การพัฒนาศูนย์ดูแลและฟื้นฟูสภาพทางสังคมผู้ป่วยติดสารเสพติดที่ผ่านการบำบัดจากสถานพยาบาลก่อนกลับชุมชน อำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • กิตติยา ทองสุข โรงพยาบาลโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น
  • ประวีร์ คำศรีสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
  • มัตตัญญุตา โสภา โรงพยาบาลโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ฟื้นฟูสภาพทางสังคม, ผู้ป่วยติดสารเสพติด

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาและประเมินศูนย์ดูแลและฟื้นฟูสภาพทางสังคมผู้ป่วยติดสารเสพติดที่ผ่านการบำบัดจากสถานพยาบาลก่อนกลับชุมชน แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ วางแผน ปฏิบัติการ สังเกตการณ์ และสะท้อนผลการปฏิบัติ ระยะเวลาดำเนินการ เดือนมิถุนายน - ธันวาคม 2566 ผู้มีส่วนร่วมในการศึกษา ประกอบด้วย แพทย์  พยาบาลวิชาชีพ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่ปกครอง ครอบครัว ผู้ป่วยติดสารเสพติด จำนวน 77 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่ม การสังเกต เวชระเบียน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา พบว่าการบริการไม่ได้เกณฑ์คุณภาพทางการแพทย์ บุคลากรและงบประมาณไม่เพียงพอ ผู้ดูแลขาดความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วย 2) การพัฒนาศูนย์ดูแลและฟื้นฟูสภาพทางสังคมผู้ป่วยติดสารเสพติดที่ผ่านการบำบัดจากสถานพยาบาลก่อนกลับชุมชน ประกอบด้วย (1) มีคณะกรรมการ (2) แนวทางการประเมินผู้ป่วย (3) เตรียมความพร้อมก่อนเข้าทำการบำบัด (4) การจัดหาสถานที่และปัจจัยพื้นฐานต่างๆ (5) ค้นหากลุ่มเป้าหมาย (6) ดำเนินกิจกรรมและการดูแลผู้ป่วย ระยะเวลา 14 วัน (7) จัดระบบการส่งต่อ (8) จัดระบบการเตรียมความพร้อมในการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากศูนย์ฯ 3) ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า ผู้ป่วยหยุดการใช้สารเสพติด 2 ราย ให้ความร่วมมือในการรักษาต่อเนื่อง 10 ราย มีอาการทางจิตเวชและมีการใช้ยาเสพติด 5 ราย และอำเภอโนนศิลาได้รูปแบบการดำเนินการพัฒนาศูนย์ฯ ส่งผลให้อำเภอโนนศิลามีระบบการค้นหาผู้ใช้สารเสพติด มีระบบส่งต่อข้อมูลที่มีประสิทธิภาพการประสานงานที่ชัดเจนอย่างดีและมีการทำงานแบบบูรณาการ

References

ราศี อาษาจิตร และสุจิตรา ฤทธ์มนตรี.การพัฒนารูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งในอำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2566;16(2):244-57

บุปผา บุญญามณี และอรวรรณ หนูแก้ว.การพัฒนาและผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการกำกับตนเองเพื่อการเลิกยาเสพติดของผู้ป่วยยาเสพติดแอมเฟตามีน ในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ. วารสารเครือขายพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2567: 11(2); e267558.

ปรารถนา คำมีสีนนท์, ไพรวัลย์ ร่มซ้าย,นุจรินทร์ บัวละคร. การพัฒนาโปรแกรมกลุ่มบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจสำหรับผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีปัญหาการใช้สารแอมเฟตามีน. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น; 6(3); e270785 ; 2567.

กรมสุขภาพจิต. คู่มือแนวทางการดำเนินงานด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดสุรา สารเสพติดที่มีอาการทางจิตและโรคร่วมทางจิตเวช.นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

กองบริหารการสาธารณสุข.คู่มือการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Serviceplan) สาขายาเสพติด.นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข ; 2561.

สุรพงษ์ ผานาค, มุสลีมะห์ กือจะ. สถานการณ์การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด.วารสารวิชาการและวิจัยยาเสพติด: 1(3); 13-16; 2567.

โรงพยาบาลโนนศิลา. รายงานฐานข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยด้านสุขภาพจิต ของโรงพยาบาลโนนศิลา.ขอนแก่น; 2566.

วรัชนก เสโส. ผลการใช้การโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพยาบ้าในชุมชนบ้านแดงใหญ่ ตำบลพุทไธสง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน: 9(5); 862-869; 2567.

Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University; 1988.

วรัชนก เสโส. ผลการใช้การโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพยาบ้าในชุมชน บ้านแดงใหญ่ ตำบลพุทไธสง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน: 9(5);862-869 ; 2567.

ประพัทธ์ ธรรมวงศา. พัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติด โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.2567: 6(1); e268174;

โรม ชนะเดช. ประสิทธิผลการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยยาเสพติดในศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวในศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมอำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร วิทยาเขตอีสาน. 2566: 4(3); 1-11

ราศี อาษาจิตร, สุจิตตา ฤทธิ์มนตรี. การพัฒนารูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดโดยการมี ส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งในอำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2566:16(2); 244-257

นิตยา ฤทธิ์ศรี, สุกัญญา วัฒนประ ไพจิตร, ศุภลักษณ์ จันหาญ. รูปแบบการบำบัดรักษาและ ฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง: กรณีศึกษาในหมู่บ้านแห่งหนึ่งอำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2565: 19(2); 50-63

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27