การพัฒนาโปรแกรมเพิ่มสมรรถนะภาวะผู้นำในพยาบาลหัวหน้าเวร แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลเลย

ผู้แต่ง

  • อุไรรัตน์ ภู่สูงเนิน โรงพยาบาลเลย
  • จิตรภินันท์ ศรีจักโคตร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะภาวะผู้นำ, พยาบาลหัวหน้าเวร

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมเพิ่มสมรรถนะภาวะผู้นำในพยาบาลหัวหน้าเวรก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลเลย กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ พยาบาลหัวหน้าเวร 11 คน และพยาบาลพี่เลี้ยง 5 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ โปรแกรมเพิ่มสมรรถนะภาวะผู้นำในพยาบาลหัวหน้าเวร ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะภาวะผู้นำและพฤติกรรมบ่งชี้ความสามารถ แบบสังเกตทักษะการปฏิบัติบทบาทพยาบาลหัวหน้าเวร ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา IOC ระหว่าง 0.6-1.0, 0.8-1.0 ตามลำดับ และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98, 0.98 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติพรรณนา วิเคราะห์เปรียบเทียบสมรรถนะก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมโดยสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่าโปรแกรมเพิ่มสมรรถนะภาวะผู้นำในพยาบาลหัวหน้าเวร แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลเลย ประกอบด้วยกระบวนการ 4 ขั้นตอน คือ 1) วางแผน โดยวิเคราะห์สถานการณ์โดยการสนทนากลุ่ม พบว่าพยาบาลไม่มั่นใจในบทบาท หน่วยงานไม่มีรูปแบบการพัฒนาที่ชัดเจน จากนั้นระดมสมองออกแบบโปรแกรมเพิ่มสมรรถนะ จัดทำคู่มือพยาบาลหัวหน้าเวรศึกษาด้วยตนเองก่อนเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ 2 วัน ฝึกสถานการณ์จำลอง บทบาทสมมุติ 6 สถานการณ์โดยใช้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 4 ด้าน และฝึกภาคปฏิบัติในสถานการณ์จริงร่วมกับพยาบาลพี่เลี้ยง 1 เดือน 2) นำโปรแกรมไปใช้ 3) การสังเกต พบว่าพยาบาลหัวหน้าเวรมีสมรรถนะภาวะผู้นำภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (Z= -2.936, p= 0.003) 4) สะท้อนกลับ อภิปรายผลลัพธ์และร่วมกันพัฒนาโปรแกรมเพิ่มสมรรถนะภาวะผู้นำในพยาบาลหัวหน้าเวร ที่ใช้ในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลเลย

References

กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์บุคลากรเป็นเลิศ(People Excellence Strategy). (พิมพ์ครั้งที่ 1).นนทบุรี: สำนักงาปลัดกระทรวงสาธารณสุข: 2560.

ณรงค์ ใจเที่ยง, วิกรม บุญนุ่น, เลหล้า ตรีเอกานุกูล, ปฏิพัทธ์ วงค์เรือง. ยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขในระบบสุขภาพที่ยั่งยืน.วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข,2565; 8(2): 313-327.

พลอยชมพู ทับเอม, มณีนุช จุ้ยเอี่ยม, ธนัสถา โรจนนตระกูล. การพัฒนาภาวะผู้นำ : จากทฤษฎีสู่แนวทางการปฏิบัติที่ดีในองค์กร. Journal of Roi Kaensarn Academi, 2565; 7(12): 304-319.

สภาการพยาบาล. สมรรถนะผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์. นนทบุรี: ศรียอด การพิมพ์ : 2553.

หัสพร ยืนบุญ, เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย, กรรณิการ์ ฉัตรดอกไม้ไพร. ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น ที่โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง. วารสารพยาบาลสาร, 2562; 46(2): 152-163.

Kemmis, S., & McTaggart, R. The Action Research Planner .3rd Geelong: Deakin University Press :1992.

Bass, B.M. & Avolio, Bruce J. Transformational leadership development, Pola Alto, California: Consulting Psychologists: 1994.

สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การประกันคุณภาพการพยาบาล:การประเมินคุณภาพ การบริการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์ : 2554.

สิริพัชร งามไตรไร. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ กรณีศึกษา เทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.[วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต] สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2565

วราภรณ์ เจริญบุญ, ปรางค์ทิพย์ อุจะรัตน์, และกรรณิการ์ สุวรรณโคตร. ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมในการเป็นพยาบาลหัวหน้าเวรในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดกรม การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา. 2559; 10(2):111-124.

วรา เขียวประทุม, สมพันธ์ หิญชีระนันทน์, ปราณี มีหาญพงษ์ .องค์ประกอบสมรรถนะพยาบาล หัวหน้าเวรหอผู้ป่วยศัลยกรรมโรงพยาบาลของรัฐระดับทุติยภูมิ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2563.

เสาวนีย์ วงษ์พัชรวรากูล, ศิวะนันท์ ศิวพิทักษ์, โสภณ แย้มกลิ่น, นิติ มุขยวงศา, พิมญาดา ภางามความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของพยาบาลวิชาชีพกับประสิทธิผลการ ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์. วารสารสุทธิปริทัศน์. 2562; 33(105):76-89.

อรณัญช์ ยศไกร, วรรณชนก จันทชุม. ผลของโปรแกรมการนิเทศทางคลินิกต่อสมรรถนะ ของพยาบาลวิชาชีพในการพยาบาลทารกแรกเกิด. วารสารโรงพยาบาล สกลนคร. 2567;27(1): 56-67.

ศรีบังอร อรัญเวทย์, ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา, ปราโมทย์ ทองสุข. การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการเป็นพยาบาลหัวหน้าเวร ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมรรถนะเป็นฐานในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. 2565; 28(2), e258016.

ศิริมล สมุทรสารัญ. สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดพังงา [Doctoral dissertation].มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2556.

ดารา คำแหวน, สมปรารถนา ดาผา. การพัฒนารูปแบบการสอนงานเพื่อเพิ่มสมรรถนะ พยาบาลหัวหน้าเวรในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤต 1 โรงพยาบาลขอนแก่น. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2566; 27(1): 83-94.

สุภาพร มูลดี, จิตภินันท์ ศรีจักรโคตร. การพัฒนาโปรแกรมเพิ่มสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานไม่เกิน 5 ปี และไม่เคยผ่านการอบรมการพยาบาลผู้ป่วยในมะเร็งเคมี บำบัดในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตวิทยาที่ได้รับยาเคมีบำบัด โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น.วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2565; 26(2): 78-90.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-02