การพัฒนาโปรแกรมกลุ่มบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจสำหรับผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีปัญหาการใช้สารแอมเฟตามีน
คำสำคัญ:
การบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ, ผู้ป่วยโรคจิตเภท, สารแอมเฟตามีนบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลโปรแกรมกลุ่มบำบัด เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจเพื่อลดพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีน และอาการทางจิตในผู้ป่วยโรค จิตเภทที่มีปัญหาการใช้สารแอมเฟตามีน วิธีวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน 1) วิจัยและพัฒนาโปรแกรมต้นแบบ ได้แก่ ศึกษาสภาพการณ์ พัฒนาโปรแกรม ศึกษาความน่าเชื่อถือ และปรับปรุง 2) ทดลองใช้โปรแกรม โดยวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มมีการวัดซ้ำ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองเพื่อรับการบำบัดตามโปรแกรมฯ และกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ โปรแกรมการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจต้นแบบ แบบประเมินการเสพ แอมเฟตามีน แบบวัดความตั้งใจในการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำ และแบบประเมินอาการทางจิตชนิดสั้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และ 3) สรุปผลและเผยแพร่นวัตกรรม ผลการศึกษาพบว่าโปรแกรมมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ เท่ากับ 0.89 ประกอบด้วยการบำบัดรายกลุ่มสำหรับผู้ป่วย 5 ครั้ง การบำบัดรายบุคคลพร้อมญาติ 2 ครั้ง การประเมินผลหลังสิ้นสุดการบำบัด และในระยะติดตาม 1 เดือน กลุ่มทดลองมีความตั้งใจในการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำเพิ่มขึ้น ปริมาณการใช้สารแอมเฟตามีน และอาการทางจิตลดลงกว่า ก่อนทดลอง และแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสรุปโปรแกรมกลุ่มบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ เหมาะสมต่อการใช้บำบัดผู้ป่วยจิตเภทที่มีปัญหาการใช้สาร แอมเฟตามีน และสอดคล้องบริบทของโรงพยาบาลจิตเวช จึงเป็นทางเลือกที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลดการใช้สารแอมเฟตามีน
References
Voce A, McKetin R, Burns R, Castle D, Calabria B. The relationship between illicit amphetamine use and psychiatric symptom profiles in schizophrenia and affective psychoses. Psychiatry Research 2018; 265: 19–24.
McKetin R, Baker AL, Dawe S, Voce A, Lubman DI. Differences in the symptom profile of methamphetamine-related psychosis and primary psychotic disorders. Psychiatry Res 2017; 251:349-354.
Hung Y-Y, Chan H-Y, Pan Y-J. Risk factors for readmission in schizophrenia patients following involuntary admission. PLoS ONE 2017; 12(10), e0186768.
Thomsen KR, Thylstrup B, Pedersen MM, Pedersen MU, Simonsen E, Hesse M. Drug-related predictors of readmission for schizophrenia among patients admitted to treatment for drug use disorders. Schizophrenia Research 2017; 195: 495-500.
โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์. รายงานสรุปผลการปฏิบัติงานโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ประจำปีงบประมาณ 2562-2564. ขอนแก่น: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต; 2562-2564.
วีณา บุญแสง และคณะ, คู่มือโปรแกรมบูรณาการการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชสุรา/ยา/สารเสพติดที่มีโรคร่วมทางจิตเวช (ICOD-R) ฉบับปรับปรุง. นนทบุรี: กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2564.
กนกวรรณ กิตติวัฒนากูล และคณะ. ผลการศึกษาการบำบัดผู้ป่วยที่มีปัญหาการใช้ยาเสพติด ที่มีอาการทางจิตร่วมในระบบบังคับรักษา รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2563. โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์. ขอนแก่น: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต; 2564.
ศุภรัตน์ เวชสุวรรณ, นิมิต แก้วอาจ, ผอูนรัตน์ นิลพันธุ์, นิภา ยอดสง่า. ผลของโปรแกรมการบำบัดแบบบูรณาการต่อพฤติกรรมการเสพสุราหรือสารเสพติดและอาการทางจิตในผู้ป่วยสุราและสารเสพติดที่มีโรคร่วมทางจิตเวช. ขอนแก่น: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์; 2559.
ปรารถนา คำมีสีนนท์, ไพรวัลย์ ร่มซ้าย และศิริพร ธงยศ. ผลของการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจโดยครอบครัวมีส่วนร่วมต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาสำหรับผู้ป่วยโรคจิตเภท. ขอนแก่น: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต; 2561.
Hammerbacher M, Lyvers M. Factors associated with relapse among clients in Australian substance disorder treatment facilities. Journal of Substance Use 2006; 11(6): 387-394.
Miller WR, Rollnick S. Motivation Interviewing: Preparing people to change addictive behaviors. New York: The Guilford Press; 1991.
นันทา ชัยพิชิตพันธ์. การบำบัด เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ: ทางเลือกเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเสพติด. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2556; 13(1): 98-108.
ก้องเกียรติ อุเต็น, จารุณี รัศมีสุวิวัฒน์, วิชชุดา ยะศินธุ์, วิมลวรรณ คำลือ, พุทธชาด ศรีสุวรรณ์. การพัฒนาโปรแกรมการบำบัดแบบบูรณาการต่อ การป้องกันการกลับไปเสพซ้ำในผู้ที่เป็นโรคจิตจากแอมเฟตามีน. โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต; 2565.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. ชุดความรู้และแนวทางปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยจิตเภท. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย; 2545.
ดรุณี ภู่ขาว. การพัฒนาและตรวจสอบประสิทธิภาพโปรแกรมการรักษาซึ่งได้รับการออกแบบให้เข้ากับสภาพสังคมไทยเพื่อใช้ในการให้บริการกับผู้ป่วยด้วยโรค พิษจากสุราและโรคพิษสุราเรื้อรัง (เอกสารอัดสำเนา). ควีนส์แลนด์: มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์; 2545.
ก.สินศักดิ์ สุวรรณโชติ. ประสิทธิผลของกลุ่มเสริมสร้างแรงจูงใจและบำบัดทางความคิดอย่างย่อต่อภาวะการเสพซ้ำของผู้ป่วยเสพยาบ้าที่มีโรคร่วมทางจิตเวช ณ โรงพยาบาลจิตเวชภาคใต้ ประเทศไทย.วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยเพื่อการพัฒนาสุขภาพ (สหสาขาวิชา). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
กุสุมา แสงเดือนฉาย. ผลของโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อความพร้อมที่จะป้องกันการติดซ้ำและพฤติกรรมการไม่ติดซ้ำของผู้ป่วยสุรา. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์, สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย ศรีนครินทร์วิโรฒ; 2553.
อมาวลี กลั่นสุวรรณ. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจร่วมกับการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่อพฤติกรรมร่วมมือในการเปลี่ยนแปลงตนเองของผู้ป่วยเสพติดแอมเฟตามีนในสถานบำบัดรักษาแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี. วารสารกรมการแพทย์ 2559; 43(1): 90-5.
มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมทย์ สุคนิชย์. จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.
อณิมา จันทรแสน, เพ็ญพักตร์ อุทิศ, สุนิศา สุขตระกูล. ผลของการให้สุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่อความรุนแรงของอาการทางจิตในผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้สารแอมเฟตามีน.วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2562; 33(3): 103-15.
อัญชลี โตเอี่ยม, ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา, ณัฐกมล ชาญสาธิตพร, กนิษฐา จำรูญสวัสดิ์. ปัจจัยทำนายการเสพแอมเฟตามีนของเยาวชนในชุมชนแออัด. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2559; 9(2): 88-103.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว