ผลของรูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การป้องกันอุบัติเหตุ, รถจักรยานยนต์, นักเรียน, รูปแบบ STRIVE Modelบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ทำการวิจัยในระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2564 – มีนาคม 2565 กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดสกลนคร จำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ รูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (STRIVE Model) ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) S: Significance and objective ความสำคัญและวัตถุประสงค์ 2) T: Term and condition ข้อกำหนดและเงื่อนไข
3) R: Ready to startการเตรียมความพร้อม 4) I: Improve health literacy activity plan แผนกิจกรรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ 5) V: Verification and evaluation การตรวจสอบและการประเมินผล
6) E: Effective management การจัดการที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน อยู่ในระดับดีมาก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุ ก่อนทดลอง หลังทดลอง และระยะติดตามผล 1 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานใช้ Independent t-test, Chi-square test และ Repeated measure ANOVA หลังจากดำเนินการตามรูปแบบ STRIVE Model พบว่า กลุ่มทดลองมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนจากการขับขี่รถจักรยานยนต์สูงกว่าก่อนการทดลองและคงอยู่ต่อเนื่องในระยะติดตามผล 1 เดือน และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยครั้งนี้ จึงมีข้อเสนอแนะว่าควรนำ STRIVE model ไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียน โดยให้ความสำคัญในการพัฒนาและส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ
References
กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค. สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร; 2566.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. รายงานผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน จังหวัดสกลนคร ปีงบประมาณ 2563. สกลนคร; 2563.
World Health Organization. Road Safety injuries 2020 [29 September 2020]. Available from:https://www.who.int/health-topics/road-safety#tab=tab_1.
ธญยธร แฝงฤทธิ์, จักรกฤษณ์ พลราชม. การนำเสนอแนวทางการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 2565; 7(7): 233-247.
Wang D, Liu Q, Ma L, Zhang Y, Cong H. Road traffic accident severity analysis: A census-based study in China. Journal of Safety Research. 2019; 70:135-147.
ลัดดา พลพุทธา, อรทัย พงษ์แก้ว. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2567; 6(2): e268760.
เบญจพร ทองมาก. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ณ โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 2564; 7(2): 50-61.
Nash R, Patterson K, Flittner A, Elmer S, Osborne R. School-Based Health Literacy Programs for Children (2-16 Years): An International Review. Journal of School Health. 2021; 91(1): 632-649.
พีรพล ไชยชาติ, เกศินี สราญฤทธิชัย. ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นตอนต้น. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2562; 37(4): 42-51.
พเยาว์ พงษ์ศักดิ์ชาติ, ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ, รุ้งระวี นาวีเจริญ. ผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิจัยสุขภาพและพยาบาล. 2562; 35(2): 199-209.
Nutbeam D. Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health promotion international. 2000; 15(3): 259-267.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ฉบับปรับปรุงปี 2561. กรุงเทพมหานคร; 2561.
Cohen, J. Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates. 1988.
ตติยา ฉิมชัยภูมิ, จุฬาภรณ์ โสตะ. ประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถแห่งตนร่วมกับแผนที่จุดเสี่ยงฮาริยา ฮัตโตะ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันอุบัติภัยจราจรจากรถจักรยานยนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนพระธาตุหนองสามหมื่น ตำบลบ้านแก้ง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา. 2559;22(3):33-44.
ธญยธร แฝงฤทธิ์, จักรกฤษณ์ พลราชม. คู่มือการใช้รูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย STRIVE Model. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัท แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด; 2565.
ศิริวรรณ พิมพ์จันทร์, สาโรจน์ เพชรมณี, ธณกร ปัญญาใสโสภณ. ประสิทธิผลโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยงหน้าใหม่ต่อพฤติกรรมป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ). 2567; 39(1): 12-23.
วรรวิษา ภูผิวแก้ว, วิศิษฎ์ ทองคำ, นันทวรรณ ทิพยเนตร. ผลของโปรแกรมขับขี่ปลอดภัยในการป้องกันอุบัติภัยจราจรจาก
รถจักรยานยนต์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา. 2562; 24(1), 76-85.
จักรกฤษณ์ พลราชม. โมเดลโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและประสิทธิผลของรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาปริญญาตรี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2561.
ชุติมา เจียมใจ, กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์, ประเสริฐศักดิ์ กายนาคา. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ ในการสร้างเสริมพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 2559; 31(3): 205-217.
Bloom BS. Taxonomy of educational objectives: Handbook 1: The cognitive domain. New York: Longman; 1956.
อังศินันท์ อินทรกำแหง. การสร้างและพัฒนาเครื่องมือความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2560
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว