การพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ด้วยเครือข่ายสุขภาพชุมชนเขตเมืองขอนแก่น
คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์, การฝากครรภ์, เครือข่ายสุขภาพชุมชนเขตเมืองบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การดูแลหญิงตั้งครรภ์ 2) การพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ 3) ประเมินผลลัพธ์การพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ด้วยเครือข่ายสุขภาพชุมชนเขตเมือง กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงตั้งครรภ์ อาสาสมัครสาธารณสุข บุคลากรสาธารณสุข เก็บข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ แนวทางสนทนากลุ่ม ดำเนินการ มกราคม ถึง มิถุนายน 2567 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณเปรียบเทียบความค่าเฉลี่ยความรู้ สถิติ Paired Samples t-test และข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านสถานการณ์ก่อนพัฒนาระบบหญิงตั้งครรภ์เข้าถึงบริการน้อย ร้อยละ16.9 ฝากครรภ์ช้า ไม่มาฝากครรภ์ตามนัด ด้านอสม.พบว่าไม่มีแนวทางปฏิบัติชัดเจน 2) การพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ประกอบด้วย 2.1) จัดระบบดูแลหญิงตั้งครรภ์ทั้งในสถานบริการและชุมชนด้วยเครือข่ายสุขภาพ โดยชุมชนมีส่วนร่วม 2.2) พัฒนาแนวทางในการเข้าไปดูแลเฝ้าระวังสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ และคู่มือดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์โดย อสม. 2.3) เพิ่มช่องทางการสื่อสาร 3) ประเมินผลลัพธ์พบว่า เกิดระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ด้วยเครือข่ายสุขภาพชุมชนเขตเมือง มีเครือข่ายอสม. และผลงานความครอบคลุมการดูแลหญิงตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 40.4 หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p-value = 0.001 ) เกิดจาก 3 องค์ประกอบ 1) การพัฒนาศักยภาพของผู้เกี่ยวข้อง 2) การพัฒนาระบบบริการอย่างมีส่วนร่วมในการจัดทำแนวทางและนวัตกรรม และ 3) การติดตามประเมินผล สรุประบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ทำให้เกิด ผลลัพธ์ที่ดีกับทั้งผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ ชุมชน มีการขยายผลไปยังชุมชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น 95 ชุมชน ข้อเสนอแนะ กระบวนการวิจัยนี้นำไปปรับใช้กับงานที่มีลักษณะใกล้เคียง เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
References
วนิดา อุตตรนคร. ประสิทธิผลของรายการอาหารบำรุงเลือดต่อการเพิ่มความเข้มข้นของเลือดในหญิงตั้งครรภ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ; 13(1): 6-3; 2563.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์การตายมารดาไทย ระบบเฝ้าระวังการมารดาตาย[อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพ: สำนักส่งเสริมสุขภาพ; 2566. [เข้าถึงเมื่อ 2567 สิงหาคม 15]. เข้าถึงได้จาก: https://hp.anamai.moph.go.th/th/maternal-mortality-ratio
World Health Organization. Milestones in Health promotion statements from global conferences [internet]. 2009. [cited 2003 Aug 15]; Available from: https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/70578/WHO_NMH_CHP_09.01_eng.pdf?sequence=1
โรงพยาบาลขอนแก่น. สรุปผลการดำเนินงานสาธารณสุขเครือข่ายบริการสุขภาพ CUP โรงพยาบาลขอนแก่น รอบ2 ปีงบประมาณ 2565. ขอนแก่น: โรงพยาบาลขอนแก่น; 2565.
โรงพยาบาลขอนแก่น. สรุปผลการดำเนินงานสาธารณสุขเครือข่ายบริการสุขภาพ CUP โรงพยาบาลขอนแก่น รอบ2 ปีงบประมาณ2566. ขอนแก่น: โรงพยาบาลขอนแก่น; 2566.
ศูนย์แพทย์มิตรภาพ โรงพยาบาลขอนแก่น. Service profileกลุ่มงานเวชกรรมสังคมสรุปผลงาน. ขอนแก่น: โรงพยาบาลขอนแก่น; 2566.
Janz NK., Becker MH. The health belief model a decade later. Health Educ Q; 1984. 11(5):1-47
สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล, สุชาดา สุวรรณคำ. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด 2 ชั่วโมงแรก ในห้องคลอดโรงพยาบาลเลย. ชัยภูมิเวชสาร; 42(2): 5-8; 2565
Nuntaboot K. Community health system the collaborative process of 3 major systems in the community. Nonthaburi: The Graphic Go Systems; 2010. [In Thai]
Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University; 1988.
Daniel WW. Biostatistics: basic concepts and methodology for the health sciences. 9th ed. Hoboken (NJ): John Wiley & Sons; 2009.
Suwannarat A. Finding a quality test for teaching management. Songklanagarind Medical Journal, 2009; 27(5): 381-388.
อรอนงค์ บัวลา, ขนิษฐา นันทบุตร. ศักยภาพของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์โดยชุมชนเป็น. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา; 28(2): 23-1; 2563.
เพชรา ทองเผ้า และคณะ. ความรู้ทัศนคติและการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. วารสารสภาการพยาบาล; 28(1): 1-15; 2565.
สุมาลี กลิ่นแมน, ธัญยธรณ์ รุจิรัตน์ธีรกุล. การพัฒนารูปแบบและกระบวนการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดนครสวรรค์. วารสารศูนย์อนามัยที่9; 15(36): 7-5; 2564.
มานิตา สิริวิบูลย์. การพัฒนารูปแบบการสร้างทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา; 28(1): 371-382; 2565.
นนทเขตย์ สังข์วร. ระบบการให้บริการที่มีคุณภาพแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลค่ายดารารัศมีอำเภอ แม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. การบริหารพยาบาล มหาวิทยาลัยแม่โจ้; 2559.
United Nations. Sustainable Development Goals [internet]. 2019. [cited 2003 Aug 15]; Available from:https://unstats.un.org/sdgs/report/2019/The-Sustainable-Development-Goals-Report-2019.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว