง กรรณสูตร. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการจัดบริการห้องฉุกเฉินที่เหมาะสมกับระดับศักยภาพสถานพยาบาล.(พิมพ์ครั้งที่2).นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือมาตรฐานปฏิบัติงานและการให้ บริการกองการพยาบาล. โรงพยาบาลทหารผ่านศึก องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-29