การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมวัณโรค จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
โรควัณโรค, รูปแบบการป้องกันโรค, รูปแบบการควบคุมโรคบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรค จังหวัดขอนแก่น ประชากรเป้าหมาย ประกอบด้วย 1) บุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานคลินิกวัณโรค จำนวน 50 คน 2) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 380 คน และ 3) ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ที่ขึ้นทะเบียนในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 200 คน ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือน สิงหาคม 2566 – พฤษภาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม จำนวน 3 ชุด คือ แบบสอบถามการดำเนินงานของบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง แบบสอบถามการดำเนินงานสำหรับ อสม. และแบบสอบถามสำหรับผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้แนวทางการสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบความแตกต่างก่อน - หลังพัฒนารูปแบบด้วยสถิติ Paired Sample t-test และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดขอนแก่น ยังพบปัญหาความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง การดูรักษา และการติดตามการกินยา ซึ่งจะต้องมีการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานตามสภาพปัญหาที่เปลี่ยนไป รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบคือ 1) โครงสร้างรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ 2) การพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายสุขภาพ 3) การจัดรูปแบบการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วม และ 4) การติดตามประเมินผลเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพ ด้านผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย 1) ความพึงพอใจของบุคลากรสาธารณสุข ก่อน – หลังพัฒนา 2) ความรู้และการมี ส่วนร่วมในการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และ 3) ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและการดูแลรักษาของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ก่อน – หลังพัฒนา พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) สรุปได้ว่า รูปแบบการดำเนินงานที่พัฒนาขึ้น ทำให้เกิดการทำงานอย่างมีส่วนร่วม เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการ รวมถึงครอบครัวและชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ
References
World Health Organization. Global tuberculosis report 2017. Geneva: World Health Organization; 2017.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ.2561. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ.2564. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2565.
ข้อมูลจากโปรแกรมรายงานข้อมูลวัณโรคของประเทศไทย (National Tuberculosis Information Program: NTIP); 2565.
สมพงษ์ จรุงจิตตานุสนธ์. รูปแบบการเฝ้าระวังและควบคุมวัณโรคในเขตเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2560; 26(2): 571-578.
สมลักษณ์ หนูจันทร์. การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อวัณโรคในกลุ่มผู้สัมผัส โรคร่วมบ้านโดยชุมชนมีส่วนร่วม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น.วารสารวิชาการสาธารณสุข 2565; 31(4) : 665-672.
Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University; 1988.
Daniel WW. Biostatistics: basic concepts and methodology for the health sciences. 9th ed. Hoboken (NJ): John Wiley & Sons; 2009.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมวัณโรคแห่งประเทศไทย พ.ศ.2564. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2565.
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. คู่มือผู้ประเมินคุณภาพโรงพยาบาลด้านการดูแลรักษาวัณโรค. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย.พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทราวิโรฒ; 2550.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น; 2553.
อภิชน จีนเสวก. การพัฒนารูปแบบการจัดการวัณโรคโรงพยาบาลลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการกระทรวงสาธารณสุข 2566; 30(4): 679-689.
พชรพร ครองยุทธ, และคณะ. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2565;8(1):15-27.
มนตรี หนองคาย. การพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุม เพื่อยุติการแพร่กระจายของวัณโรคในจังหวัดชัยนาท. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2567; 9(2): 28-35.
อรนภา วีระชุนย์. แนวทางการพัฒนารูปแบบการติดตามผู้ป่วยวัณโรคปอดในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน 2566; 1(1): 19-34.
สายพิน ทองคา. การพัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค จังหวัดมหาสารคา.วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2567; 4(1): 199-209.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว