การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี โดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สมหมาย ชาน้อย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านไผ่

คำสำคัญ:

รูปแบบการป้องกันและควบคุมโรค, พยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี, คณะกรรมการ พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินรูปแบบการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี โดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ดำเนินการระหว่างเดือน กรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ สภาพปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ย้อนหลัง (Retrospective Study) จากเอกสาร รายงานฯที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานผ่านกระบวนการจัดการคุณภาพ (PAOR: Plan-Act-Observe-Reflect) 1 วงรอบ ระยะที่ 3 เป็นประเมินผลรูปแบบที่พัฒนาขึ้น เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 140 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการวิจัยได้รูปแบบ "BANPHAI MODEL" ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ: 1) Board: โครงสร้างคณะกรรมการ 2) Activity: กิจกรรมป้องกันและควบคุมโรค 3) Network: การประสานเครือข่าย 4) Participation: การมีส่วนร่วมของชุมชน 5) Health Literacy and Entertainment: การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและกิจกรรมนันทนาการ 6) Awareness: การสร้างความตระหนัก 7) Integration: การบูรณาการทุกภาคส่วน ผลการประเมินพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และมีภาพรวมความพึงพอใจต่อรูปแบบในระดับสูง รูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถเพิ่มศักยภาพของชุมชนในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี โดยใช้กลไก พชอ. ได้ตามเป้าหมาย

References

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่นหวัดขอนแก่น. เอกสารประกอบการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข รอบที่ 2 ปี 2565. ขอนแก่น : สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังขอนแก่น; 2565.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดี ปี 2559 – 2568. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานโครงการกำจัดพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีถวายเป็นพระราชกุศลฯ. นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อทั่วไป กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. แนวทางการดําเนินงานควบคุมป้องกันโรคหนอนพยาธิ ปี 2563. ขอนแก่น : สำนักงานสาธารณสุขจังขอนแก่น; 2563.

Lwanga SK, Lemeshow S. Adequacy of sample size in health studies. Chichester: World Health Organization; 1991.

ปรีชา ปิยะพันธ์. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี โดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวีตระดับอำเภอ อำเภอทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี; 21(1): 52-68; 2566.

ทวีเลิศ ชายงาม, ลิขิต เรืองจรัส, ศุมาวีน ดีจันทร์. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาจากการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของประชาชนอายุ 40 ปีขึ้นไป ตำบลเมืองใหม่ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลัภู.วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน 2563; 3(2):1-1

นิศร ผานคำ. กระบวนพัฒนารูปแบบการดำเนินการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในระดับชุมชน ตำบลดู่น้อย อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2557.

ศิวภรณ์ เงินราง. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการแพทย์์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2562; 2: 108-16; 2562.

กิตติศักดิ์ ประครองใจ, สุมัทนา กลางคาร และสมศักดิ์ ศรีภักดี. การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับแบบมีส่วนร่วม ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน; 7(4): 87–100; 2564.

นาถยา ขุนแก้ว และอารี บุตรสอน. ปัจจัยทำนายการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9; 16(3): 758–771; 2565.

วรลักษณ์ เวฬุ, เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์, จมาภรณ์ ใจภักดี. ศึกษารูปแบบการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ตำบลบ้านยวด อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการ สาธารณสุขชุมชน; 5(2): 107 – 119; 2562.

ศศิธร เจริญประเสริฐ, ณัฐพันธ์ จันสมุทร และพุทธิไกร ประมวล. ปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อซ้ำโรค พยาธิใบไม้ตับของประชาชนจังหวัดศรีสะเกษและประสิทธิผลของการใช้ E-Book ในการเพิ่มความรู้ และทัศนคติในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ; 1(1): 16 – 28; 2565.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. สรุปผลการดําเนินงานด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ปี 2565. ขอนแก่น : สำนักงานสาธารณสุขจังขอนแก่น; 2565.

สมจิตร บุญยง. การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ตำบลกุดบง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา; 8(2): 275-282; 2566.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-01